มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สงกรานต์ไทย(ปีนี้) เปลี่ยนไปหรือเหมือนเดิม? :กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) สงกรานต์ไทย (ปีนี้) เปลี่ยนไปหรือเหมือนเดิม? :กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,081 ตัวอย่างจากจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการตั้งแต่เก็บรวบรวมข้อมูลจนถึงการเขียนรายงานผลการสำรวจอยู่ระหว่างวันที่ 1-9 เมษายน 2559 โดยผลการสำรวจ พบว่า
          เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างแกนนำชุมชนถึงความตั้งใจในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 87.8 ระบุตั้งใจจะเดินทาง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 12.2เท่านั้นที่จะไม่ไปไหน
          และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างแกนนำชุมชนถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้นั้นผลการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของไทย โดยร้อยละ 86.0 ระบุตั้งใจจะไปรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ร้อยละ 83.7 ระบุตั้งใจจะไปร่วมทำบุญตักบาตร/ร่วมงานทำบุญตามประเพณี ร้อยละ 78.4 ระบุจะไปสรงน้ำพระ นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าร้อยละ 78.3 ระบุจะไปท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ 65.9 ระบุร่วมกิจกรรมกับคนในครอบครัว ร้อยละ 48.8 ระบุจะไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง ร้อยละ 47.5 ระบุ เล่นน้ำสงกรานต์/การละเล่น ในขณะที่ร้อยละ 37.7 ระบุตั้งใจจะไปเลี้ยง/สังสรรค์กับเพื่อน/คนรู้จัก ตามลำดับ
          นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างแกนนำชุมชนถึงสิ่งที่อยากให้คนไทยร่วมมือร่วมใจกันทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้นั้น พบว่าตัวอย่างแกนนำชุมชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 อยากให้คนไทยทุกคนร่วมใจกันถวายพระพรในหลวงให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง/ให้ทรงหายจากการประชวรโดยเร็ว ร้อยละ 61.4 ระบุร่วมมือร่วมใจกันประหยัดน้ำ/ไม่อยากให้เล่นน้ำมาก/เล่นน้ำให้ประหยัดกว่าเดิม/ประหยัดน้ำใช้เท่าที่จำเป็นเล่นแต่พองาม ร้อยละ 58.5 ระบุอยากให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้/ช่วยสืบสานประเพณีนี้ต่อไปอย่างถูกต้อง/รักษาประเพณีไทย/รักษาประเพณีเก่าๆเช่นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ พ่อแม่/สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม/การอนุรักษ์ความเป็นไทย ร้อยละ 15.3 ระบุร่วมกันเล่นน้ำอย่างมีวินัย/การเล่นน้ำตามประเพณี/ลดความรุนแรงในการเล่นน้ำ/เล่นน้ำอยู่ในขอบเขต/เล่นน้ำด้วยความระมัดระวังให้ปลอดภัย/เล่นน้ำอย่างสร้างสรรค์/ลดความรุนแรงในการเล่นน้ำ ร้อยละ 14.8 ระบุอยากให้ขับขี่ปลอดภัย/การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย/อยากให้มีความเห็นใจกันในเรื่องการใช้รถใช้ถนน/ร่วมมือกันลดอุบัติเหตุ/การขับขี่ด้วยความระมัดระวัง/ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ/ช่วยกันรักษาความปลอดภัย/ขับรถไม่ประมาท 
          ในขณะที่เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่รู้สึกวิตกกังวลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ พบว่า ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 56.4 ระบุกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติเหตุบนท้องถนน/อุบัติเหตุจากความประมาท รองลงมาคือร้อยละ 35.7ระบุกังวลเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาและการขับขี่/การใช้รถใช้ถนน/เมาแล้วขับ/ความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์/การใช้ถนนร่วมกัน/ความปลอดภัยต่างๆ/ความปลอดภัยทางถนน/ความปลอดภัยในการเดินทาง ร้อยละ 23.8ระบุกังวลเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท/วัยรุ่นทะเลาะวิวาท/วัยรุ่นรวมกลุ่มทะเลาะกัน/การเล่นสงกรานต์ของวัยรุ่นมีความรุนแรง/เด็กแวนซ์ออกมาขับรถแข่งกัน นอกจากนี้ร้อยละ 16.0 ระบุกังวลเรื่องน้ำแล้ง ไม่มีน้ำใช้/ปัญหาการใช้น้ำ/การใช้น้ำมากเกินไป/ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และร้อยละ12.7ระบุกังวลว่ามิจฉาชีพจะฉวยโอกาสในขณะที่ประชาชนเล่นน้ำ / การลักขโมย/มิจฉาชีพจะแฝงตัวในช่วงเทศกาลอาจก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ / ปัญหาอาชญากร/ปัญหาลักเล็กขโมยน้อยในช่วงสงกรานต์/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในชุมชน ตามลำดับ )
          อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจในมาตรการ/การทำงานป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 86.9 ระบุมั่นใจว่าจะทำได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 10.1 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 3.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ แกนนำชุมชนร้อยละ 92.1 ระบุหมู่บ้าน/ชุมชนของตนได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 7.9 ระบุยังไม่ได้เตรียม
          ประเด็นสำคัญสุดท้ายจากการสำรวจในครั้งนี้คือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 47.3 ระบุรู้สึกว่าแตกต่างจากสงกรานต์ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในเรื่อง การใช้น้ำ /ระเบียบในการเล่นสงกรานต์/ความเข้มงวดในการขับขี่ รวมถึงการรณรงค์อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิมของไทย ในขณะที่บางส่วนระบุว่า บรรยากาศสงกรานต์ปีนี้ดูเงียบๆ ไม่เหมือนที่ผ่านมา/คนไม่ค่อยตื่นตัวไม่คึกคักเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 52.7 ระบุไม่แตกต่าง/เหมือนเดิม 

          คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
          ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 86.7 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 13.3 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 4.4 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 25.7 ระบุอายุ 40-49 ปีและร้อยละ 69.9 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 30.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 47.2 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 5.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. และร้อยละ 16.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ 
          ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 68.2 มีอาชีพประจำคือเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.4 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ในขณะที่ร้อยละ15.4ระบุมีอาชีพอื่นๆ อาทิรับจ้าง ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของครอบครัวพบว่า ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 11.1ระบุมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 13.0 ระบุมีรายได้ครอบครัว 10,001–15,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 22.6 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 53.3 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
          ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามรายภูมิภาคพบว่าตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 34.0 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือร้อยละ 25.5 ระบุอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ร้อยละ 18.5 ระบุอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือร้อยละ 13.5 ระบุอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ระบุอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ


ข่าวชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน+นักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชนวันนี้

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง มาตรา 44 กับกระบวนการทำอาร์ไอเอ (RIA)

แกนนำชุมชน หนุนรัฐทำประเมินผลกระทบการออกกฎหมายตาม ม.44 โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างการยอมรับและลดความขัดแย้ง รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับนโยบายจัดการศึกษาเรียนฟรี 15 ปี

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐกับน...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์ยาเสพติดกับมุมมองต่อปัญหาที่เป็นอยู่

"ประชาชนร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 1 และมองว่าข้อเสนอให้แพทย์สั่งยาได้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี" รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่างไรในใจประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่าง...