“ปากโป้ง” เปิดใจผู้คิดค้นโครงการตามหาเด็กหาย!!! จัดทำสติ๊กเกอร์รูปเด็กหายแปะบนรถเมล์คันแรกของประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          หลายคนที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ หรือปริมณฑลคงจะเคยเห็นรถเมล์ บางทีก็จะมีรูปดาราติดอยู่บ้าง หรือไม่ก็จะมีโฆษณาต่าง ๆ ติดอยู่บนรถเมล์บ้าง แต่ล่าสุดจะมีรถเมล์อยู่คันหนึ่ง ถ้าวิ่งบนท้องถนนจะเห็นว่า เป็นรถเมล์ที่ประกาศตามหาเด็กหาย ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2559 เวลา 11.05 น. รายการ "ปากโป้ง" ทางช่อง 8 กดหมายเลข 27 ที่มี "หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย" และ "หนิง – ปณิตา ธรรมวัฒนะ" เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้นำเรื่องราวของ "คุณป๋อง ธนกร ประภา" ผู้ที่มีความคิดอยากจะช่วยเหลือสังคม โดยการคิดค้นโครงการดีดีตามหาเด็กหายขึ้นมา ด้วยการเอารูปเด็กไปขึ้นป้ายโฆษณา และจอแอลซีดี ที่สำคัญไปกว่านั้นได้ทำเป็นสติกเกอร์รูปเด็กหายแปะบนรถเมล์คันแรกของประเทศไทย จะเป็นอย่างไรไปฟังกัน
          ทำไม คุณป๋อง ถึงมีเกณฑ์หลักความคิดในการช่วยเหลือสังคมด้วยการติดป้ายตามหาเด็กหายบนรถเมล์ครับ?
          คือเดิมทีต้องบอกว่าการตามหาเด็กหาย เราทำร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งผมเองทำกับมูลนิธินี้มา 5 ปีและ ก่อนหน้านั้นเราเอาภาพเด็กหายไปขึ้นตามจอแอลซีดีตามสี่แยก เพราด้วยแนวคิดนี้เราเชื่อว่าเด็กส่วนหนึ่งที่หายตัวไป บางทีก็หนีออกจากบ้าน บางทีก็ถูกลักพาตัว ถูกเอามาใช้แรงงาน ซึ่งจุดที่เราจะเจอเด็กพวกนี้ จุดหนึ่งน่าจะเป็นตามสี่แยก ที่เราเจอเด็กมาเช็ดกระจกรถ ไปนั่งขอทาน บางทีเราก็รู้สึกว่าเด็กพวกนี้มันมาจากไหน โดนลักพาตัวมาหรือเปล่า เราก็เลยคิดว่ามันก็เป็นการดีถ้ามีการประชาสัมพันธ์ ณ จุดที่เราจะเจอเด็ก ก็เลยเป็นที่มาที่เราเอารูปเด็กไปขึ้นบนจอ ที่นี้ก็คุยกับทางคุณเอก มูลนิธิกระจกเงา ว่าอยากจะทำอะไรต่อเนื่อง ทีนี้ทางคุณเอกเขาต้องการป้ายบิลบอร์ดสักป้ายนึง ที่ว่าจอเนี่ย มันจะเป็นการออกอากาศสลับกับสินค้าอื่น ๆ ซึ่งมันไม่ได้อยู่นิ่งตลอดเวลา เลยอยากได้สื่อสักอันหนึ่งที่มันสามารถไปได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเปลี่ยนภาพ พอมาเป็นบิลบอร์ดเนี่ย