สศก. เผย โรดแมพ 4 สินค้าเกษตร พร้อมเดินหน้า ลุยยุทธศาสตร์ ข้าวโพด มันฯ ปาล์ม และอ้อย แบบครอบคลุมทุกมิติ หวังสร้างความยั่งยืน ระบุ เตรียมเสนอคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้าเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์และแผนงาน 10 กันยายนนี้
นาย อนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเลขานุการ นั้น โดยได้ดำเนินการการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ (Roadmap) 4 สินค้าขึ้น ประกอบด้วยคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Roadmap) และคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ (Roadmap) มีอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน ส่วนคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม (Roadmap) มีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธาน และคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์อ้อยโรงงานและน้ำตาลทราย (Roadmap) มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน เป็นประธาน ซึ่งการจัดทำยุทธศาสตร์ทั้ง 4 สินค้า จะดำเนินการให้ครอบคลุมทุกมิติ และสร้างความยั่งยืนโดยให้พิจารณาจากปัจจัยภายนอก ร่วมกับปัจจัยภายใน
การ จัดทำยุทธศาสตร์นั้นได้พิจารณาถึงสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้ของพืช ทั้ง 4 สินค้า ทั้งในระดับโลก และอาเซียน เพื่อนำมากำหนดเป็นเป้าหมายในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า รวมทั้งพิจารณาผลกระทบของการเปิดเสรีการค้าอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น พิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยยกร่างยุทธศาสตร์และจัดทำมาตรการและแนวทางการดำเนินงาน 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน (น้อยกว่า 1 ปี) ระยะสั้น(1-3 ปี) ระยะปานกลาง(3-5 ปี) และระยะยาว(5-10 ปี) เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ต่อไป
สำหรับยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Roadmap) ขณะ นี้อยู่ระหว่างการจัดทำวิธีดำเนินงานตามมาตรการ 7 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพ การปรับโครงสร้าง การบริหารจัดการพื้นที่ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การบริหารจัดการภายใต้ AEC การสร้างเสถียรภาพราคา และทิศทางการใช้ GMOs และจัดลำดับความเร่งด่วนของแต่ละมาตรการตามแนวทางการดำเนินงาน 4 ระยะ ยุทธศาสตร์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ (Roadmap) การดำเนินการระยะเร่งด่วน คือการรักษาระดับราคามันสำปะหลังและบริหารจัดการมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนระยะสั้น(1-3 ปี) จะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ การจัดตั้งและพัฒนาเขตเกษตรเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ระยะปานกลาง(3-5 ปี) เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากมันสำปะหลัง และการผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทน ส่วนระยะยาว(5-10 ปี) เดินหน้าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก
ยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม (Roadmap) ระยะเร่งด่วน จะบริหารจัดการสต็อกเพื่อรักษาระดับราคา ระยะสั้น(1-3 ปี) เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพเพื่อสนองความต่องการพลังงานทดแทน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้านข้อมูลสารสนเทศ การจัดการตามกลไกตลาด และพรบ.ปาล์มน้ำมัน ระยะปานกลาง(3-5 ปี) เพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม และจัดทำระบบโลจิสติกส์ เร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่วนระยะยาว(5-10 ปี) คือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์อ้อยโรงงานและน้ำตาลทราย (Roadmap) ระยะเร่งด่วน ดำเนินการทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้ครบทั้งวงจรและยั่งยืน พร้อมนำเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ (Modern Farm) มาใช้ ระยะสั้น(1-3 ปี) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการอุตสาหกรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระยะปานกลาง(3-5 ปี) คือการสร้างมูลค่าเพิ่มการขยายการผลิตเอทานอล อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และระยะยาว(5-10 ปี) จะพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องและการสร้าง Value added เช่นอุตสาหกรรมไบโอเคมีคัล
ทั้งนี้ จะได้นำเสนอคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ในวันที่ 10 กันยายน 2557 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์และแผนงาน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการและงบประมาณดำเนินการต่อไป
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...
พร้อมให้บริการ Big Data สศก. พัฒนาเครื่องมือเนวิเกเตอร์ภาคเกษตร เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ 909 ชุดข้อมูล จาก 91 หน่วยงาน ให้บริการผ่านเว็บไซต์
—
นายฉันทานนท...
ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ
—
หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...
TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา"
—
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...
สศก. เร่งเครื่อง ลุยแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ ระยะ 5 ปี ให้สมบูรณ์ ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนเกษตรอินทรีย์ ภายในปี 2570
—
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิ...