สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ชู แนวทางการดำเนินงานโรดแมปปาล์ม 4 ระยะ เน้นศักยภาพในการแข่งขันในสินค้าปาล์มน้ำมันของไทยแบบครบทุกมิติ คลุมเป้าหมายด้านอุปทานและอุปสงค์ สู่วิสัยทัศน์ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันมีความยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และพลังงานที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มว่า ขณะนี้ คณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ (Roadmap) 4 สินค้า ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม และร่างยุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานำร่างยุทธศาสตร์ เสนอให้ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) พิจารณาเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดทำแผนงานโครงการ (Action Plan) ต่อไป
สำหรับร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มดังกล่าว ภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้แทนจากเกษตรกร ได้ให้ความสำคัญถึงความสามารถในการแข่งขันในสินค้าปาล์มน้ำมันของไทย โดยวิเคราะห์แบบเชิงกลยุทธ์ (swot) ในทุกมิติ (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) คำนึงถึงประเด็นสำคัญ 5 เรื่อง คือ กำหนดเป้าหมายด้านการผลิต การตลาด ต้องชัดเจน และสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน กำหนด Zoning ต้องระบุพื้นที่เกษตรที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมปลูกในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ป่าหรือพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ งานวิจัยและพัฒนา ให้เน้นการเพิ่มมูลค่าและความต้องการของตลาด การเชื่อมโยงประเด็นการเปิด AEC ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบเกษตรหรือการลงทุน และการกำหนดระยะเวลาของยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในส่วนร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2558-2569 กำหนดวิสัยทัศน์ คือ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันมีความยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และพลังงานที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมาย ด้านอุปทานและอุปสงค์ ดังนี้ ด้านอุปทาน ขยายพื้นที่ปลูกปีละ 2.5 แสนไร่ รวม 3 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นจาก 4.5 ล้านไร่ ในปี 2558 เป็น7.5 ล้านไร่ ในปี 2569 ปลูกทดแทนสวนเก่าปีละ 3 หมื่นไร่ รวม 3.6 แสนไร่ ภายในปี 2569 ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย เพิ่มเพิ่มขึ้น จาก 3.20 ตัน เป็น 3.50 ตัน ภายในปี 2569 และเพิ่มอัตราน้ำมัน (OER.) เฉลี่ยจาก 17% เป็น 20% ภายในปี 2569 ด้านอุปสงค์ ได้แก่ การใช้น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 1.02 ล้านตัน ในปี 2558 เป็น 1.35 ล้านตัน ในปี 2569 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี การใช้น้ำมันปาล์มเพื่อเป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจาก 1.32 ล้านตัน ในปี 2558 เป็น 2.60 ล้านตัน ในปี 2569 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี และการรักษาระดับการส่งออกน้ำมันปาล์มที่ 3 – 7 แสนตันต่อปี
ทั้งนี้ ได้แบ่งมาตรการและแนวทางการดำเนินงาน ออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย การบริหารจัดการสต็อกเพื่อรักษาระดับราคา การกำหนดพื้นที่เหมาะสมและขึ้นทะเบียนและรวมข้อมูลสารสนเทศทั้งระบบ การนำมาตรฐานปาล์มน้ำมันมาบังคับใช้ ระยะสั้น (ระยะ 1-3 ปี) ประกอบด้วย การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการให้ราคาปาล์มน้ำมัน ผลักดันให้เกิดมาตรฐานน้ำมันปาล์ม ASPO (ASEAN Sustainable Palm Oil : ASPO) การผลักดัน พรบ.ปาล์มน้ำมัน และให้มีโครงสร้างถาวรในการขับเคลื่อน และการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
ระยะปานกลาง (ระยะ 3-5 ปี) ประกอบด้วย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม การจัดทำระบบโลจิสติกส์ การผลักดันการดำเนินการขององค์กรและกองทุนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ภายใต้ พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม และการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาชิ้นส่วนเครื่องยนต์เพื่อรองรับการใช้ไบโอดีเซลในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น สุดท้ายคือ ระยะยาว(ระยะ 5-12 ปี) ประกอบด้วยการใช้มาตรฐาน ASPO และผลักดันการสร้างตรา/สัญลักษณ์ เพื่อการค้า การพัฒนาเทคโนโลยีแปรรูปปาล์มน้ำมันประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรม Oleochemical
"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย
—
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเน...
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...