ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องถอดรหัส เทียร์ 3 ค้ามนุษย์ของไทย: ถ้าไม่ทำในรัฐบาลนี้ ยากที่จะทำได้ในรัฐบาลหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เผยข้อมูลย้อนหลัง 15 ปีรายงานอันดับเทียร์ค้ามนุษย์โดยกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ พบประเทศไทยเป็นแหล่งหากินของขบวนการค้ามนุษย์จาก เมียนมา กัมพูชา และลาว ต่อเนื่องทุกปี น่าตกใจปี 52 หลังไทยมีกฎหมายแก้ค้ามนุษย์แต่เครือข่ายกลับโตสุด ชี้หลัง คสช. และ รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่กังวลไม่ยั่งยืน แนะรัฐบาลและ คสช. ศึกษาตั้งองค์กรถาวร ป.ป.ม. ทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม ถ้าไม่ทำในรัฐบาลนี้ ยากที่จะทำได้ในรัฐบาลหน้า
          ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยข้อมูลรายงานการค้ามนุษย์ของประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ หรือ TIP Report 15 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ฉบับแรกในปี 2544 ถึง ฉบับล่าสุดในปี 2558 พบประเทศไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ในเทียร์ 2 ตั้งแต่แรกปี 2544 และตกมาอยู่เทียร์ 2.5 หรือเทียร์ 2 Watch List ในปี 2547 เพราะมีการขยายเครือข่ายของขบวนการค้ามนุษย์ที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐาน
          ดร.นพดล กล่าวต่อว่า น่าตกใจคือ หลังจากประเทศไทยมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในปี 2551 และมี กองบังคับการปราบปรามความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เกิดขึ้นแต่เครือข่ายของขบวนการค้ามนุษย์ยังคงใช้ประเทศไทยเป็นฐานขยายตัวมากที่สุดเกือบ 40 ประเทศทั่วโลกในปี 2552 ต่อมาประเทศไทยตกอันดับมาในเทียร์ 2.5 หรือ เทียร์ 2 Watch List อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 ถึง ปี 2556 และตกลงมาอยู่ในเทียร์ 3 หรือต่ำสุดที่กระทบต่อผลประโยชน์ชาติและของประชาชนทุกคนในปี 2557 และ ปี 2558 ตามแผนภาพ
          นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบด้วยว่า ประเทศต้นทางที่ขบวนการค้ามนุษย์ใช้ประเทศไทยเป็นช่องทางหากิน คือ เมียนมา กัมพูชา ลาว อยู่ในรายงานต่อเนื่องมา 15 ปีตั้งแต่รายงานฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน โดยระบุว่า ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ย้ายถิ่นมาทำงานในประเทศไทยและกลายเป็นแรงงานบังคับและค้าประเวณี ในขณะที่ เวียดนาม และอุซเบกีสถาน อยู่ในรายงานต่อเนื่อง 8 ปี ที่ระบุประเทศไทยเป็นประเทศปลายทางของเหยื่อค้ามนุษย์ที่เข้ามาค้าประเวณี
          ผอ.ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยที่เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์โดยประเทศไทยเป็นประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทางจำนวนมากทั่วโลกหลายสิบประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี มอลโดวา คีร์กีซสถาน สวิตเซอร์แลนด์ ติมอร์ อินโดนีเซีย อิสราเอล แอฟริกาใต้ และสวีเดน แต่หลังจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ คสช. เข้ามาแก้ปัญหา พบจำนวนประเทศเครือข่ายของขบวนการค้ามนุษย์ที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานหากินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากปี 2552 ที่มีมากถึง 37 ประเทศ และในปี 2557 ก่อน คสช. เข้ามา มี 31 ประเทศ แต่ในปี 2558 หลังจาก คสช. และรัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหา รายงานการค้ามนุษย์ที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานลดลงเหลือ 18 ประเทศเท่านั้นแต่ประเทศไทยก็ยังถูกจัดอันดับเทียร์ 3 จึงต้องเร่งวิเคราะห์เหตุปัจจัยและแนวทางแก้ไขดังนี้
          ประการแรก นานาประเทศคู่ค้าของไทย เน้นไปที่ ผลลัพธ์ (Outcome) มากกว่า ผลผลิต (Output) ของยุทธศาสตร์ คือ "ทำไปแล้วได้อะไร มากกว่า ทำอะไรไปแล้วบ้าง" เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยทำอะไรต่างๆ ไปมากมาย เช่น ออกกฎหมายแก้ค้ามนุษย์ มีกองกำลังเฉพาะกิจ มีการบูรณาการ มีการใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ประเทศต้นทางที่ขบวนการค้ามนุษย์ส่งเหยื่อมาไทยเหมือนเดิมทุกปี และคนไทยก็ยังถูกส่งไปยังประเทศปลายทางซ้ำซากหลายประเทศ เหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ขอความช่วยเหลือองค์กรต่างๆ อย่างไร้ทิศทาง เช่น หาหน่วยงานรัฐบ้าง หาสื่อมวลชนบ้าง หามูลนิธิและ NGO บ้าง แต่ละหน่วยมีมาตรฐานต่างกัน
          ประการที่สอง ประเทศไทยควรดำเนินการ 3 อย่างคือ 1) คุ้มครองเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อซ้ำซาก 2) ป้องกันและปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์อย่างจริงจังต่อเนื่อง และ 3) ดำเนินคดีขบวนการค้ามนุษย์ตามกฎหมายที่มีอยู่โดยบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัด เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล 
          ประการที่สาม ควรให้การศึกษาและรณรงค์ให้เกิดความตระหนัก (awareness) และมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมต่อต้านการค้ามนุษย์ ทำให้แรงงานเกิดความปลอดภัยและได้รับค่าจ้างเป็นธรรม เน้นเหยื่อค้ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหาให้มากขึ้น
          ประการที่สี่ ควรศึกษาตั้งองค์กรกลางถาวรด้านยุทธศาสตร์และปฏิบัติการหรือ ป.ป.ม. ต่อต้านการค้ามนุษย์โดยตรง ไม่ใช่ "งานฝาก" ที่ทำให้เกิดการบูรณาการเทียม พอรัฐบาลอ่อนแอปัญหาก็กลับมาอีกไม่ยั่งยืน องค์กรนี้จะดูแลคุ้มครองเหยื่อค้ามนุษย์แบบครบวงจร ลดความพยายามของเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรภาคเอกชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการปล่อยให้ประเทศไทยมีปัญหาซับซ้อนยุ่งยากโดยหวังได้เงินจากต่างชาติและงบประมาณแผ่นดิน ตามแผนภาพโครงสร้างที่แนบมา หากไม่ทำในรัฐบาลนี้ ก็ยากที่จะเกิดในรัฐบาลหน้า


ข่าวชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน+นักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชนวันนี้

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง มาตรา 44 กับกระบวนการทำอาร์ไอเอ (RIA)

แกนนำชุมชน หนุนรัฐทำประเมินผลกระทบการออกกฎหมายตาม ม.44 โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างการยอมรับและลดความขัดแย้ง รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง

มาสเตอร์โพลล์ เผยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับทุกประเด็นร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองเก่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลงประชามติ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัย...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รัฐกับนโยบายจัดการศึกษาเรียนฟรี 15 ปี

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง รัฐกับน...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์ยาเสพติดกับมุมมองต่อปัญหาที่เป็นอยู่

"ประชาชนร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 1 และมองว่าข้อเสนอให้แพทย์สั่งยาได้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี" รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล...

มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่างไรในใจประชาชน

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง บริษัทประชารัฐเป็นอย่าง...