บ้านปูฯ และมหิดลร่วมบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ “เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง” ใน “ค่ายเพาเวอร์กรีน รุ่น 9” ปลูกจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          การให้การศึกษาแก่เยาวชนจำเป็นต้องส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้าน ที่ไม่จำกัดอยู่เพียงทฤษฎี แต่ควรส่งเสริมให้สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำมาปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาศักยภาพรอบด้านและหล่อหลอมให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพต่อสังคมในอนาคต ด้วยเหตุนี้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมกันจัดค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมหรือ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” เป็นปีที่ 9 ระหว่างวันที่ 12 – 19 ตุลาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนให้เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมเตรียมรับมืออย่างถูกต้องในรูปแบบ “การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง” ภายใต้ธีม “เยาวชนไทย เรียนรู้รับมือธรณีพิบัติภัย มหันตภัยใกล้ตัว” สอดคล้องกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในปัจจุบัน อาทิ สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม และแผ่นดินถล่ม โดยโครงการในปีนี้เป็นการเข้าค่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ รวม 70 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากผู้สมัคร 312 คนทั่วประเทศ
          นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูฯ เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นพลังสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ดังนั้น การได้ให้โอกาสเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองในหลากหลายรูปแบบจะเป็นการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับปณิธานการดำเนินธุรกิจของเราที่ว่า “อุตสาหกรรมที่ดีจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม” ซึ่งบริษัทฯ ยึดมั่นมาตลอด 30 ปีในการดำเนินธุรกิจ ค่ายเพาเวอร์กรีนเป็นหนึ่งในโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านเยาวชน โดยในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 9 บ้านปูฯ ได้เปิดโลกทัศน์ให้เยาวชนได้เรียนรู้วิธีรับมือกับธรณีพิบัติภัยอย่างเหมาะสม ดึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของตนเองมาใช้ ฝึกการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานเป็นทีม เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง และถ่ายทอดไปสู่สังคมต่อไป”
          รศ. ดร. กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความโดดเด่นในการเรียนการสอนทั้งด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ ผมรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับบ้านปูฯในโครงการค่ายเพาเวอร์กรีน เพื่อร่วมกันเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่เยาวชน โดยมุ่งให้สามารถรับมือกับปัญหาด้าน “สิ่งแวดล้อม” ด้วยการวิเคราะห์นำกระบวนการทาง “วิทยาศาสตร์” มาใช้ ผ่านการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีจากคณาจารย์ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ อุปกรณ์และเครื่องมือการเรียนการสอนอันทันสมัย ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ไปจนถึงภาคปฏิบัติจริง”
          ตลอดระยะเวลา 8 วัน ของค่ายเพาเวอร์กรีน เยาวชนทั้ง 70 คนได้เรียนรู้ถึงลักษณะของภูมิประเทศและกลไกการเกิดธรณีพิบัติภัย สิ่งบอกเหตุ ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถรับมือกับกรณีที่เกิดธรณีพิบัติภัยขึ้นจริง ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และทัศนศึกษานอกสถานที่ จากนั้นเยาวชนได้นำความรู้ที่ได้จากค่ายมาผสมผสานกับไอเดียของตนเองเพื่อสร้างสรรค์เป็นแนวคิดโครงงานกลุ่ม และนำเสนอต่อคณะกรรมการโครงการและประชาชนทั่วไป ในงาน “นิทรรศการค่ายเพาเวอร์กรีน 9” ในวันสุดท้าย โดยมีการพิจารณามอบรางวัลให้กับโครงงานดีเด่น
          นางสาวพรรณารัตน์ อ้อปิมปา หรือ “ฟีม” นักเรียนชั้นม.5 จากโรงเรียนแม่จันวิทยาคม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กล่าวถึงโครงงานกลุ่มที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ว่า “แนวคิดกระสอบทรายที่ทำจากแกลบข้าว กะลามะพร้าว และทรายหยาบมาจากการตกผลึกแนวคิดของสมาชิกในทีม ซึ่งจากการทดลองพบว่ามีประสิทธิภาพในการซับน้ำและป้องกันน้ำท่วมได้มากกว่ากระสอบทรายธรรมดา เมื่อเลิกใช้แล้วยังนำวัตถุดิบภายในกระสอบมาใช้ซ้ำในการปลูกต้นไม้หรือก่อสร้างได้ด้วย อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงและสามารถทำเองได้ นอกเหนือจากความรู้ด้านธรณีพิบัติภัย สิ่งสำคัญที่ได้จากค่ายเพาเวอร์กรีนคือ การฝึกทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ในทีมที่ต่างร่วมกันนำเสนอไอเดียและรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน เพื่อเลือกแนวคิดที่คิดว่าดีที่สุดมานำเสนอเป็นโครงงาน”
          นายวรวิทย์ ศรีชัย หรือ “บี” นักเรียนชั้นม. 5 จากโรงเรียนปัญญาวรคุณ จังหวัดกรุงเทพฯ หนึ่งในสมาชิกที่คิดโครงงาน “Fantastic Tree Warning” หรือแนวคิดเครื่องเตือนภัยแผ่นดินถล่มอย่างครบวงจรในเครื่องเดียว รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 กล่าวว่า “เหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมค่ายเพาเวอร์กรีน เพราะต้องการหาประสบการณ์ชีวิตและการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งสิ่งที่ได้จากค่ายนั้นมากกว่าความคาดหวังคือ นอกจากความรู้เกี่ยวกับธรณีพิบัติภัยและวิธีการปฏิบัติตนแล้ว ยังได้ฝึกการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยผนวกวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ากับสิ่งแวดล้อม และมิตรภาพใหม่ๆ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ อยากให้ทุกคนรู้ถึงสาเหตุการเกิดธรณีพิบัติภัย โดยเฉพาะที่เป็นปัจจัยจากมนุษย์ เช่นการตัดไม้ทำลายป่า และร่วมกันกำจัดปัจจัยเหล่านั้นเพื่อลดบ่อเกิดของธรณีพิบัติภัย แม้เราจะไม่สามารถป้องกันภัยธรรมชาติไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเรารู้วิธีรับมือและลดปัจจัยเสี่ยงก็จะสามารถลดผลกระทบได้”

บ้านปูฯ และมหิดลร่วมบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ “เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง” ใน “ค่ายเพาเวอร์กรีน รุ่น 9” ปลูกจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
บ้านปูฯ และมหิดลร่วมบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ “เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง” ใน “ค่ายเพาเวอร์กรีน รุ่น 9” ปลูกจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
บ้านปูฯ และมหิดลร่วมบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ “เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง” ใน “ค่ายเพาเวอร์กรีน รุ่น 9” ปลูกจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
บ้านปูฯ และมหิดลร่วมบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ “เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง” ใน “ค่ายเพาเวอร์กรีน รุ่น 9” ปลูกจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 

ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+ค่ายเพาเวอร์กรีนวันนี้

สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุน พสวท. ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ "SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน"ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-3 พฤษภาคม 2568 ณ สิริน พลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเทอร์รองท์ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ... เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568 — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...