สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในการรับรู้ของสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ 4 จังหวัดหัวเมืองใหญ่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในการรับรู้ของสังคมไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ 4 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ อุบลราชธานี ชลบุรี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,974 ตัวอย่าง โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกเขต /อำเภอ แขวง/ตำบล ชุมชน/ ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการในวันที่ 12-17 พฤษภาคม 2558 
          ผลการสำรวจพบว่า เมื่อสอบถามถึงความสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของรัฐบาลและคสช.พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.4 ระบุติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 52.3 ระบุติดตามบ้าง ในขณะที่ร้อยละ 33.2 ระบุไม่ค่อยได้ติดตาม และร้อยละ 6.1 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
          นอกจากนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 12.7 ระบุเข้าใจชัดเจนแล้ว ในขณะที่มากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 72.6 ระบุเข้าใจบ้าง และร้อยละ 14.7 ระบุยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์เลย
สำหรับการรับรู้รับทราบในความเสียหายของประเทศชาติและประชาชนจากปัญหาการค้ามนุษย์นั้นพบว่า ร้อยละ 46.4 ระบุรับรู้รับทราบมาก่อนแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 37.6 ระบุเพิ่งทราบจากรัฐบาลและ คสช. ในขณะที่ ร้อยละ 16.0 ระบุไม่ทราบมาก่อน
          ประเด็นสำคัญคือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงรูปแบบการค้ามนุษย์ที่เคยพบเห็นหรือรับรู้ว่ามีในพื้นที่จังหวัดของตนนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.4 ระบุเคยพบเห็นการนำคนมาเป็นขอทาน รองลงมาคือร้อยละ 47.9 ระบุการค้าประเวณี ร้อยละ 40.0 ระบุการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบต่างๆ ร้อยละ 36.8 ระบุการบังคับใช้แรงงาน/บริการ ร้อยละ 34.8 ระบุการผลิต/เผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก ร้อยละ 27.7 ระบุการข่มขู่/ขูดรีด/บีบบังคับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของตน และร้อยละ 6.6 ระบุการบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า ตามลำดับ
          ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่จังหวัดตามความคิดเห็นของตัวอย่างนั้นพบว่า ร้อยละ 13.0 ระบุสถานการณ์อยู่ในระดับรุนแรงมาก-มากที่สุด ร้อยละ 32.9 ค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 34.2 ระบุไม่ค่อยรุนแรง ในขณะที่ร้อยละ 19.9 ระบุน้อย-ไม่มีปัญหาเลย
          สำหรับการรับรู้ของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่จังหวัดของตนนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.0 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 34.2 ระบุทหาร ร้อยละ 19.9 ระบุข้าราชการฝ่ายพลเรือนเช่น พัฒนาสังคม ฝ่ายแรงงาน ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 36.5 ระบุไม่เคยพบเห็น/ไม่เคยรับรู้ ตามลำดับ
คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
          ตัวอย่างร้อยละ 46.0 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 54.0 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 28.1 ระบุมีอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 30.5 ระบุอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 24.1 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 17.3 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 32.9 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 38.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 22.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และเมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่า ร้อยละ 38.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 32.2 ระบุมีรายได้ 10,000–15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 18.4 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ


ข่าวชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน+นักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชนวันนี้

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง มาตรา 44 กับกระบวนการทำอาร์ไอเอ (RIA)

แกนนำชุมชน หนุนรัฐทำประเมินผลกระทบการออกกฎหมายตาม ม.44 โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างการยอมรับและลดความขัดแย้ง รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับนโยบายจัดการศึกษาเรียนฟรี 15 ปี

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐกับน...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์ยาเสพติดกับมุมมองต่อปัญหาที่เป็นอยู่

"ประชาชนร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 1 และมองว่าข้อเสนอให้แพทย์สั่งยาได้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี" รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่างไรในใจประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่าง...