ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร และแนวโน้ม “ธ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ที่ “A-/Stable”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยธนาคารเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) อันดับเครดิตสะท้อนสถานะทางธุรกิจและการเงินของธนาคารที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจร อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงการกระจายตัวของสินเชื่อ รวมทั้งการมีสินเชื่อที่มีคุณภาพดี การมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และการสนับสนุนทั้งในด้านธุรกิจและการเงินจากผู้ถือหุ้นหลักของ LHFG ด้วย อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตมีข้อจำกัดจากส่วนแบ่งทางการตลาดของธนาคารในสินเชื่อและเงินรับฝากซึ่งมีขนาดเล็ก ตลอดจนการมีแหล่งรายได้ที่กระจุกตัว และความสามารถในการทำกำไรที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนอันเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยอาจกระทบต่อคุณภาพของสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนการคาดการณ์ว่าธนาคารจะขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังและสร้างรายได้อย่างมั่นคงในระยะกลาง โดยอยู่บนพื้นฐานความสามารถของธนาคารในการควบคุมคุณภาพสินเชื่อมิให้เสื่อมถอยลง ตลอดจนดำรงเงินกองทุนส่วนเกินอย่างเพียงพอต่อความเสียหายที่เกินกว่าคาดการณ์ และรักษาฐานเงินทุนที่มั่นคงเอาไว้ได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
          ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เริ่มดำเนินธุรกิจธนาคารเพื่อรายย่อยในเดือนธันวาคม 2548 และได้ขยายขอบเขตธุรกิจภายหลังการได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบในเดือนธันวาคม 2554 ธนาคารมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นบริษัทย่อยหลักของ LHFG โดย LHFG เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนในธุรกิจทางการเงินของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผู้ถือหุ้นหลักของ LHFG ได้แก่ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (ได้รับอันดับเครดิต “A+” จากทริสเรทติ้ง) บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิต “A-”) และนางสาวเพียงใจ หาญพาณิชย์ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 34%, 21% และ 17% ตามลำดับ ณ เดือนเมษายน 2557 ธนาคารได้รับประโยชน์จากการประสานความร่วมมือในกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกันในแง่การขยายธุรกิจและฐานลูกค้า ธนาคารมีขนาดของสินทรัพย์เกือบจะเล็กที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยอยู่ในอันดับที่ 14 จากจำนวนทั้งสิ้น 16 แห่ง ณ เดือนมิถุนายน 2557 ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดของสินเชื่อ 1.0% และเงินรับฝาก 1.1% ธนาคารได้ขยายสาขาเพื่อเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายและวางรากฐานรองรับการเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
          สินเชื่อของธนาคารขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 26% จากปี 2552 ถึงปี 2556 โดยเป็นการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ณ เดือนมิถุนายน 2557 ธนาคารมีสัดส่วนของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 51% สินเชื่อ SME 19% และสินเชื่อรายย่อย 30% ภายหลังการปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจร ธนาคารได้มุ่งเน้นไปที่สินเชื่อธุรกิจซึ่งทำให้ธนาคารมีสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และส่งผลให้ธนาคารมีความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของสินเชื่อรายใหญ่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้เพิ่มความระมัดระวังในการอำนวยสินเชื่อใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ ณ เดือนมิถุนายน 2557 สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับของธนาคารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 108.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากเดือนธันวาคม 2556 
          คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม คุณภาพของสินเชื่อได้เสื่อมถอยลงหลังจากธนาคารเร่งการเติบโต การผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยอันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ไม่ค่อยดี อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.9% ในปี 2555 เป็น 2.0% ในเดือนมิถุนายน 2557 แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารได้เพิ่มปริมาณสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญส่วนเกินเพื่อรองรับการเสื่อมถอยของคุณภาพสินเชื่อในอนาคต โดย ณ เดือนมิถุนายน 2557 ธนาคารมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญคิดเป็น 150% ของสำรองขั้นต่ำตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มขึ้นจาก 115% ในปี 2555 
          ธนาคารมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2556 จำนวน 915 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34% โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย รวมทั้งการควบคุมต้นทุนดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนด้านเครดิตของธนาคารเพิ่มขึ้นจากการที่มีสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นและรวมถึงแผนการเพิ่มปริมาณสำรองส่วนเกินของธนาคาร ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารยังคงอ่อนแอเมื่อเทียบกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในปี 2556 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงเป็นระดับต่ำที่สุดในระบบ ทั้งนี้ คาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารน่าจะเพิ่มขึ้นหากธนาคารสามารถเพิ่มปริมาณเงินรับฝากจากลูกค้ารายย่อยได้หลังจากที่ได้ขยายเครือข่ายสาขาไปก่อนหน้านี้แล้ว
          สถานะด้านสภาพคล่องและแหล่งเงินทุนของธนาคารยังคงเพียงพอ โดย ณ เดือนมิถุนายน 2557 ธนาคารมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินรับฝากที่ระดับ 92% ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนการเพิ่มสัดส่วนเงินรับฝากรายย่อยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฐานเงินทุนมีการกระจายตัวและมีเสถียรภาพดียิ่งขึ้น
          เงินกองทุนส่วนเกินของธนาคารลดน้อยลงเนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่ออย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เงินกองทุนยังคงแข็งแกร่งและเพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า ณ เดือนมิถุนายน 2557 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 12.56% และอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 13.16% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH BANK)
อันดับเครดิตองค์กร: A-
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable
 
 
 

ข่าวแอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป+ธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจรวันนี้

ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 วงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท “ธ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ที่ระดับ “BBB/Stable”

ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาทของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) ที่ระดับ “BBB” ในขณะเดียวกันยังคงอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารที่ระดับ “A-” ด้วย โดยแนวโน้มยังคง “Stable” หรือ “คงที่” อันดับเครดิตสะท้อนสถานะทางธุรกิจและการเงินของธนาคารที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจร อันดับ

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

นายวรวุฒน์ โตเจริญธนาผล President และหัวห... กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แถลงผลการดำเนินงานปี 2567 สินเชื่อเติบโตร้อยละ 7% ชูกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าขยายพอร์ตสินเชื่อ สร้างแบรนด์ LHB SME ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน — นายวรวุฒน์ ...

นายวิเชียร อมรพูนชัย กรรมการและรองกรรมการ... LHFG รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้เป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ในระดับที่โดดเด่นจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) — นายวิเชียร ...

นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล... กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผลการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2566 กำไรเติบโตร้อยละ 61.3 รุกกลุ่ม Higher yield ปั้นพอร์ต Trade Finance เดินหน้ามอบบริการที่ดีเหนือความคาดหมาย — นายฉี ชิง-ฟ...

นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผู้จัดการ และ นายวิเ... LHFG ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ปี 2566 — นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผ...

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (... LHFG ติดทำเนียบหุ้น ESG100 เป็นปีที่แปด — บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ES100...

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (... บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ ที่ AA+(tha) — บริษัท แอล ...

ฟิทช์ให้อันดับเครดิตในประเทศเป็นครั้งแรกแก่ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) แก่ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' พร้อมกันนี้...