สำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชน ต่อสารพันปัญหาการเมืองและสังคม กับความเหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อสารพันปัญหาการเมืองและสังคมกับความเหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 600 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2558 
          ผลการสำรวจการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 41.4 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยยละ 39.7 ระบุติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 14.9 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 3.2 ระบุน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 0.8 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
          ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทั้งทางด้านสังคมและการเมืองของประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา พบว่า แกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจต่อประเด็นเหล่านั้น ในมุมมองที่หลากหลาย โดยเมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีที่มีข่าวว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.บางส่วนได้มีการแต่งตั้งคนในครอบครัว/คนใกล้ชิดเข้ามาช่วยงาน นั้นพบว่า ร้อยละ 12.4 ระบุเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า คิดว่าคนใกล้ชิดน่าจะเข้าใจกันได้ดีกว่า/จะได้ทำงานง่ายขึ้น/การทำงานต้องการคนที่ไว้ใจได้/ถ้ามีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมก็น่าจะทำได้/การทำงานจะได้คล่องตัวมากขึ้น/ใครก็ได้ขอให้มีความซื่อสัตย์สุจริต อย่างไรก็ตาม แกนนำชุมชนประมาณครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 56.3 ระบุไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ มาทำงาน/อยากให้มีความคิดที่หลากหลายในการทำงาน/เป็นการทำลายความเชื่อมั่นที่มีต่อ สนช.เอง/ทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดี/ควรเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถ/จะเกิดข้อครหาได้/ถึงแม้จะเจตนาดี แต่ก็ไม่ควรทำ/อาจจะดูไม่โปร่งใส/อาจมีการเอื้อผลกระโยชน์ต่อกัน ทั้งนี้ ร้อยละ 31.3 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไรกับเรื่องนี้
          และเมื่อสอบถามความรู้สึกต่อปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฎเป็นข่าวในขณะนี้นั้น พบว่า ร้อยละ 61.1 ระบุรู้สึกวิตกกังวลกับเรื่องนี้ เพราะเป็นสถาบันหลักของชาติ/ ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย/ไม่อยากให้มีการขัดแย้งกัน/กลัวศาสนาจะตกต่ำไม่มีคนเชื่อมั่นอีกต่อไป/กลัวการแทรกแซงจากผู้ไม่หวังดี/ไม่ควรมีการแบ่งแยกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ในขณะที่ร้อยละ 38.9 ระบุไม่รู้สึกวิตกกังวล เพราะ เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถจัดการได้/ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมานานมากแล้ว เพียงแต่ยังไม่เป็นข่าว/ การแบ่งแยกเกิดขึ้นนานแล้ว/เป็นสัจธรรม/เชื่อมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าเรื่องอื่น /ไม่ให้ความสนใจเรื่องแบบนี้ ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือประเด็นเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานพลังงาน โดยคณะผู้วิจัยได้สอบถามความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีการเปิดสัมปทานรอบต่อไป ที่ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างอย่างประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 63.0 ระบุรู้สึกมีความสุข เพราะแสดงว่านายกรัฐมนตรีใส่ใจในความคิดเห็นของประชาชน/นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับประชาชนจริงๆ/ อยากให้มีข้อมูลรายละเอียดที่มากพอ ก่อนที่จะตัดสินใจ/ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคมขึ้นมาอีก/จะได้มีเวลาเตรียมการป้องกันความเสียหายไว้ล่วงหน้าได้ ในขณะร้อยละ 15.0 ระบุไม่มีความสุขเพราะ เกรงว่าจะช้าเกินไป /กลัวว่าประเทศจะขาดแคลนพลังงาน/กลัวประเทศชาติจะเสียผลประโยชน์/ถึงจะเลื่อนไปก็คงมีคนคัดค้านอยู่ดี/ไม่อยากให้เสียเวลา/กลัวประชาชนจะเดือดร้อนถ้าราคาพลังงานไม่นิ่ง และร้อยละ 22.0 ไม่มีความเห็น
          นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่อยากให้รัฐบาลและ คสช.เร่งดำเนินการในขณะนี้ นั้นพบว่า ร้อยละ 90.5 ระบุอยากให้เร่งดำเนินการเรื่องการปราบปรามยาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 85.8 ระบุการช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพ/การจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้ประชาชน ร้อยละ 71.3 ระบุการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 70.8 ระบุการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา ร้อยละ 66.5 ระบุการส่งเสริมตลาดชุมชน นอกจากนี้ร้อยละ 65.7 ระบุการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ร้อยละ 65.3 ระบุการแก้ไขปัญหาแรงงานภาคประมงของไทย ร้อยละ 64.5 ระบุการเตรียมจัดหาแรงงานที่มีฝีมือเพื่อใช้ภายในประเทศ ร้อยละ 62.2 ระบุการเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยให้แล้วเสร็จ ร้อยละ 61.8 ระบุการลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ร้อยละ 60.7 ระบุการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 51.3 การเตรียมการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ตามลำดับ
          ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีและการปรับคณะรัฐมนตรี โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มสอบถามถึงความพึงพอใจที่มีต่อผลงานของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน และพบว่าตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 90 พอใจผลงานของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ในระดับค่อนข้างมาก-มากที่สุด โดยให้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.06 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของเวลาว่าควรจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้หรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่าแกนนำชุมชนประมาณ 1ใน 3 หรือร้อยละ 37.2 ระบุคิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว โดยให้เหตุผลว่าบางกระทรวงยังไม่เห็นผลงานที่ชัดเจน /อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากกว่านี้/อยากได้คนที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่านี้/การบริหารงานจะได้มีความคล่องตัวมากขึ้น ในขณะที่แกนนำชุมชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.2 เห็นว่ายังไม่เหมาะสม เพราะทำงานดีอยู่แล้ว / ยังอยากให้โอกาสทำงานต่อไป /งานอาจจะยังไม่เข้าที่เข้าทาง ต้องให้เวลามากกว่านี้/พอใจในผลการดำเนินงานแล้ว/ ถ้าเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เกรงว่าการดำเนินงานจะไม่คืบหน้า/ยังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้งาน/เชื่อว่าทุกกระทรวงมีความตั้งใจจริงในการทำงานเพื่อประชาชน ทั้งนี้ร้อยละ 8.7 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น 
          และเมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อไปว่า ถ้าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี กระทรวงใดบ้างที่เห็นว่าควรมีการปรับนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 49.5 ระบุเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้เหตุผลที่ควรปรับว่า ยังแก้ไขปัญหาเกษตรไม่ได้/ราคาผลผลิตทางการเกษตรยังไม่ดีขึ้น /อยากให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น/อยากให้มีคนมาลงพื้นที่ดูปัญหาอย่างจริงจังบ้าง รองลงมาคือร้อยละ 23.1 ระบุกระทรวงมหาดไทย เพราะยังไม่เห็นผลงานชัดเจน /ยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ/อยากได้คนที่มีประสบการณ์โดยตรง เพราะเป็นเรื่องสำคัญ/ยังไม่เห็นความคืบหน้าด้านการปรับปรุงกฎหมาย ร้อยละ 14.7 ระบุกระทรวงศึกษาธิการ เพราะ ยังไม่เห็นทิศทางที่ชัดเจนของการศึกษาไทย /ตอนนี้ระบบการศึกษาของไทยแย่ลงเรื่อยๆ /อยากให้เด็กไทยมีคุณภาพมากกว่านี้ /อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องการศึกษาโดยเร็ว ร้อยละ 14.4 ระบุกระทรวงพาณิชย์ เพราะ การดำเนินงานยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร/มีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ยังไม่เห็นทิศทางในระยะยาว ร้อยละ 9.4 ระบุกระทรวงพลังงาน เพราะข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานยังไม่ชัดเจน /อยากให้เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนมากกว่านี้/อยากให้จัดระบบราคาพลังงานให้ดีกว่านี้/อยากให้โปร่งใสมากกว่านี้ ร้อยละ 7.0 ระบุกระทรวงคมนาคม เพราะเส้นทางการคมนาคมยังลำบาก /อยากให้ทำงานเร็วกว่านี้ เพราะประชาชนเดือดร้อนเรื่องการเดินทาง/คุณภาพระบบการขนส่งมวลชนยังไม่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 21.0 ระบุกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน ตามลำดับ
          อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาที่ให้โอกาส พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศต่อไปนั้น ผลการสำรวจพบว่าแกนนำชุมชนส่วนใหญ่ยังคงให้โอกาสในการทำงานต่อไป โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 ระบุให้โอกาสทำงานจนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้เรียบร้อย


ข่าวชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน+นักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชนวันนี้

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง มาตรา 44 กับกระบวนการทำอาร์ไอเอ (RIA)

แกนนำชุมชน หนุนรัฐทำประเมินผลกระทบการออกกฎหมายตาม ม.44 โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างการยอมรับและลดความขัดแย้ง รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับนโยบายจัดการศึกษาเรียนฟรี 15 ปี

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐกับน...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์ยาเสพติดกับมุมมองต่อปัญหาที่เป็นอยู่

"ประชาชนร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 1 และมองว่าข้อเสนอให้แพทย์สั่งยาได้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี" รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่างไรในใจประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่าง...