ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 วงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท “ธ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ที่ระดับ “BBB/Stable”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาทของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) ที่ระดับ “BBB” ในขณะเดียวกันยังคงอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารที่ระดับ “A-” ด้วย โดยแนวโน้มยังคง “Stable” หรือ “คงที่” อันดับเครดิตสะท้อนสถานะทางธุรกิจและการเงินของธนาคารที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจร อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความสำเร็จในการขยายสินเชื่อให้มีการกระจายตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งการมีสินเชื่อที่มีคุณภาพดี และการสนับสนุนทั้งทางด้านธุรกิจและการเงินจากผู้ถือหุ้นหลักของ LHFG ด้วย อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตมีข้อจำกัดจากการมีส่วนแบ่งทางการตลาดขนาดเล็กทั้งสินเชื่อและเงินรับฝาก ตลอดจนการพึ่งพาแหล่งรายได้เพียงไม่กี่แห่ง ความสามารถในการทำกำไรที่อ่อนแอ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย 
          อันดับเครดิต “BBB” สำหรับหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 สะท้อนถึงความเสี่ยงในการด้อยสิทธิและความเสี่ยงในการไม่ชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขการรองรับผลขาดทุนเมื่อธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตราสารประเภทนี้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Basel III และเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างไรก็ตาม ตราสารนี้จะสามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ธปท. แล้ว ตราสารประเภทนี้มีลักษณะด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ไม่สามารถเลื่อนชำระดอกเบี้ย และไม่สามารถแปลงสภาพได้ นอกจากนี้ ธนาคารสามารถไถ่ถอนตราสารคืนทั้งจำนวนก่อนวันครบกำหนด ภายหลังระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่ออกตราสารและได้รับความเห็นชอบจาก ธปท. ผู้ถือตราสารประเภทนี้มีสิทธิด้อยกว่าผู้ฝากเงินและผู้ถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน ของธนาคาร ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวจะถูกตัดเป็นหนี้สูญได้ในกรณีที่หน่วยงานกำกับดูแลเห็นว่าธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
          แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนการคาดการณ์ว่าธนาคารจะขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังและสร้างรายได้อย่างมั่นคง โดยอยู่บนพื้นฐานความสามารถของธนาคารในการควบคุมคุณภาพสินเชื่อมิให้เสื่อมถอยลง ตลอดจนดำรงเงินกองทุนส่วนเกินอย่างเพียงพอต่อความเสียหายที่เกินกว่าคาดการณ์ และรักษาฐานเงินทุนที่มั่นคงไว้ได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
          สถานะเครดิตของธนาคารอาจได้รับผลกระทบในทางลบหากการเสื่อมถอยของคุณภาพสินเชื่อเป็นเหตุให้ธนาคารมีต้นทุนด้านเครดิตสูงขึ้นหรือมีเงินกองทุนส่วนเกินลดลงอย่างมาก ในทางตรงข้าม สถานะเครดิตในทางบวกถูกจำกัดในระยะเวลาอันใกล้ เว้นแต่สถานะทางการตลาดและเงินกองทุนของธนาคารดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้ยากในระยะสั้นเนื่องจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอและการแข่งขันที่รุนแรง
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เริ่มต้นธุรกิจธนาคารเพื่อรายย่อยในเดือนธันวาคม 2548 และขยายขอบเขตของธุรกิจเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบในเดือนธันวาคม 2554 ธนาคารนับเป็นบริษัทย่อยที่มีความสำคัญในกลุ่ม โดยมี LHFG เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนในธุรกิจการเงินของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นหลักของ LHFG ได้แก่ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (ได้รับอันดับเครดิต “A+” จากทริสเรทติ้ง) บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิต “A-”) และนางสาวเพียงใจ หาญพาณิชย์ โดย ณ เดือนเมษายน 2557 มีสัดส่วนการถือหุ้น 34%, 21% และ 17% ตามลำดับ ธนาคารได้ประโยชน์จากการผสานพลังร่วมของกลุ่มบริษัทในเครือในการช่วยขยายธุรกิจและฐานลูกค้า ณ เดือนธันวาคม 2557 ธนาคารมีสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับที่ 13 จากทั้งสิ้น 17 แห่ง โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดของสินเชื่อ 1.1% และเงินรับฝาก 1.1% ธนาคารได้ขยายสาขาเพื่อเสริมช่องทางการให้บริการลูกค้าเพื่อวางรากฐานรองรับการเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
          สินเชื่อของธนาคารขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 27% จากปี 2553 ถึงปี 2557 โดยส่วนใหญ่เป็นการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ณ เดือนธันวาคม 2557 ธนาคารมีสัดส่วนของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 52% สินเชื่อ SME 20% และสินเชื่อรายย่อย 28% ธนาคารมุ่งเน้นขยายสินเชื่อธุรกิจมากขึ้นภายหลังการปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจร ทั้งนี้ สินเชื่อขนาดใหญ่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและส่งผลให้ธนาคารมีความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของสินเชื่อขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้เพิ่มความระมัดระวังในการอำนวยสินเชื่อใหม่ท่ามกลางการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ณ เดือนธันวาคม 2557 สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับเพิ่มขึ้นเป็น 116.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากเดือนธันวาคม 2556 
          คุณภาพสินเชื่อของธนาคารยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้ว่าจะเสื่อมถอยลงบ้าง โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.9% ในปี 2555 เป็น 2.1% ในปี 2557 แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม คุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยถดถอยลงจากการมีสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.3% ณ เดือนธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้นจาก 2.7% ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ธนาคารเพิ่มปริมาณสำรองหนี้สงสัยจะสูญส่วนเกินเพื่อรองรับความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการที่คุณภาพสินเชื่อถดถอยลงในอนาคต ทั้งนี้ ณ เดือนธันวาคม 2557 ธนาคารมีสำรองหนี้สงสัยจะสูญคิดเป็น 165% ของปริมาณสำรองพึงกันตามเกณฑ์ของ ธปท. ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 115% ในปี 2555 
          ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารอยู่ในระดับต่ำกว่าธนาคารอื่น โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม
ถัวเฉลี่ยที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ธนาคารสามารถควบคุมต้นทุนทางการเงินได้ดีเนื่องจากมีเงินรับฝากจากรายย่อยเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการขยายเครือข่ายสาขา ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเพิ่มขึ้นทีละน้อยตั้งแต่ปี 2555 อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารยังคงเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม ธนาคารมีกำไรสุทธิในปี 2557 จำนวน 1.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34% โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจากปริมาณสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากกำไรจากการขายเงินลงทุน ทั้งนี้ การที่กำไรสุทธิของธนาคารประกอบด้วยกำไรจากการขายเงินลงทุนในสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับธนาคารอื่น อาจส่งผลให้ผลการดำเนินงานของธนาคารมีความผันผวนได้มากกว่าธนาคารอื่น
          เงินกองทุนส่วนเกินของธนาคารลดน้อยลงเนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่ออย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เงินกองทุนน่าจะเพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ณ เดือนธันวาคม 2557 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 11.32% และอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 12.41% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท.

