นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บุคลากรจาก 3 สถาบันร่วมวิจัยคิดค้น นำโดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ผศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พร้อมด้วย พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ผนึกกำลังคิดค้นร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ประดิษฐ์คิดค้นร่วมกับแพทย์และพยาบาล โดยใช้ชื่อว่า "PMK Robotic Exoskeleton Hand"
          พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี เผยว่า เนื่องจากโรงพยาบาลมีผู้ป่วยราชการสนามและผู้ป่วยพลเรือนจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมีปัญหาได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก และข้อมือ โดยทางทีมวิจัยได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาแขนและข้อมือที่อ่อนแรง โดยจะเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีกำลังแขนลดลงอันเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสาท เช่นการบาดเจ็บของไขสันหลังส่วนคอ (Traumatic cervical myelopathy) การบาดเจ็บของรากประสาท (Traumatic cervical radiculopathy) หรือร่างแหประสาทที่รักแร้ได้รับบาดเจ็บ (Brachial plexus injury) เป็นต้น นอกจากนี้อาจพัฒนานำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาอ่อนแรงของแขน และมือจากภาวะปลายเส้นประสาทเสื่อม (Peripheral neuropathy) รวมถึงในกรณีที่มีการอ่อนแรงจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่น Muscular dystrophy ได้อีกด้วย โดยในการออกแบบเพื่อให้หุ่นยนต์เสริมพลังแขนทำงานนั้น ต้องคำนึงถึงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือและข้อนิ้ว ซึ่งการทำงานจะซับซ้อนและให้ประสานสัมพันธ์กันนั้นเป็นโจทย์ที่ยากมาก
          ทางด้าน ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม อธิบายเพิ่มเติมว่า "หุ่นยนต์เสริมพลังแขนนี้ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญดังนี้ ส่วนแรกเป็นโครงสร้าง(Hardware) จะประกอบไปด้วยโครงสร้างอลูมิเนียมที่ยึดติดกับเก้าอี้ด้านหลัง และโครงสร้างนี้เองจะยึดติดกับดีซีมอเตอร์ (DC Motor) ขนาด 150 วัตต์ 24 โวลต์ จำนวน 6 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีเกียร์ทด ขนาดอัตราทด 1:50 เพื่อใช้ส่งกำลังผ่านลวดสลิง ไปแต่ละแกนของการเคลื่อนที่ แกนมอเตอร์ ด้านหลังยึดติดกับเอ็นโครเดอร์ (Encoder) ขนาด 1000 รอบ ส่วนที่สองเป็นส่วนควบคุม (Control) โดยใช้พีแอลซี (PLC) เป็นตัวควบคุมแบบ PID Control ทั้งการควบคุมแบบตำแหน่ง (Position Control) และควบคุมความเร็ว (Speed Control) ส่วนที่สาม คือ ซอฟต์แวร์ (Software) จะใช้ภาษาแลดเดอร์ไดอะแกรม และฟังชั่นบล็อกในการเขียนควบคุมการทำงานทั้งระบบ มีหลักการทำงานคือ ผู้ป่วยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวไหล่จะควบคุมการกางหรือบิดเข้าด้านใน การบิดออกด้านนอก การยกไหล่ขึ้น - ลง การหมุนควง การหมุนและเอียงไหล่ขึ้น จะสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของข้อศอกและข้อมือ การควบคุมทั้งระบบจะเป็นแบบวงจรรอบปิด โดยใช้ทฤษฎี พี ไอ ดี ( PID Control System) มาควบคุมการทำงานทำให้สามารถตรวจจับความเร็ว (Speed Control) และตำแหน่ง (Position Control) ของการเคลื่อนที่ได้
          ซึ่งขณะนี้ทางทีมวิจัยกำลังพัฒนาให้ผู้ป่วยสามารถสวมใส่หุ่นยนต์เสริมพลังแขนเพื่อให้ทำภารกิจต่าง ๆ นอกสถานที่ได้โดยไม่ได้ยึดติดกับอุปกรณ์ส่วนใด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 02-549-4994
นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”
 
นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”
นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”
นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”
นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”
นักวิจัยไทย คิดค้น PMK “หุ่นยนต์เสริมพลังแขน” PMK “Robotic Exoskeleton Hand”
 
 
 

ข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวันนี้

เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เดือนพฤศจิกายนนี้

เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เดือนพฤศจิกายนนี้ พบกับการแสดงชุด ยอยศอโยธยา วิถีชีวา สู่นครา สิรินธร โดย โรงเรียนบ้านรำไทยกนกนาฏ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน รวมศิลป์แผ่นดินสยาม 2565 จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม การแสดงชุด วิจิตรทัศนา โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลชนะเลิศ รายการ International Folk Dance Festival "Culture Connects" ปี 2566 ณ เมือง Noida ประเทศอินเดีย พร้อมทั้งการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชมฟรี ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 12.00

มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการตรวจประเมินคุณภา... SPU รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อคุณภาพทางวิชาการและมาตรฐานการศึกษา — มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการตรวจประเมินคุณภาพ...

ฟอร์จูนทาวน์ (Fortune Town) ศูนย์รวมไอทีแ... Fortune Town x Valaya Music Competition 2023 เปิดเวทีชวนคนดนตรีโชว์พลัง ชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ — ฟอร์จูนทาวน์ (Fortune Town) ศูนย์รวมไอทีและไลฟ...

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยรา... ราชภัฏ 38 แห่งรวมพลังจัดอบรมพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพ — เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิ...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชั... ผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจ SPU ถ่ายทอดความรู้ หัวข้อ "การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจบริการผู้สูงอายุ" ทางออนไลน์ VRU. — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยารัตน์ ธ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... อว. นำงานวิจัยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก พลิกฟื้น "ตลาดร้อยปี คลอง 12" พร้อมพัฒนารูปแบบสภาผู้นำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ลดความเหลื่อมล้ำในชุมชน — กระทรวงการอ...

ผู้อำนวยการ สนพ.จันทบุรี เข้าร่วมเวทีพิจา... สนพ.จันทบุรี เข้าร่วมเวทีพิจารณาโครงการระดับจังหวัดกลุ่มจังหวัดตะวันออก 2 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ วิทยาเขตสระแก้ว — ผู้อำนวยการ สนพ.จันทบุรี เข้าร่...

ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี ม... ม.ศรีปทุม รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 — ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วยคณะผู้บริ...

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ... กสศ. ผนึกกำลัง 9 สถาบันผลิตและพัฒนาครู ลงนาม MOU สร้าง 'ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่น 4' มุ่งผลิต ครูรุ่นใหม่แก้ปัญหาครูโยกย้าย พร้อมสร้างคุณภาพการเรียนรู้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล — กองทุนเพื่อ...

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่า... สมาคมเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ และ 4 สมาคมวิชาชีพ เดินหน้าส่งเสริมการดำเนินงานทางด้านวิชาการ — ดร.ดนุช ตัน...