ไอเกอร์ ไบโอ เผยข้อมูลระหว่างการศึกษาโครงการ LOWR HDV ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ ดี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          – ไอเกอร์เผยผลวิจัยระหว่างการทดลอง ณ การประชุมสมาคมยุโรปเพื่อการศึกษาและวิจัยตับ (European Association for the Study of the Liver หรือ EASL) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

          ไอเกอร์ ไบโอฟาร์มาซูติคัลส์ อิงค์ (Eiger BioPharmaceuticals) ประกาศเผยผลข้อมูลระหว่างการทดลองตัวยา Lonafarnib ขั้นที่ 2 ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ ดี (HDV) แบบเรื้อรัง ข้อมูลดังกล่าวมาจากโครงการวิจัย LOWR HDV ซึ่งจัดทำขึ้นที่วิทยาลัยแพทย์ Ankara University Medical School ในตุรกี ซึ่งเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ HDV ในท้องถิ่น

          โลโก้- http://photos.prnewswire.com/prnh/20141221/165715LOGO

          โครงการวิจัย LOWR HDV - 1 (LOnafarnib With and without Ritonavir-1) เป็นการศึกษาในลักษณะของการเปรียบเทียบปริมาณการใช้ยาแบบสุ่ม โดยใช้ปริมาณยา Lonafarnib ที่แตกต่างกันทั้งที่ใช้ร่วมกับตัวยา Ritonavir หรือ Pegylated Interferon และใช้แต่ตัวยา Lonafarnib  ชนิดเดียวเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 4-12 สัปดาห์ ข้อมูลระหว่างการศึกษาจากผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 คน ซึ่งได้รับยา  Lonafarnib เพียงชนิดเดียว หรือได้รับยา Lonafarnib คู่กับ Ritonavir เพื่อเป็นการกระตุ้น หรือได้รับยาร่วมกับตัวยา Pegylated Interferon สามารถสรุปได้ว่า ทุกวิธีการรักษาที่กล่าวมาสามารถลดจำนวนไวรัสในร่างกายลงได้จริง การใช้ยา Lonafarnib ในปริมาณมาก (200 มก. หรือ 300 มก. 2 ครั้งต่อวัน) ส่งผลให้ปริมาณไวรัสในร่างกายค่อยๆลดลง 1.6 และ 2.0 ล็อกตามลำดับหลังจากทำการรักษาครบ 4 สัปดาห์ เมื่อลดปริมาณยา Lonafarnib (100 มก. 2 ครั้งต่อวัน) พร้อมกับใช้การกระตุ้นด้วยตัวยา Ritonavir ปริมาณ 100 มก.ต่อวัน หรือใช้ยา Lonafarnib ในปริมาณข้างต้นร่วมกับการใช้ยา Pegylated Interferon 180 ไมโครกรัม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ส่งผลให้ปริมาณไวรัสในร่างกายค่อยๆลดลง 2.2 และ 1.8 ล็อกตามลำดับในสัปดาห์ที่ 4 ในสัปดาห์ที่ 8 ของการศึกษานั้น   ปริมาณไวรัสในร่างกายของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยตัวยา Lonafarnib ควบคู่กับ Ritonavir หรือยา Lonafarnib ควบคู่กับ Pegylated Interferon ลดลง 3.2 และ 3.0 ล็อกตามลำดับ

          อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในการศึกษา LOWR-1 ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร, คลื่นไส้, ท้องเสีย, อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด โดยอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับ

          โครงการ LOWR HDV - 2 (LOnafarnib With Ritonavir-2) ถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อทดสอบยา Lonafarnib ในปริมาณต่างๆควบคู่ไปกับการใช้ยากระตุ้น Ritonavir โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดองค์ประกอบการใช้ยาที่เหมาะสมเพื่อการศึกษาวิจัยระยะยาวในอนาคต

          ไคฮัน เยอร์เดย์ดิน (Cihan Yurdaydin) กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายงานวิจัยของวิทยาลัยแพทย์ Ankara University Medical School กล่าวว่า "ข้อมูลวิจัยการใช้ตัวยา Lonafarnib เป็นส่วนผสมในการรักษานั้นมีแนวโน้มที่ดีมาก เรายังคงศึกษา เพื่อค้นหาปริมาณการใช้ยา Lonafarnib ร่วมกับการกระตุ้นด้วยยา Ritonavir ที่เหมาะสมต่อไป เพื่อหาจุดสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และอาการต้านยา โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดไวรัสในร่างกายผู้ป่วยให้หายขาด"

          เกี่ยวกับ Lonafarnib
          Lonafarnib เป็นสารที่จัดเรียงอนุภาคในขั้นสุดท้ายเพื่อยับยั้ง farnesyl transferase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนผ่านทางกระบวนการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีน (prenylation) HDV จะอาศัยอยู่ในเซลล์โปรตีนนี้ในกระบวนการฟักเป็นตัวเต็มวัยในเซลล์ตับ Lonafarnib ยับยั้งไม่ให้เกิดกระบวนการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีนในการแบ่งตัวของ HDV ภายในเซลล์ตับและสกัดความสามารถในการแพร่ขยายตัวของไวรัส เนื่องจากการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีนเป็นเพียงที่พักและไม่ได้ถูกควบคุมโดย HDV และ Lonafarnib ยังยับยั้งไม่ให้เกิดกระบวนการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีน ในทางทฤษฎีแล้ว การรักษาด้วย Lonafarnib จึงเป็นการป้องกันที่ดีขึ้น สำหรับการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของการต้านยาโดยทั่วไป

