มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ10 กระทรวงซึ่งพึ่งได้ในสายตาแกนนำชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และ 10 กระทรวงซึ่งพึ่งได้ในสายตาแกนนำชุมชน : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 889 ชุมชน จาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ นครพนม อุดรธานี เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ สุโขทัย กระบี่ นครศรีธรรมราช และสงขลา ดำเนินโครงการในวันที่ 13-14 มีนาคม 2558
          เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการติดตามรับชมรายการเดินหน้าประเทศไทย เรื่องความคืบหน้าเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 65.3 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 34.7 ระบุไม่ได้ติดตาม โดยเมื่อได้สอบถามความคิดเห็นต่อไปถึงความแตกต่างของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับรัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่มีใช้ในช่วงปี พ.ศ.2540-2550 นั้นแกนนำชุมชนร้อยละ 44.0 ระบุเห็นความแตกต่างชัดเจนแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 56.0 ระบุยังไม่เห็นความแตกต่าง นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 35.3 ระบุเชื่อมั่นมาก/มากที่สุดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้การเมืองไทยเป็นการเมืองที่ใสสะอาดและสมดุลย์ ร้อยละ 36.4 ระบุค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ 14.4 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 13.9 ระบุน้อย/ไม่เชื่อมั่นเลย
          นอกเหนือจากประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในข้างต้นแล้ว ในการสำรวจครั้งนี้คณะผู้วิจัยยังได้มีการสอบถามความคิดเห็นของแกนนำชุมชนเกี่ยวกับกระทรวงที่มั่นใจว่าจะเป็นที่พึ่งได้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน ใน 10 ประเด็นสำคัญ ซึ่งผลสำรวจปรากฎดังต่อไปนี้
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิด แกนนำชุมชนร้อยละ 51.9 ระบุกระทรวงสาธารณสุข รองลงมาคือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คิดเป็นร้อยละ 20.8 กระทรวงมหาดไทย คิดเป็นร้อยละ 18.7 กระทรวงศึกษาธิการ คิดเป็นร้อยละ 3.0 และกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม /กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ /กระทรวงยุติธรรม คิดเป็นร้อยละ 5.6
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการดูแลเด็กและเยาวชน พบว่า ร้อยละ 33.2 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 24.2 ระบุกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 21.5 ระบุกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 13.4 ระบุกระทรวงมหาดไทย และร้อยละ 7.7 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงยุติธรรม/กระทรวงวัฒนธรรม/กระทรวงแรงงาน/กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านคุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน พบว่า ร้อยละ 37.1 ระบุกระทรวงการศึกษาธิการ ร้อยละ 30.2 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 17.4 ระบุกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 7.0 ระบุกระทรวงมหาดไทย และร้อยละ 8.3 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงยุติธรรม/กระทรวงวัฒนธรรม/กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ พบว่า ร้อยละ 73.0 ระบุกระทรวงแรงงาน ร้อยละ 12.2 ระบุกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 4.3 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 3.8 ระบุกระทรวงมหาดไทย และร้อยละ 6.7ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา /กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/กระทรวงอุตสาหกรรม
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการเพิ่มรายได้ของประชาชน พบว่า ร้อยละ 28.7 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 25.1 ระบุ กระทรวงแรงงาน ร้อยละ 15.5 ระบุกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 9.3 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 6.9 ระบุกระทรวงการคลัง ร้อยละ 5.7 ระบุกระทรวงมหาดไทย และร้อยละ 8.8 ระบุกระทรวงอื่น อาทิสำนักนายกรัฐมนตรี/กระทรวงอุตสาหกรรม/กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการลดรายจ่ายของประชาชน พบว่าร้อยละ 30.5 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 29.6 ระบุกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 8.6 ระบุกระทรวงแรงงาน ร้อยละ 7.2 ระบุกระทรวงการคลัง ร้อยละ 6.9 ระบุกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 6.7 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และร้อยละ 10.5 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงคมนาคม/กระทรวงยุติธรรม/กระทรวงกลาโหม/สำนักนายกรัฐมนตรี
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน ร้อยละ 27.7 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 17.5 ระบุกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ16.1 ระบุกระทรวงการคลัง ร้อยละ 9.4 ระบุกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 6.9 ระบุกระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 6.4 ระบุสำนักนายกรัฐมนตรี และร้อยละ16.0 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์/กระทรวงแรงงาน/กระทรวงอุตสาหกรรม/กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/กระทรวงกลาโหม
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการจัดสรรที่ดินทำกิน พบว่า ร้อยละ50.0 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 21.9 ระบุกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 16.6 ระบุกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 4.9 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และร้อยละ 6.6 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงยุติธรรม/สำนักนายกรัฐมนตรี/กระทรวงกลาโหม
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พบว่า ร้อยละ40.4 ระบุกระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 22.3 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ17.1 ระบุกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ5.4 ระบุกระทรวงกลาโหม และร้อยละ 14.8 ระบุกระทรวง อื่นๆ อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์/กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/สำนักนายกรัฐมนตรี
          กระทรวงที่พึ่งได้ด้านการดูแลหลักประกันชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ร้อยละ 50.4 ระบุกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 33.2 ระบุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 7.1 ระบุกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 2.3 ระบุกระทรวงแรงงาน และร้อยละ 7.0 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี/กระทรวงยุติธรรม/กระทรวงการคลัง/กระทรวงวัฒนธรรม


ข่าวชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน+นักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชนวันนี้

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง มาตรา 44 กับกระบวนการทำอาร์ไอเอ (RIA)

แกนนำชุมชน หนุนรัฐทำประเมินผลกระทบการออกกฎหมายตาม ม.44 โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างการยอมรับและลดความขัดแย้ง รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับนโยบายจัดการศึกษาเรียนฟรี 15 ปี

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐกับน...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์ยาเสพติดกับมุมมองต่อปัญหาที่เป็นอยู่

"ประชาชนร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 1 และมองว่าข้อเสนอให้แพทย์สั่งยาได้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี" รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่างไรในใจประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่าง...