ทช. พาสื่อมวลชนสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลใน จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ทช. สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลใน จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา พร้อมดึงชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรหลัง พ.ร.บ. ทช. มีผลบังคับใช้
          ทช. เปิดพื้นที่สาธิตการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านทรัพยากรทางทะเล พร้อมแสดงพลังการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนปกป้อง ดูแล และรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หวังประกาศเขตคุ้มครองหลัง พ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้
          นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวภายหลังการนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเลฝั่งอันดามัน โรงเรียนป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และพื้นที่สาธิตการศึกษาความหลายหลายทางชีวภาพด้านทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา ว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยได้สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำที่อาศัยในระบบนิเวศแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล ป่าชายเลน หาดทรายและหาดหิน บริเวณเกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา รวมทั้งศึกษาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชนดังกล่าว พบว่าในบริเวณพื้นที่หมู่เกาะยาวมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ ทั้งจำนวนชนิดและปริมาณอย่างมากมาย ซึ่งตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจ ได้นำมาจัดแสดงในศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล โดยได้ประสานขอความร่วมมือจากโรงเรียน อบต. เทศบาล เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ทราบว่า ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ทะเลในพื้นที่ของตนเองมีสถานภาพอย่างไร มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร โดยมุ่งหวังให้เกิดการตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรทางทะเลและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
          นายชลธิศ กล่าวต่อไปว่า ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ นอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ และสร้างพลังในการมีส่วนร่วมของชุมชนแล้ว ยังนำมาสู่กระบวนการการประกาศเขตคุ้มครองตามกฎหมายหลังจากที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้ พื้นที่ที่มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชตามสภาพทางธรรมชาติ จะถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองและมีแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่ที่ชัดเจน โดยพื้นที่ดังกล่าว จะต้องไม่อยู่ในเขตอนุรักษ์ หรือเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามกฏหมายว่าด้วยการประมง ซึ่งในการประกาศพื้นที่คุ้มครองของ ทช. จะคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพในด้านทรัพยากรทางทะเลเป็นสำคัญ รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับชุมชนเจ้าของพื้นที่ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ทช. พาสื่อมวลชนสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลใน จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา
ทช. พาสื่อมวลชนสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลใน จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา
ทช. พาสื่อมวลชนสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลใน จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา
 

ข่าวกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง+การบริหารจัดการวันนี้

อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั... มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง — มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้ส...

นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดี... LET จัดอบรม e-Service การบริหารจัดการสัตว์ป่าตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ — นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รัก...