รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อการลงมติถอดถอนนักการเมือง กรณีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 632 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2557 ผลการสำรวจพบว่าแกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาเกือบร้อยละร้อยละ คือร้อยละ 95.7 ระบุติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ระบุติดตามน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 0.3 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
และเมื่อสอบถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการยื่นญัติถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นายนิคม ไวรัชพาณิชย์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 29.1 ระบุติดตามอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุติดตามบ้าง ร้อยละ 19.6 ระบุไม่ค่อยได้ติดตาม และร้อยละ 4.2 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้ เมื่อสอบถามต่อไปถึงความตั้งใจที่จะติดตามข่าวสารการลงมติถอดถอนดังกล่าวซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคมที่จะถึงนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.1 ระบุตั้งใจจะติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 40.3 ระบุไม่แน่ใจ และร้อยละ 7.6 ระบุคิดว่าคงไม่ได้ติดตาม
ประเด็นสำคัญที่ค้นจากการสำรวจในครั้งนี้ก็คือ เมื่อสอบถามความเชื่อมั่นในความโปร่งใส และบริสุทธิ์ยุติธรรมของการลงมติถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นายนิคม ไวรัชพาณิชย์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดังกล่าวนั้น พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 60.6 ระบุเชื่อมั่นว่าจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและบริสุทธิ์ยุติธรรม ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.0 ระบุไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.4 ระบุไม่เชื่อมั่น
นอกจากนี้เมื่อสอบถามต่อไปว่ารู้สึกกังวลหรือไม่ว่าการลงมติถอดถอนในครั้งนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศทางการเมืองของประเทศนั้น พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 37.1 ระบุรู้สึกกังวล ในขณะที่ร้อยละ 62.9 ระบุไม่กังวล
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อกรณีการลงมติถอดถอนกับแนวทางการปรองดองที่รัฐบาลและ คสช.กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้นั้น พบว่า แกนนำชุมชนประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.0คิดว่าการลงมติถอดถอน ขัดกับแนวทางการสร้างความปรองดอง ในขณะที่ร้อยละ 68.0 ระบุคิดว่าไม่ขัด ทั้งนี้ ร้อยละ 77.0 ระบุการยื่นญัติถอดถอนในครั้งนี้จะถือเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการจัดการกับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทยได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุคิดว่าไม่ได้ โดยบุคคลที่ไว้ใจที่สุดที่จะให้เป็นผู้นำในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คิดเป็นร้อยละ 96.7 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดเป็น ร้อยละ 1.2 และคนอื่นๆ อาทิ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายอานันท์ ปันยารชุน นายวิษณุ เครืองาม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทหาร และคสช. เป็นต้น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือเมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนต่อรัฐบาลและ คสช.หากที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ถอดถอนนักการเมืองทั้งสามคนดังกล่าวนั้น พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 89.5 ระบุจะยังสนับสนุนรัฐบาลและ คสช. ในขณะที่ร้อยละ 10.5 ระบุไม่สนับสนุน เช่นเดียวกัน เมื่อสอบถามว่าหากที่ประชุมมีมติเห็นชอบไม่ถอดถอน นั้นพบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 79.8 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุไม่สนับสนุน ตามลำดับ
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