เราก็คุยกับทางคุณเอกว่ามันจะมีค่าผลิตค่อนข้างสูง ไวนิลยิ่งใหญ่มันยิ่งแพง ค่าเช่าก็แพงด้วย แต่สำหรับค่าเช่าเนี่ย บริษัทแพลนบี ฯ เขาสามารถสนับสนุนให้ได้อยู่แล้ว แต่มันก็จะมีค่าผลิต ต้องไปจ้างเขาผลิตต่ออีกที ก็เลยคุยกับคุณเอกทางมูลนิธิกระจกเงาว่าลองเปลี่ยนเป็นรถเมล์ไหม เพราะรถเมล์ค่าผลิตมันจะถูกกว่า และถ้าในแง่ของป้ายบิลบอร์ดหนึ่งอันจะได้แค่หนึ่งจุด แต่ถ้ารถเมล์หนึ่งคัน วันหนึ่งจะเฉลี่ยวิ่งอยู่ที่ 150 กิโลเมตร จากเมืองชั้นนอกเข้าชั้นใน คือจะผ่านตาคนที่พบเห็นได้มากขึ้น ก็เลยมีโปรเจ็คนี้ขึ้นมา ซึ่งตอนแรกเราคุยกันค่าผลิตคือจะแยกย้ายกันไปหาสปอนเซอร์ แต่ก็ไม่ได้เลย ก็มาเจอกับคุณเอก มูลนิธิกระจกเงา อีกทีหนึ่งเขาก็บอกว่าวันนี้เขาไประดมทุนค่าสติ๊กเกอร์นี้ผ่านในเว็บเทใจ ซึ่งเป็นเว็บที่ใครอยากจะระดมทุนช่วยเหลือสังคมต่าง ๆ ก็ไปใช้เว็บไซด์นี้ได้ ทีนี้พอผมฟังปุ๊บส่วนตัวผมเองนะมีโปรเจ็คส่วนตัวอยู่แล้วที่จะไปเล่นดนตรีเปิดหมวกหาเงินไปช่วยเหลือมูลนิธิต่าง ๆ 34 ที่ตามอายุตัวเอง ผมก็เลยบอกว่างั้นคุณเอกรบกวนทำกล่องรับบริจาคมาให้หน่อย 
          ใช้เงินในการปิดสติ๊กเกอร์เด็กรอบคันประมาณเท่าไหร่?
          9 หมื่นบาท สามด้านรอบคันนะครับ ส่วนค่าเช้าคิดเป็นเดือนอยู่ประมาณเดือนละสองสามหมื่น เฉลี่ยต่อหนึ่งคันก็ต้องใช้ประมาณแสนสองต่อหนึ่งเดือน ถ้าเจอเด็กแล้วก็ต้องเปลี่ยนใหม่อีก แต่ถ้าเดือนถัดไปยังไม่เจอมันก็จะมีแต่ค่าเช่า ก็ต้องขอบคุณขสมก.ด้วยที่มีส่วนร่วม เพราะเขาไม่คิดค่าเช่า 
          แล้วที่ต้องระดมทุน จะต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่?
          จริง ๆ ที่คิดเอาไว้ตอนนั้นระดมทุนอะแค่หนึ่งแสน คือตอนแรกหาคันเดี่ยว ซึ่ง 4 คันที่เหลือทางบรัษท์ก็ช่วยสนับสนุน ตอนนี้เราจะมีทั้งหมด 5 คัน 
          แล้วที่ระดมทุน เล่นดนตรีเปิดหมวกคือไปเล่นที่ไหน?
          จตุจักรบ้าง สยามบ้าง คือเดิมทีเขาไประดมทุนผ่านเว็บเทใจอย่างที่บอกอะ แต่ว่าได้ไม่ครบ ผมก็เลยไปเล่นดนตรี
          ทำไมโครงการดีดีถึงไม่มีใครให้สปอนเซอร์?
          ผมว่ามันเป็นอะไรที่ใหม่ เท่าที่คุย ๆ ก็เหมือนแต่ละครอาจจะไม่เข้าใจมากกว่าว่าเราทำอะไรกัน ส่วนมูลนิธิกระจกเงาต้องบอกก่อนว่าเป็นเอ็นจีโอที่เราทำกันด้วยใจ อย่างมิชชั่นตามหาคนหายของมูลนิธิกระจกเงานี่มีคนทำอยู่สองคนเอง 
          แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณป๋องทำเรื่องราวดีดีแบบนี้คืออะไร?
          ผมว่ามันมีสองส่วน คือส่วนแรกครับเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กหายเนี่ย ส่วนตัวผมเคยมีประสบการณ์ทีไปเจอเด็กพลัดหลงอยู่ที่จตุจักร ร้องไห้เสียงดังมากเลย หน้าตาเหมือนเด็กต่างชาติ ปรากฏว่าเราก็ไม่ได้เข้าไปทักว่ามันเกิดอะไรขึ้น จนมีคุณป้าคนหนึ่งเดินมาแล้วก็บอกว่าเด็กคนนี้เป็นออทิสติก เขาเป็นอย่างนี้ประจำอยู่แล้วแล้วเขาก็ดึงเด็กเดินออกไปเลย ซึ่งมันก็คาใจจนถึงทุกวันนี้ ว่าตกลงมันเป็นยังไงกันแน่ ส่วนที่มาเริ่มทำโปรเจ็คตรงนี้ก็คือผมรู้สึกว่าประเทศเราเป็นประเทศที่รอฮีโร่ และรอคนมาทำเรื่องดีดี แต่ผมมีความเชื่อว่าจริง ๆ สังคมมันจะเปลี่ยนแปลงได้เมื่อทุกคนมันต้องช่วยกันทำ ผมก็เลยรู้รู้สึกว่าผมเป็นโนบอดี้ ไม่ได้เป้นใครเลย แต่แค่รู้สึกว่าอยากทำไรสักอย่างหนึ่งก็เลยลงมือทำขึ้นมา อย่างน้อยมันก็มีผลลัพท์ที่มันเกิดขึ้น
          แล้วถ้าตอนนี้ใครที่ทำเด็กหายจะสามารถติดต่อได้ที่ไหน?
          ถ้าต้องการจะแจ้งคนหาย มูลนิธิกระจกเงาเขาจะมีศูนย์รับแจ้งคนหายอยู่ ส่วนในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ขึ้นจอเนี่ย เดี๋ยวทางมูลนิธิกระจกเงาเขาจะติดต่อผมผ่านบริษัทแพลนบี ฯ ซึ่งทางเราก็จะนำขึ้นจอให้ ปกติถ้าเป็นเคสเด็กหายแจ้งมาปุ๊บเราก็จะเอาขึ้นเลย ส่วนในเรื่องของการช่วยเหลือ ถ้าใครอยากจะช่วยเหลือเรื่องการทำสติ๊กเกอร์ติดบนรถเมล์ ก็สามารถติดต่อเข้ามาที่มูลนิธิกระจกเงา เขาก็จะได้ช่วยประสานเข้ามาให้ ซึ่งตอนนี้ก็มีรถเมล์ที่ประกาศตามหาเด็กหายจำนวน 5 คันแล้ว ซึ่งเงินส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ผมไปเล่นดนตรี และส่วนหนึ่งก็มาจากมูลนิธิกระจกเงา และก็มีบริษทแพลนบี ฯ ที่เข้ามาช่วยเหลือ และก็ขสมก.ที่ช่วยอีกแรง และรวมถึงประชาชนทั่วไปที่ทราบเรื่องและก็ช่วยกันบริจาคเข้ามา
          อยากฝากอะไรกับคนที่ติดตามชมรายการ?
          ในส่วนของเรื่องคนหาย เด็กหายนะครับ อยากให้ทุกคน ซึ่งวันนี้สื่อมันมีแล้ว ก็อยากให้ทุกคนช่วยกันสังเกตเพราะสุดท้ายการมีสื่อตรงนี้แต่ทุกคนไม่ใส่ใจกับปัญหาที่มันเกิดขึ้น ผมว่ามันก็ไม่เกิดประโยค
“ปากโป้ง” เปิดใจผู้คิดค้นโครงการตามหาเด็กหาย!!! จัดทำสติ๊กเกอร์รูปเด็กหายแปะบนรถเมล์คันแรกของประเทศไทย
 
