ไขความลับปราบไวรัส “ซิกา” ด้วยเม็ดเลือดขาว Th1 และ Th17

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ข่าวการแพร่ระบาดของโรค "ไข้ซิกา" ซึ่งขณะนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วในประเทศแถบละตินอเมริกาและแคริบเบียนรวมกว่า 20 ประเทศได้สร้างความหวั่นวิตกให้กับประชาคมโลกอีกครั้ง หลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก เพราะแม้โรคนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนว่าการแพร่ระบาดของโรคนี้อาจเป็นภัยคุกคามร้ายแรงยิ่งกว่าการแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลา ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 11,000 คนในแอฟริกา เนื่องจาก 80% ของผู้ติดเชื้อและเป็นพาหะจะไม่แสดงอาการใดๆ เด่นชัด ทำให้การติดตามหรือวินิจฉัยโรคเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่ากังวลมากที่สุด เนื่องจากอาจมีผลทำให้เด็กเกิดความพิการ สมองฝ่อ ศีรษะเล็กผิดปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้
          องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปีนี้อาจมีผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาในทวีปอเมริกามากถึง 3 – 4 ล้านคน ซึ่งจำนวนดังกล่าวนับรวมผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการป่วยเข้าไปด้วย โดยเฉพาะในบราซิลพบทารกที่มีภาวะศีรษะลีบแล้วถึงกว่า 4,000 ราย ขณะที่ในไทยแม้จะยังไม่มีการระบาดของโรค พบผู้ป่วย 2 – 5 รายในปี 55 –58 ล่าสุดปีนี้พบเพียง 1 ราย แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ประกาศให้โรคไข้ซิกาเป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้ว สะท้อนถึงความร้ายแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
          ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM นักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกผู้คิดค้นวิธีการดูแลสุขภาพแนวใหม่ด้วยการสร้างภูมิสมดุล (Balancing Immunity) กล่าวว่า ปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสซิกายังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยารักษาเฉพาะ ได้แต่รักษาตามอาการ โดยมียุงลายบ้านเป็นพาหะเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง และชิคุนกุนยา มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4 – 7 วัน อาการที่พบบ่อยคือ มีไข้ ผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง แต่ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง สามารถทุเลาลงได้ภายใน 2 – 7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
          ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสซิกาออกมา ดร.พิเชษฐ์ แนะนำว่า การสร้าง "ภูมิสมดุล" ด้วยการกระตุ้นเม็ดเลือดขาว Th1 และ Th17 ถือเป็นมิติใหม่ของการดูแลสุขภาพที่สามารถรับมือการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา รวมถึงไวรัสซิกาที่กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้
          "การกระตุ้นให้ร่างกายจดจำเชื้อโรคนั้นๆ เพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นหลักการทำงานของวัคซีนทั่วไป ซึ่งโรคแต่ละชนิดจำเป็นจะต้องใช้วัคซีนที่แตกต่างกันไป แต่การต้านทานเชื้อโรคด้วยหลักการสร้างภูมิสมดุลนั้นจะปล่อยให้กลไก "ธรรมชาติ" เข้ามาทำหน้าที่ฟื้นฟูร่างกายด้วยตัวเอง บนพื้นฐานของหลักการใช้อาหารเป็นยา"
          ดร.พิเชษฐ์ อธิบายว่า คนเรามีเม็ดเลือดขาวประมาณ 22,000 ล้าน – 55,000 ล้านเม็ด เป็นกองทัพธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์สามารถต่อกรกับโรคภัยได้ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันเสียสมดุล จนแสดงออกเป็นอาการความผิดปกติต่างๆ หากสามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงเพียงพอที่จะรับมือกับโรคได้เอง
          "การศึกษาของการแพทย์สาขาภูมิคุ้มกันวิทยาพบว่า นอกจากเม็ดเลือดขาวเพชรฆาตซึ่งมีหน้าที่หลักในการทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส แล้ว เม็ดเลือดขาวในกลุ่ม T helper cell โดยเฉพาะTh1 และ Th17 ยังเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้น โดยเม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้จะทำหน้าที่เสมือนเป็นกองทหารสื่อสาร ทันทีที่พบเชื้อโรคก็จะส่งสัญญาณเตือนกระตุ้นให้เหล่าเม็ดเลือดขาวเพชรฆาตตรงเข้าจัดการกับผู้บุกรุกทันที"
          งานศึกษากว่า 38 ปีของคณะนักวิจัย Operation BIM ได้ค้นพบนวัตกรรมสูตรสารธรรมชาติที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T helper cell ชนิด Th1 และ Th17 อย่างเห็นได้ชัด ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น โดยงานวิจัยสารธรรมชาติสูตรนี้เกิดจากการนำพืชไทย 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง บัวบก มาเสริมฤทธิ์กันและยังได้รับการพิสูจน์ผลแล้วโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          ดร.พิเชษฐ์ระบุต่อว่า อย่างไรก็ตามวิธีป้องกันไวรัสซิกาที่ดีที่สุดคือ ทุกคนต้องร่วมมือกันกำจัดต้นตอของแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะของหลายโรค ควบคู่ไปกับการสวมเสื้อผ้ามิดชิด รู้จักทายากันยุงป้องกันมิให้ยุงกัด และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค ที่สำคัญที่สุดควรหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองอย่างจริงจัง ทานอาหารมีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำจิตใจให้แจ่มใส เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงอยู่เสมอ





ไขความลับปราบไวรัส “ซิกา” ด้วยเม็ดเลือดขาว Th1 และ Th17 ไขความลับปราบไวรัส “ซิกา” ด้วยเม็ดเลือดขาว Th1 และ Th17

ข่าวองค์การอนามัยโลก+องค์การอนามัยโลวันนี้

GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (ส... งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย — สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...