UICC เผยการระดมทุนเพิ่มสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้ถึงปีละ 3 ล้านคนภายในปี 2573

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ข้อมูลใหม่คาดการณ์ว่าการระดมทุนเพิ่มอีกปีละ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก สามารถช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้ถึง 30% ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ภายในปี 2573

          เนื่องในวันมะเร็งโลกประจำปี 2558 เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วโลกจากสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้ประกาศว่า การระดมทุนเพิ่มเพื่อนำไปลงทุนด้านบริการมะเร็งทั่วโลกนั้น สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้หลายล้านชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

          - การระดมทุนเพิ่มจากทั่วโลกอีก 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้ถึงปีละ 3 ล้านคนภายในปี 2573 และจะเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า ผ่านการใช้มาตรการป้องกัน การตรวจโรคตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงการยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
          - การระดมทุนเพิ่มยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลายล้านคนที่จะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในช่วงเวลานี้
          - การขึ้นภาษียาสูบ 3 เท่าจะช่วยให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี นอกจากนั้นผลสำรวจยังชี้ว่าการขึ้นภาษีจะกระตุ้นให้นักสูบมากถึง 1 ใน 3 เลิกสูบบุหรี่ด้วย

          “ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากกว่า 8 ล้านคน ซึ่งผู้เสียชีวิตกว่า 60% มาจากประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มีรายได้ปานกลาง” ศาสตราจารย์เทเซอร์ คุตลัค ประธานสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) กล่าว “จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและสัดส่วนผู้สูงอายุ ดังนั้นเราต้องรับมือเสียตั้งแต่ตอนนี้ ทั้งนี้ การระดมทุน 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นไปได้สำหรับหลายๆประเทศ แต่ก็เป็นไปได้ยากสำหรับกลุ่มประเทศยากจนหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก”

          ข้อมูลสำคัญที่มีการนำเสนอในการประชุมมะเร็งโลก[1] เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งมาจากรายงาน DCP3, Cancer (รายงาน DCP ชุดที่ 3 ฉบับที่ 3 [2]) ได้เรียกร้องให้เหล่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางจัดสรรงบสำหรับจัดการกับโรคมะเร็งเพิ่มอีก 2-5% ของงบประมาณด้านสาธารณสุขทั้งหมด และสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำซึ่งด้อยพัฒนาด้านบริการสุขภาพ อีกทั้งยังขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกและผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐาน จำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจากประชาคมโลกเพื่อสร้างศักยภาพในการรับมือกับปัญหา ซึ่งน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี

          เมื่อปี 2554 องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนะแนวทาง "best buys" เพื่อจัดการกับโรคไม่ติดต่อ (NCD) ซึ่งรวมถึงมาตรการป้องกันโรคมะเร็ง ดังนี้

          - การเก็บภาษียาสูบ รวมถึงใช้มาตรการกำกับดูแลและควบคุม เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ
          - การให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันมะเร็งตับ
          - มาตรการคัดกรองและรักษารอยโรคก่อนเกิดมะเร็งปากมดลูก

          ขณะเดียวกันรายงาน DCP3 Cancer ได้เพิ่มขั้นตอนการรักษาโรคและควบคุมความเจ็บปวดขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมกันเป็น "essential package" ดังนี้

          - การให้วัคซีน HPV แก่เด็กสาวเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก
          - การควบคุมความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม
          - การรักษาโรคมะเร็งในเด็กเฉพาะกลุ่ม
          - การวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะเริ่มแรก

          มาตรการเหล่านี้ครอบคลุมถึงโรคมะเร็งที่มีปัญหามาก (มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งสำไส้ใหญ่) โรคมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายสูง และโรคมะเร็งในเด็ก (เฉพาะกลุ่ม) ซึ่งมาตรการที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้มีต้นทุนไม่สูงมากและเหมาะสมสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (ประเทศรายได้ต่ำสามารถดำเนินการได้ด้วยความช่วยเหลือจากนานาประเทศ) อีกทั้งยังเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ภายในปี 2573

          “การป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคมะเร็งนั้นไม่ได้เหนือไปกว่าความสามารถของเรา ดังนั้น เราไม่ควรนั่งรอและปล่อยให้ภาระอันหนักหน่วงนี้เพิ่มขึ้นทั่วโลก เนื่องในวันมะเร็งโลกปี 2558 เราขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกเดินหน้าไปด้วยกันในการระดมทุนเพื่อยกระดับการควบคุมโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง” แครี อดัมส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) กล่าว “แนวทางที่เหมาะสมและมีต้นทุนต่ำซึ่งถูกคิดค้นขึ้นเพื่อรับมือกับภัยมะเร็ง เช่น การยกระดับการควบคุมยาสูบ การตรวจโรคและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ตลอดจนการเข้าถึงวัคซีนช่วยชีวิตนั้น หากมีการดำเนินการจริงก็จะสามารถช่วยลดความยากจนที่มีสาเหตุจากโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังช่วยชีวิตผู้คนได้อีกหลายล้านชีวิต”

          เกี่ยวกับวันมะเร็งโรคและธีมประจำปี 2558

          วันมะเร็งโลกตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี และเป็นงานเดียวที่สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) รวมถึงสมาชิก พันธมิตร และประชาคมโลก ได้มารวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็งที่ระบาดไปทั่วโลก ทั้งนี้ วันมะเร็งโลกประจำปี 2558 ภายใต้ธีม “Not beyond us” จะใช้แนวทางเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์ในการต่อสู้กับภัยมะเร็ง เพื่อเน้นย้ำว่าแนวทางในการจัดการกับโรคมะเร็งนั้นเกิดขึ้นได้จริงและไม่เกินความสามารถของเรา

          สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.worldcancerday.org

          เกี่ยวกับสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC)

          UICC รวมตัวกับชุมชนมะเร็งเพื่อช่วยกันลดภาระที่เกิดจากโรคมะเร็งทั่วโลก สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกัน ตลอดจนผลักดันแผนควบคุมโรคมะเร็งเข้าสู่วาระการพัฒนาและวาระสุขภาพในระดับโลก UICC คือองค์กรต่อสู้กับโรคมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับองค์กรประเภทเดียวกัน โดยมีองค์กรสมาชิกกว่า 800 แห่งใน 155 ประเทศ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสมาคมโรคมะเร็งระดับโลกหลายแห่ง กระทรวงสาธารณสุขหลายประเทศ สถาบันวิจัยต่างๆ ศูนย์รักษาผู้ป่วย ตลอดจนกลุ่มผู้ป่วย

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถรับชมได้ที่ http://www.uicc.org

          อ้างอิง
          1. การประชุมมะเร็งโลก 3-6 ธันวาคม 2557
          http://www.worldcancercongress.org/sessions/DCP-reducing-premature-deaths-cancer

          2. DCP3: Disease Control Priorities, Third Edition, Volume 6 Cancer. Chapter 1: Summary and Recommendations
          http://www.dcp-3.org/volume/cancer/chapter/1/overview-and-burden

          สื่อมวลชนติดต่อ

          ลีอาห์ เพย์ตัน
          อีเมล: [email protected]
          โทร. +44-208-392-8041 / +44-778-819-1434

          ปีเตอร์ ดันแลน
          อีเมล: [email protected]
          โทร: +44-208-392-8057

          แหล่งข่าว: สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล


ข่าวผู้ป่วยโรคมะเร็ง+วันมะเร็งโลกวันนี้

"1 การให้ได้สุขคูณ 2" …กลุ่มทรู มูลนิธิออทิสติกไทย และมูลนิธิถันยรักษ์ฯ ส่งมอบหมวกฝีมือเด็กพิเศษ จากการบริจาคของคนไทยสู่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง

"1 การให้ได้สุขคูณ 2" …กลุ่มทรู มูลนิธิออทิสติกไทย และมูลนิธิถันยรักษ์ฯ ส่งมอบหมวกฝีมือเด็กพิเศษ จากการบริจาคของคนไทยสู่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก จำนวน 1,023 ใบ มูลค่ารวม 184,094 บาท เนื่องในวันมะเร็งโลก ประจำปี 2566 กลุ่มทรู โดย นายประพาฬพงษ์ มากนวล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม (ที่ 3 จากซ้าย) ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย โดย นายชูศักดิ์ จันทยานนทท์ ประธานมูลนิธิฯ (ที่ 4 จากซ้าย) และมูลนิธิถันยรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดย นางสาวอนุสสรา จันทรวิถี

NCCN บอกเล่าเรื่องราวการยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก

องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรผู้เผยแพร่คู่มือดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมาตรฐานทองคำ ร่วมแบ่งปันเรื่องราวของผู้คนที่ต้องต่อสู้กับโรคมะเร็ง ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกในเครือข่ายขององค์กร ชุมชนโรคมะเร็งระดับโลกเผยผลกระทบของโควิด...

เนื่องในวันมะเร็งโลก โครงการเพื่อสังคม อา... “อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์” (Art for Cance)r เปิดตัวโครงการ “ก้าวข้ามมะเร็ง” ส่งต่อ “ยากำลังใจ” สู่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วประเทศไทย พร้อม “แบงค์ – นิหน่า – อีฟ” ผู้มีประสบการณ์ตรง — เนื่องในวัน...

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที... ภาพข่าว: APCO ร่วมจัดงานวันมะเร็งโลก ชูนวัตกรรม Operation BIM ยกระดับคุณภาพชีวิต — ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะนักวิจัย บริษัท ...

บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) ผู้ดำเนิน... PRINC เปิด "ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา" แห่งแรกของศรีสะเกษ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็ง — บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารโรงพ...

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศ... ถ้าป่วยเป็นมะเร็งปอดผมจะรอดมั้ยครับ? — รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพ...

ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ประชากรวัยทำง... อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส นำเสนอแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งในที่ทำงาน เพื่อให้การสนับสนุนพนักงานอย่างเท่าเทียม — ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ประชากรว...

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ประกาศความพร้อมในการ... รพ.ไทยนครินทร์ ทุ่มงบกว่า 400 ล้านบาท เดินหน้าเปิด 'ศูนย์มะเร็งมุ่งเป้าเฉพาะบุคคลไทยนครินทร์ : TPOC' ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบไร้รอยต่อ — โรงพยาบาลไท...

บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย... บราเดอร์ เดินหน้ากิจกรรม Brother Beat Cancer Run 2025 ต่อเนื่องปีที่ 11 ระดมทุนสนับสนุนมูลนิธิรามาธิบดี ผ่านการวิ่งพร้อมสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ — บริษัท บราเ...

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล จัดพิธีลงนามบันทึก... WMC ลงนาม MOU ขยายสาขา 'ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า' ในประเทศพม่า — โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ Moe Tree Hospital เมืองย่างกุ้ง ป...