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH BANK)
อันดับเครดิตองค์กร: A-
อันดับเครดิตตราสารหนี้:
หุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท ไถ่ถอนภายในปี 2568 BBB
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable
 
 
 

ข่าวแอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป+ธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจรวันนี้

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร และแนวโน้ม “ธ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ที่ “A-/Stable”

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยธนาคารเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) อันดับเครดิตสะท้อนสถานะทางธุรกิจและการเงินของธนาคารที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์แบบครบวงจร อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงการกระจายตัวของสินเชื่อ รวมทั้งการมีสินเชื่อที่มีคุณภาพดี การมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และการสนับสนุนทั้งในด้านธุรกิจและการ

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

นายวรวุฒน์ โตเจริญธนาผล President และหัวห... กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แถลงผลการดำเนินงานปี 2567 สินเชื่อเติบโตร้อยละ 7% ชูกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าขยายพอร์ตสินเชื่อ สร้างแบรนด์ LHB SME ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน — นายวรวุฒน์ ...

นายวิเชียร อมรพูนชัย กรรมการและรองกรรมการ... LHFG รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้เป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ในระดับที่โดดเด่นจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) — นายวิเชียร ...

นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล... กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผลการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2566 กำไรเติบโตร้อยละ 61.3 รุกกลุ่ม Higher yield ปั้นพอร์ต Trade Finance เดินหน้ามอบบริการที่ดีเหนือความคาดหมาย — นายฉี ชิง-ฟ...

นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผู้จัดการ และ นายวิเ... LHFG ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ปี 2566 — นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผ...

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (... LHFG ติดทำเนียบหุ้น ESG100 เป็นปีที่แปด — บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ES100...

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (... บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ ที่ AA+(tha) — บริษัท แอล ...

ฟิทช์ให้อันดับเครดิตในประเทศเป็นครั้งแรกแก่ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) แก่ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' พร้อมกันนี้...