ปูพรมพื้นที่ อุทัยธานี แพร่ และ เชียงราย ติดตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ สศก. เผย ผลติดตามประสบผลสำเร็จ เกษตรกรมีกระบือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายละ 4 ตัว สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลกระบือเพื่อใช้เอง และสร้างรายได้จากการขายมูลกระบืออีกทางด้วย
นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ว่า ปัจจุบันกระบือไทยลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจากปัญหาการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายเร่งด่วนในการอนุรักษ์และเพิ่มผลผลิตกระบือ โดยดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ เพื่อเร่งรัดการเพิ่มจำนวนกระบือ และอนุรักษ์และปกป้องพันธุ์กระบือ
ในการนี้ สศก. ได้ติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี แพร่ และเชียงราย ระหว่างวันที่ 18-22 มกราคมที่ผ่านมา พบว่า ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งด้านการเร่งรัดการเพิ่มจำนวนกระบือ โดยได้มีการให้สินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผ่านวิสาหกิจชุมชน จำนวนแห่งละ 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 เพื่อจัดสรรให้สมาชิก จำนวน 10 ราย รายละ 100,000 บาท นำไปซื้อกระบือเลี้ยงเพิ่มขึ้น โดยผลการดำเนินงานเกินเป้าหมาย ส่งผลให้เกษตรกรมีจำนวนกระบือเพิ่มขึ้นจากก่อนมีโครงการเฉลี่ยรายละ 4 ตัว จากเป้าหมายรายละ 2 ตัว (ผลสำรวจ ตุลาคม 2558 – มกราคม 2559) เนื่องจากเกษตรกรจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมเพื่อซื้อกระบือที่กำลังตั้งท้อง ทำให้ได้ลูกกระบือเพิ่มขึ้นและยังเป็นการสร้างความมั่นใจว่าแม่กระบือที่ซื้อมาไม่เป็นหมัน
นอกจากนี้ เกษตรกรยังมีรายได้จากการขายมูลกระบือ ราคาเฉลี่ยกระสอบละ 18-25 บาท รวมทั้งได้มีการสนับสนุนพ่อพันธุ์กระบือที่ดีประจำแต่ละกลุ่ม โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์กระบือที่มีลักษณะและคุณสมบัติที่ดีให้แต่ละกลุ่มใช้เป็นพ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อ 1 กลุ่ม อาจเป็นกระบือที่อยู่ในหมู่บ้านหรือจัดซื้อจากภายนอกเพื่อป้องกันปัญหาสายเลือดใกล้ชิดกัน รวมทั้งด้านการพัฒนาพืชอาหารสัตว์ ที่ได้ส่งเสริมให้มีการจัดทำแปลงหญ้า เพื่อให้กระบือมีอาหารกินตลอดปี และด้านการอนุรักษ์และปกป้องพันธุ์กระบือ โดยการทำเครื่องหมายประจำตัวกระบือที่เข้าร่วมโครงการทุกตัว และจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อควบคุมตรวจสอบการเคลื่อนย้ายกระบือ
ด้านนางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการ และโฆษก สศก. กล่าวเสริมว่า ผลจากโครงการดังกล่าว นอกจากจะทำให้มีการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนกระบือตามโครงการแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายด้านอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นสร้างอาชีพด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกร เพราะการเลี้ยงกระบือ ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ซึ่งส่วนใหญ่ปล่อยเลี้ยงข้างบ้านและใช้น้ำปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ ในขณะที่ตลาดยังมีความต้องการกระบือเพื่อการบริโภคสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับกระบือเลี้ยงง่าย และมีระบบการย่อยหญ้าเพื่อเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโคเนื้อ
นอกจากนี้ยังทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าว เริ่มมีแนวความคิดที่จะลดพื้นที่ทำนาเพื่อเปลี่ยนเป็นแปลงหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เนื่องจากลู่ทางการตลาดที่มีแนวโน้มที่ดี ใช้แรงงานน้อย มีความมั่นคงทางอาชีพมากขึ้น ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้เกษตรกรจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเพียงร้อยละ 2 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้น เกษตรกรจึงเริ่มเห็นถึงความคุ้มค่า และยังมีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลกระบือใช้เองและจำหน่าย ซึ่งกระบือจะปล่อยมูลสดเฉลี่ย 25 กก./ตัว/วัน (อัตราแปลง มูลกระบือสด : มูลกระบือแห้ง เท่ากับ มูลกระบือสด 3 กก. ได้น้ำหนักมูลกระบือแห้ง 1 กก.) กระบือที่เข้าร่วมโครงการ 100,000 ตัว จะได้มูลกระบือแห้งเพื่อนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 260,000 ตัน/ปี
อย่างไรก็ตาม จากการที่มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้การจัดซื้อกระบือเป็นไปตามแผนที่กำหนด ซึ่งระยะเวลาค่อนข้างสั้นเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการเก็งกำไรและปรับราคากระบือเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยควรปล่อยให้โครงการดำเนินไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อในบางแห่ง ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้มีการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ให้มากขึ้น รวมทั้งการนำพื้นที่รกร้างมาส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เพิ่มด้วย
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...
พร้อมให้บริการ Big Data สศก. พัฒนาเครื่องมือเนวิเกเตอร์ภาคเกษตร เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ 909 ชุดข้อมูล จาก 91 หน่วยงาน ให้บริการผ่านเว็บไซต์
—
นายฉันทานนท...
ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ
—
หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...
TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา"
—
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...
สศก. เร่งเครื่อง ลุยแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ ระยะ 5 ปี ให้สมบูรณ์ ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนเกษตรอินทรีย์ ภายในปี 2570
—
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิ...