สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่งและโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 โดย YLG

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           สภาวะตลาดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,067.40-1,073.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 18,150 บาทต่อบาททองคำ โดยราคาปรับตัวลดลง 50 บาทจากวันก่อนหน้าที่ระดับ 18,200 บาทต่อบาททองคำ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFZ15 อยู่ที่ 18,220 บาท โดยราคาปรับตัวลดลง 30 บาทจากวันก่อนหน้าที่ระดับ 18,250 บาท
          (หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 16.24 น.ของวันที่ 27/11/15)

          แนวโน้มวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

          กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะประชุมกันในวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน เพื่อตัดสินใจว่าจะบรรจุหยวน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของตะกร้าสกุลเงิน Special Drawing Rights (SDR) ของไอเอ็มเอฟ ขณะที่ธนาคารกลางจีนกำหนดค่ากลางของหยวนที่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ทั้งนี้ รอยเตอร์สำรวจความเห็นผู้จัดการกองทุน, เทรดเดอร์สกุลเงิน และนักวิเคราะห์ 19 รายใน วันที่ 24-26 พฤศจิกายน ในการจัดทำผลสำรวจนี้ โดยผลสำรวจพบว่า หยวนเป็นสกุลเงินเดียวในกลุ่มนี้ที่นักลงทุนปรับเพิ่มสถานะขายมากยิ่งขึ้นในช่วงสองสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยสถานะขายในหยวนต่อดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน เช่นกัน ประเด็นดังกล่าวเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งส่งผลเชิงกับกับราคาทองคำ หลังการดำเนินการของธนาคารกลางจีนบ่งชี้ว่าผู้ควบคุมกฎระเบียบของจีนยังคงมีความวิตกเกี่ยวกับแรงกดดันให้หยวนอ่อนค่าลง แรงซื้อทองคำชะลอตัวลง เมื่อทั้งอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ทองคำรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน มีแนวโน้มความต้องการซื้อทองคำในไตรมาส 4 มีแนวโน้มลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากผลกระทบจากความต้องการลงทุนที่อ่อนแอ และภาวะแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้รายได้ของ เกษตรกรหลายล้านคนของอินเดียลดลง ซึ่งกระทบต่ออุปสงค์ในตลาดทองคำให้มีภาวะซบเซา จนอาจทำให้การนำเข้าทองคำลดลงครึ่งหนึ่งในไตรมาส 4 ทั้งนี้ นาย Bachhraj Bamalwa ผู้อำนวยการของสมาคมการค้าเพชรและอัญมณีของอินเดียกล่าวว่า อุปสงค์ทองในไตรมาส 4 ของอินเดียอาจลดลงสู่ 150-175 ตัน จาก 201.6 ตันในปีที่ผ่านมาและจากปริมาณเฉลี่ยในรอบ 5 ปีสำหรับไตรมาส 4 ที่ 231 ตันซึ่งจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อราคาทองคำในตลาดโลก สำหรับมุมมองของวายแอลจี ประเมินว่าหากราคาทองคำขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,077-1,085 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่สามารถผ่านไปได้ ทำให้ราคาเกิดการอ่อนตัว ซึ่งการแกว่งตัวของราคาทองคำยังถือเป็นโอกาสให้นักลงทุนระยะสั้นเข้าซื้อเก็งกำไรเช่นเดิม

          กลยุทธ์การลงทุน วายแอลจีแนะนำ สำหรับผู้ที่ไม่มีทองคำในมือ แนะนำให้ลงทุนระยะสั้นโดยรอซื้อเมื่อราคาย่อตัวลงไปบริเวณแนวรับที่ 1,064 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และให้ขายทำกำไรเมื่อราคาดีดตัวขึ้น โดยราคาทองคำมีลักษณะการแกว่งตัวในระยะสั้นแบบ Sideway Down โดยมีการทรงตัวรักษาระดับไว้ น่าจะพอทำให้ในระยะสั้นนี้ราคาจะเคลื่อนไหวในกรอบ โดยหากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านได้อย่างแข็งแกร่ง นักลงทุนยังต้องระมัดระวังแรงขายทางเทคนิคและนักลงทุนควรตั้งจุดตัดขาดทุนหากราคาหลุดบริเวณแนวรับ เพื่อลดความเสียหายของพอร์ทการลงทุน ในขณะที่นักลงทุนที่มีทองคำในมือ ให้ขายทำกำไรเมื่อราคาดีดตัวหรือไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,077 หรือ 1,085 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แล้วรอไปซื้อคืนบริเวณแนวรับสำคัญ


          ทองคำแท่ง (96.50%) 
          แนวรับ 1,064 (18,020บาท) 1,053 (17,830บาท) 1,040 (17,610บาท)
          แนวต้าน 1,077 (18,240บาท) 1,085 (18,380บาท) 1,091 (18,480บาท)

          GOLD FUTURES (GFZ15)
          แนวรับ 1,064 (18,170บาท) 1,053 (17,980บาท) 1,040 (17,760บาท)
          แนวต้าน 1,077 (18,390บาท) 1,085 (18,530บาท) 1,091 (18,630บาท)

          หากต้องการทราบทิศทางราคาทองคำและแนวทางลงทุนทองคำ ขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากทีมที่ปรึกษาการลงทุนด้านโกล์ดฟิวเจอร์ส โทร.02-687-9999 และการลงทุนด้านทองคำแท่ง โทร.02-687-9888 
          สนใจลงทุนทองคำแท่งและโกลด์ฟิวเจอร์ส สามารถติดตามสัมมนาทุกสัปดาห์ได้ที่ www.ylgbullion.co.th หรือ www.ylgfutures.co.th สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9999 ต่อ 4148
 

ข่าวกองทุนการเงินระหว่างประเทศ+โกลด์ฟิวเจอร์สวันนี้

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่งและโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 22 มกราคม 2562

สภาวะตลาดวันที่ 22 มกราคม 2562 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,277.10-1,284.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 19,350 บาทต่อบาททองคำ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 50 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,300บาทต่อบาททองคำ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFG19 อยู่ที่ 19,450 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 90 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,360 บาท (หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 15.26 น. ของวันที่ 22/01/62) แนวโน้มวันที่ 23 มกราคม 2562 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนา... EXIM BANK ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจและส่งออกไทยปี 68 แตะระดับ 3% เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน — ดร.รักษ์ วรกิจ...

ซาอุดีอาระเบียได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ (IMFC)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ (International...

ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่าง... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2566 — ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม...

M.P.A. (Public Policy) รัฐประศาสนศาสตรมหา... MPA SWU หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ — M.P.A. (Public Policy) รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรี...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนา... EXIM BANK จับมือ Amazon และกระทรวงพาณิชย์ สนับสนุนทัพสินค้าไทยรุกตลาดการค้า E-commerce — ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข...

CGTN: การประชุมเอเปค: จีนส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุมและเปิดกว้างในเอเชียแปซิฟิก พร้อมเรียกร้องยกระดับเศรษฐกิจในภูมิภาค

อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และโรคระบาดครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ ล้วนมีส่วนทำให้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ...

ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาข... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2565 — ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม ชะลอลงแ...

รมว.คลังซาอุฯ ปลื้ม หลัง IMF ออกแถลงการณ์ยกย่องเศรษฐกิจในรายงานการประเมินภาวะเศรษฐกิจ ประจำปี 2565

เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกแถลงการณ์สรุปยกย่องสถานภาพทางเศรษฐกิจและทางการเงินของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในช่วงสุดท้ายของการเยือนประเทศเพื่อรายงานการประเมินภาวะเศรษฐกิจของซาอุฯ...

ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร... "เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น" อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน — ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นอกจาก...