ข้อคำนึงถึงในการดำเนินนโยบายบ้านประชารัฐ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.นณริฎ พิศลยบุตร
          นักวิชาการ ฝ่ายการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม
          สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

          บ้านประชารัฐ เป็นนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ให้ได้มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของบ้าน สาระสำคัญของนโยบายคือ จะเป็นการวางนโยบายช่วยเหลือทางด้านดอกเบี้ยและผ่อนปรนเกณฑ์ปล่อยเงินกู้ ผ่าน 3 ธนาคารหลัก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์
          เป้าหมายในการเข้าถึง จะประกอบไปด้วยลูกค้าที่เป็นผู้มีรายได้น้อย (และเป็นผู้ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ครอบครองบ้านมาก่อน) จำนวน 60,000 คน โครงการมีวงเงินรวม 70,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจำนวน30,000 ล้านบาท จะปล่อยกู้ให้กับธุรกิจเอกชน และการเคหะ เพื่อนำไปสร้างบ้านประชารัฐ ส่วนที่สองจำนวน 40,000ล้านบาท จะปล่อยกู้ให้กับบุคคลทั่วไป โดยแบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ขอกู้เพื่อซื้อ เช่าซื้อและก่อสร้างบ้านใหม่ จะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 700,000 บาท กลุ่มที่ซ่อมแซมบ้านที่มีอยู่เดิมจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 500,000 บาท และกลุ่มที่ขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน จะปล่อยรายละประมาณ 700,000-1,500,000 บาท
          การช่วยเหลือภาคเอกชนมีข้อกำหนดให้เอกชนจะต้องช่วยเหลือผู้บริโภคโดยเป็นผู้แบกรับค่าธรรมเนียมโอน2% (หรือค่าธรรมเนียมจำนอง 1% เฉพาะปีแรก) รวมทั้งให้เป็นผู้ออกค่าส่วนกลางในปีแรก และให้ลดราคาจากราคาขายอีก 2% การอุดหนุนจากภาครัฐจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือการอุดหนุนลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง และการลดเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ Debt to service ratio ให้เป็นร้อยละ 50 สำหรับลูกค้าทั่วไปและร้อยละ 80 สำหรับพนักงานรัฐ
          ในมุมมองส่วนตัว มองว่านโยบายนี้จะมีข้อดี คือ ช่วยเหลือคนรายได้น้อยที่มีความพร้อมทางด้านการเงินและมีความต้องการที่อยู่อาศัย ในขณะที่ภาคเอกชนทั้งที่มีสต็อกบ้านราคาย่อมเยา และภาคเอกชนที่จะสร้างโครงการใหม่ในพื้นที่ภาครัฐจะได้รับประโยชน์ ซึ่งรวมไปถึงธุรกิจวัสดุก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งบ้านในทางตรงกันข้าม จุดเสี่ยงที่สำคัญ คือ คนรายได้น้อยบางส่วนอาจจะซื้อที่อยู่อาศัย ทั้งๆที่ตนเองไม่มีศักยภาพทางด้านการเงิน หรือตนเองคิดไม่รอบคอบถึงผลดี/ผลเสียของการซื้อที่อยู่อาศัย
          กลุ่มที่ไม่มีศักยภาพทางการเงิน เกิดขึ้นจากการปรับเพิ่ม Debt to service ratio ให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 50 ซึ่งอยู่เหนือจุดเหมาะสมที่วิจัยโดย ดร.อธิภัทร (จุฬา) ที่ประมาณร้อยละ 20-40
          กลุ่มที่ไม่คำนึงถึงผลดี/ผลเสียของการซื้อที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นเนื่องจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ก่อให้เกิดภาระหนี้ที่ยาวนาน (ประมาณ 30 ปี) ดังนั้นในอนาคต อาจจะเกิดสถานการณ์ที่ไม่ดีที่คาดไม่ถึง เช่น 1. เศรษฐกิจตกต่ำไม่มีกำลังทรัพย์เพื่อผ่อน 2. การย้ายถิ่นที่อยู่ ที่ทำงานจะมีความสะดวกกว่าหากการอยู่อาศัยอยู่ในลักษณะเช่า หรืออยู่กับเพื่อนฝูง/เครือญาติ 3. โครงสร้างบ้านจะต้องเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตในอนาคต คนมีรายได้น้อยจะไม่สามารถซื้อบ้านใหม่ได้ง่าย ดังนั้น การออกแบบบ้านจะต้องคำนึงถึงการใช้ชีวิตในยามชราด้วย เป็นต้น
นอกจากนี้ อีกกลุ่มหนึ่งที่จะมีปัญหา ก็คือ กลุ่มธุรกิจเช่าบ้านที่อาจจะสูญเสียลูกค้าไป และธุรกิจบ้านในsegment อื่นๆที่อาจจะถูกดึงความต้องการให้ซบเซาลง
          สำหรับการกำหนดความช่วยเหลือโดยบังคับภาคธุรกิจให้ช่วยผู้ซื้อนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะผู้ผลิตสามารถผลักภาระต่างๆ โดยกำหนดราคาให้สูงขึ้นได้ ภาระต่างๆจึงตกเป็นของผู้ซื้ออยู่ดี
          ในมุมมองของผู้เขียน การดำเนินนโยบายบ้านประชารัฐ จะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย หากภาครัฐสามารถวางมาตรการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ซื้อมีความพร้อมในการซื้อจริงๆ ทั้งทางด้านการเงิน และทางด้านความรู้พื้นฐานในเรื่องข้อคำนึงถึงในการเป็นเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรที่จะคำนึงถึงการออกแบบ "บ้านประชารัฐ" ให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถที่จะอาศัยอยู่ได้จนถึงบั้นปลายชีวิตอย่างแท้จริง เพราะผู้มีรายได้น้อยส่วนมากคงไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะจัดหาบ้านใหม่มาได้อีกครั้ง
ข้อคำนึงถึงในการดำเนินนโยบายบ้านประชารัฐ
 

