สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 แจงผลการประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออก เผย ที่ประชุมให้การรับรองข้อมูล 8 สินค้า ได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลังโรงงาน เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลำไย และ ลิ้นจี่ ปี 2557
นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 ชลบุรี (สศข.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม สศข.6 ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 คณะทำงานฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบรับรองข้อมูลเอกภาพระดับอำเภอ/จังหวัดให้กับคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ด้านพืช ไปแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 6 สินค้า คือสับปะรดโรงงาน มันสำปะหลังโรงงงาน ปาล์มน้ำมัน ยางพาราปี 2556 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2556/57
สำหรับในครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อให้การรับรองข้อมูลข้าวนาปรัง มันสำปะหลังโรงงาน เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลำไย และลิ้นจี่ ปี 2557 ของภาคตะวันออกรวม 8 สินค้า ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ให้ความเห็นชอบข้อมูลดังกล่าวแล้ว ได้แก่
ข้าวนาปรังปี 2557 มีเนื้อที่เพาะปลูก 1,045,740ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,030,467 ไร่ ผลผลิตรวม 700,395 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 680 กิโลกรัม (ณ ความชื้น 15 %) เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.47
มันสำปะหลังโรงงานปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่เพาะปลูก 1,475,738 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,339,336ไร่ ผลผลิตรวม 4,877,258 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,642 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตรวมลดลงทั้งหมดร้อยละ 1.59 6.29 1.24 และ 7.49 ตามลำดับ
เงาะปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 145,512 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 138,757 ไร่ ผลผลิตรวม 230,646 ตัน ผลผลิต ต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,662 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่ยืนต้นและเนื้อที่ให้ผลลดลงร้อยละ 5.85 และ 6.66 เนื่องจากราคาเงาะไม่จูงใจให้ขยายพื้นที่ ส่วนผลผลิตต่อไร่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.77 ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62
ทุเรียนปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 285,708 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 246,524 ไร่ ผลผลิตรวม 350,645 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,422 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่ยืนต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 เนื้อที่ให้ผลลดลงร้อยละ 1.12 เนื่องจากราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีติดต่อกันมาถึง 3 ปี ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.97 ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.83
มังคุดปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 206,902 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 186,049 ไร่ ผลผลิตรวม 145,945 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 784 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่ยืนต้นลดลงร้อยละ 1.42 เนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 7.22 เนื่องจากปลายปี 2556 อากาศหนาวนานมังคุดจึงไม่ติดดอก ผลผลิตรวมลดลงร้อยละ 5.51
ลองกองปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 108,125 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 98,232 ไร่ ผลผลิตรวม 57,033 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 581 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตรวมลดลงทั้งหมดร้อยละ 5.38 2.95 8.65 และ 11.16 ตามลำดับ เนื่องจากราคาลองกองตกต่ำมาหลายปี
ลำไยปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 161,264 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 142,699 ไร่ ผลผลิตรวม 271,793 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,905 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.11 13.93 และ 12.48 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 1.24 เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก
ลิ้นจี่ปี 2557 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 3,815 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,774 ไร่ ผลผลิตรวม 3,244 ตัน ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 860 กิโลกรัม สำหรับลิ้นจี่ ปี 2557 ได้จัดทำข้อมูลร่วมกันเป็นปีแรกโดยมีเนื้อที่ยืนต้น 3,815 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,774 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่ให้ผล 860 กิโลกรัม มีผลผลิตรวมจำนวน 3,244 ตัน
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผ่านความเห็นชอบของคณะทำงานฯ ในครั้งนี้จะได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ด้านพืช เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อมูลก่อนนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นข้อมูลเอกภาพของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ต่อไป
"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย
—
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเน...
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...