มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง 1 ปี คสช.กับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง 1 ปี คสช.กับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,083 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2558
          ผลการสำรวจการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 59.1 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ระบุติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 8.4 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 5.4 ระบุน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 1.0 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
          เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่ พบว่าในประเด็นของการควบคุมราคาล็อตเตอรี่ ใบละ 80 บาทนั้น แกนนำชุมชนร้อยละ 52.9 ระบุเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุกังวลว่าจะไม่สำเร็จ และร้อยละ 17.0 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น สำหรับการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 63.5 ระบุเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ระบุกังวลว่าจะไม่สำเร็จ และร้อยละ 14.0 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 72.2 ระบุเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 19.7 ระบุกังวลว่าจะไม่สำเร็จ และร้อยละ 8.1 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 29.7 ระบุเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 50.6 ระบุกังวลว่าจะไม่สำเร็จ และร้อยละ 19.7 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น และในประเด็นของการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรไทย นั้นพบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 48.8 ระบุเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จ ในขณะที่ร้อยละ 35.9 ระบุกังวลว่าจะไม่สำเร็จ และร้อยละ 15.3 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น
          ประเด็นสำคัญ คือคณะผู้วิจัยได้สอบถามแกนนำชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการมี คสช.ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับบรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ พบว่าประเด็นที่แกนนำชุมชนเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “เพิ่มขึ้น” ได้แก่ ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มั่นคง คนไทยใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.6) ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐทำงานในการให้บริการประชาชนอย่างโปร่งใส (เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9) ประชาชนยอมรับในกระบวนการยุติธรรม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1) ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2) คนไทยมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0) ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5) และประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากนานาชาติ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2) สำหรับประเด็นที่แกนนำชุมชนเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “ลดลง”ได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมืองในกลุ่มประชาชน (ลดลงร้อยละ 63.5) การทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทย (ลดลงร้อยละ 61.5) การแพร่ระบาดของปัญหายาเสพติดที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน (ลดลงร้อยละ 45.6) ความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ (ลดลงร้อยละ 39.2) และการแสดงออกทางการเมืองอย่างเต็มที่ของประชาชน (ลดลงร้อยละ 9.0)
          ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงความสุขต่อการมี คสช. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 0.3 ระบุไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 0.6 ระบุค่อนข้างน้อย-น้อย ร้อยละ 15.3 ระบุปานกลาง ร้อยละ 55.2 ระบุ ค่อนข้างมาก-มาก ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุมีความสุขมากที่สุด ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ยความสุขของแกนนำชุมชนจากการมี คสช.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาเท่ากับ 8.10 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 
          ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความไว้วางต่อ คสช. ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ และประชาชนนั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนเกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 97.1 ระบุยังคงไว้วางใจ คสช. ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุไม่ไว้ใจแล้ว โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ คสช.มีอำนาจเบ็ดเสร็จมากเกินไป/กดดันประชาชนมากเกินไป/กฎระเบียบมากเกินไป ไม่เป็นประชาธิปไตย/ต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น/อำนาจอยู่ที่คน คนเดียว /กลัวว่าทหารจะเหลิงอำนาจ เป็นต้น

          คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
          แกนนำชุมชนร้อยละ 88.1 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 11.9 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 5.7 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 34.3 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 60.0 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 30.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 47.4 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 5.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 16.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของครอบครัวพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 16.5 ระบุมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 29.5 ระบุมีรายได้ครอบครัว 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 18.8 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่แกนนำชุมชนร้อยละ 35.2 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ


ข่าวชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน+นักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชนวันนี้

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง มาตรา 44 กับกระบวนการทำอาร์ไอเอ (RIA)

แกนนำชุมชน หนุนรัฐทำประเมินผลกระทบการออกกฎหมายตาม ม.44 โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างการยอมรับและลดความขัดแย้ง รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับนโยบายจัดการศึกษาเรียนฟรี 15 ปี

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐกับน...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์ยาเสพติดกับมุมมองต่อปัญหาที่เป็นอยู่

"ประชาชนร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 1 และมองว่าข้อเสนอให้แพทย์สั่งยาได้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี" รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่างไรในใจประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่าง...