          Lonafarnib ผ่านการรับรองมาตรฐาน Orphan Drug Designation จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) และหน่วยงานควบคุมยาของสหภาพยุโรป (EMA) รวมถึงการรับรอง Fast Track จาก US FDA ยา Lonafarnib ยังไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาด และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ Lonafarnib ได้รับใบอนุญาตจาก Merck Sharp & Dohme Corp. (หรือที่รู้จักกันในนาม MSD นอกสหรัฐ และแคนาดา)

          เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ ดี
          โรคไวรัสตับอักเสบ ดี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี (Hepatitis D Virus: HDV) และถือเป็นไสรัสตับอักเสบชนิดรุนแรงที่สุดในมนุษย์ ไวรัสตับอักเสบ ดี เกิดขึ้นร่วมกับโรคไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) เท่านั้น ส่งผลให้โรคตับมีความรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เพียงชนิดเดียวและยังนำไปสู่การเร่งสร้างเนื้อเยื่อ, มะเร็งตับ, และระบบตับล้มเหลว HDV เป็นไวรัสที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 15 ล้านราย HDV มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก มีรายงานผู้ติดเชื้อ HDV ทั่วโลก ประมาณ 5-6% ของผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง Lonafarnib ผ่านการรับรองมาตรฐาน Orphan Drug Designation จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) และหน่วยงานควบคุมยาของสหภาพยุโรป (EMA) ในบางภูมิภาค ซึ่งรวมถึง จีน รัสเซีย เอเชียกลาง ตุรกี แอฟริกา และอเมริกาใต้ HDV มีสัดส่วนสูงถึง 70% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชิ้อ HBV

          เกี่ยวกับ ไอเกอร์
          ไอเกอร์เป็นบริษัทเอกชนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งเน้นในเรื่อง การวิจัย การพัฒนา และการทำตลาดนวัตกรรมด้านการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนา Lonafarnib เพื่อทำการรักษาไวรัสตับอักเสบ ดี (HDV) ซึ่งเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดที่มีความรุนแรงมากที่สุด รับชมรายละเอียดเกี่ยวกับไอเกอร์ได้ที่เว็บไซต์ www.eigerbio.com

          นักลงทุน กรุณาติดต่อ:
          จิม แชฟเฟอร์ (Jim Shaffer)
          บริษัท ไอเกอร์ ไบโอฟาร์มาซูติคัลส์ อิงค์
          โทร. 919-345-4256
          อีเมล: [email protected]
 


ข่าววิทยาลัยแพทย์+ไบโอฟาร์มาวันนี้

กรุงไทยโชว์นวัตกรรม "กระเป๋าสุขภาพ" บนแอปฯเป๋าตัง ในงานประชุมวิชาการ การป้องกันการหกล้มและกระดูกหักในผู้สูงอายุไทย

นางวรานิช อุชชิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้แทนธนาคาร ให้การต้อนรับ ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย และ ผศ.พ.ต.ต.นพ.ธงชัย สุนทราภา นายกสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธธนาคารกรุงไทย ที่ได้นำเสนอนวัตกรรมบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลผ่าน "กระเป๋าสุขภาพ" บนแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ในงานประชุมนำเสนอโครงการต้นแบบ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง

บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MED... "MEDEZE" ร่วมออกบูธในงานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46 — บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE ร่วมออกบูธให้ข้อมูลในงานประช...

คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โดย แพทย์จีน... คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านการแพทย์แผนจีน — คลินิกการแพ...

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดย... โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยศูนย์กระดูกและกล้ามเนื้อร่วมกับอนุสาขาเวชศาสตร์การกีฬาและราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการ "Sports Medicine Intensive Day 2023" — โรงพยาบาลจุ...

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไท... "RCOST Innovation Fund" โครงการรักษาแขนขาผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกที่ยากไร้และด้อยโอกาส ช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าถึงการรักษาด้วยอุปกรณ์ทดแทนอวัยวะ — ราชวิทยาลัย...

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไท... ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิแพทย์ออร์โธปิดิกส์ จัดงาน แถลงข่าวเปิดตัว "โครงการรักษาแขนขา ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกที่ยากไร้และด้อยโอกาส" — ราชวิทยาลัย...

นางสาวปรางฉาย จรรโลงบุตร (ที่2จากขวา) รอง... TM เดินหน้ากิจกรรม CSR บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ — นางสาวปรางฉาย จรรโลงบุตร (ที่2จากขวา) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท เทคโนเมด...

เตรียมพบกับอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของคนต้องก... พาราไดซ์ พาร์ค จัดงาน "พาราไดซ์ พาร์ค อัศจรรย์การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก" ตรวจรักษาฟรี! ด้วยศาสตร์แผนไทย 21-24 ก.ค. นี้ — เตรียมพบกับอีกหนึ่งทางเล...

นางสาวปรางฉาย จรรโลงบุตร (ที่3 จากขวา) รอ... TM สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ — นางสาวปรางฉาย จรรโลงบุตร (ที่3 จากขวา) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน บ...