ข่าวสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย+สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศวันนี้

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย"

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" Kick off พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน รณรงค์ พ.ร.บ. ปี 2568 พร้อมจัดเวทีเสวนาถอดรหัส ถนน 304 เสนอบังคับใช้ กม. ออกมาตรการลดเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" ภายใต้

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประก... คปภ. เผยมุมมองผู้เชี่ยวชาญ ประเทศไทยต้องปรับตัวเร่งด่วน รับมือ Climate change ภาคประกันภัย…มีส่วนสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลง — สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ง...

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอา... ทีดีอาร์ไอเปิดเวทีเสวนา "เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ชูกรณีศึกษา Grab ช่วยขับเคลื่อน GDP สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแสนล้าน — สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)...

The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ... The Active Thai PBS จับมือ TDRI "ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่" ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านพลังงาน — The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ สะท...

การศึกษาล่าสุด โดยองค์การยูนิเซฟและสถาบัน... รายงานใหม่โดยยูนิเซฟและทีดีอาร์ไอ พบว่า เด็กยากจนร้อยละ 34 ไม่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด — การศึกษาล่าสุด โดยองค์การยูนิเซฟและสถาบันวิจั...

Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนา... ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS World Forum เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงสื่อยุค AI — Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนาคตของห้องข่าว' เตรียมพร้อมรับ...

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพ... วางผังภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล — ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นประธานในงาน ...

เคทีซีจัดงานเสวนา KTC FIT Talks #9 จับเข่... เคทีซี x ทีดีอาร์ไอ เปิดเวทีเสวนา KTC FIT Talks #9 "จับตาเศรษฐกิจไทยและธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคครึ่งหลังปี 2566" — เคทีซีจัดงานเสวนา KTC FIT Talks #9 ...

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานกา... วช. หนุนทีดีอาร์ไอศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของอุบัติเหตุทางถนน หวังผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลวิจัยไปใช้กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับประเทศให้มีความชัดเจน — ดร.วิภารัตน...

เมื่อวัน 5 กุมภาพันธ์ 2564 นางปิยนุช วุฒิ... ดีอีเอส ร่วม TDRI ศึกษาความพร้อมของไทย ก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม — เมื่อวัน 5 กุมภาพัน...