“ปากโป้ง” เปิดใจผู้คิดค้นโครงการตามหาเด็กหาย!!! จัดทำสติ๊กเกอร์รูปเด็กหายแปะบนรถเมล์คันแรกของประเทศไทย
“ปากโป้ง” เปิดใจผู้คิดค้นโครงการตามหาเด็กหาย!!! จัดทำสติ๊กเกอร์รูปเด็กหายแปะบนรถเมล์คันแรกของประเทศไทย
“ปากโป้ง” เปิดใจผู้คิดค้นโครงการตามหาเด็กหาย!!! จัดทำสติ๊กเกอร์รูปเด็กหายแปะบนรถเมล์คันแรกของประเทศไทย

ข่าวโครงการตามหาเด็กหาย+ผู้ดำเนินรายการวันนี้

SPU มุ่งปั้นนักศึกษาพร้อมทำงานจริง ย้ำมหาวิทยาลัยยุคใหม่ "ไม่ใช่แค่ผลิตบัณฑิต แต่ต้องสร้างอนาคตให้กับบัณฑิต"

ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม และนายกสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (คอวท.) ได้รับเกียรติร่วมเสวนาในรายการ "คลังสมอง-คลังปัญญาสยาม" ภายใต้หัวข้อ "มหาวิทยาลัยที่สร้างรายได้ให้กับผู้เรียน" จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ โดยมี รศ.ดร.บวร ปภัสราทร ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติเป็นผู้ดำเนินรายการ ในการเสวนาครั้งนี้ ผศ.ดร.วิรัช เน้นว่าพันธกิจของมหาวิทยาลัยในยุคปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่การ "ผลิตบัณฑิต" แต่ต้อง "สร้างอนาคต" ให้กับผู้

ไทยพีบีเอส พร้อมต้อนรับปีใหม่ 2025 อย่างม... ไทยพีบีเอส ชวนดาวน์โหลด "Faces of Thai PBS" ปฏิทินดิจิทัลปี 2025 เติมแรงบันดาลใจให้ทุกวัน — ไทยพีบีเอส พร้อมต้อนรับปีใหม่ 2025 อย่างมีพลังและแรงบันดาลใจด้...

สมาคมศิษย์เซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ ในพระบรมรา... เปิดตัวโครงการ SF Connect สานสัมพันธ์พี่น้องเซนต์ฟรังฯ — สมาคมศิษย์เซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดย ดร.ศศมณฑ์ สงวนสิน นายกสมาคมศิษย์ฯเ ปิดตัว...

วิทยากร: อาจารย์ ช.โชติวงศ์ เพ็ชญไพศิษฏ์ผ... เรียน ONLINE- "เรียนลัดคัดหุ้นเด็ด ฉบับปรับปรุงใหม่ (CC01)" — วิทยากร: อาจารย์ ช.โชติวงศ์ เพ็ชญไพศิษฏ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กราฟเทคนิค มากกว่า 20 ปี...

ผศ.ดร. สราวุฒิ สืบแย้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่... บรรยายพิเศษ "กฎหมายแรงงานสำหรับนักศึกษาเพื่อการเตรียมเข้าสู่สถานประกอบการ" — ผศ.ดร. สราวุฒิ สืบแย้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลังและกิจการทั่วไป และ ประธานศ...

วิทยากร: อาจารย์ ช.โชติวงศ์ เพ็ชญไพศิษฏ์ผ... ห้ามพลาด! คอร์ส ONLINE- "เรียนลัดคัดหุ้นเด็ด ฉบับปรับปรุงใหม่ (CC01)" — วิทยากร: อาจารย์ ช.โชติวงศ์ เพ็ชญไพศิษฏ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กราฟเทคนิค มาก...