ชูผลการดำเนินงาน ศพก. เกษตรกรต้นแบบมีความพร้อม เกษตรกรขอใช้บริการเฉลี่ย 667 คน/ศูนย์/ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผลติดตามการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ มีเกษตรกรเข้าใช้บริการเฉลี่ย 667 คน/ศูนย์/ปี เผย เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เห็นว่า เกษตรกรต้นแบบเป็นผู้มีความพร้อมที่จะเป็นแบบอย่างให้แก่เกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรได้จริง ระบุ เกษตรกรต้นแบบทุกราย พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่นของตนอย่างเต็มที่
          นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในระดับชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ ให้ได้เรียนรู้จากผู้ร่วมอาชีพเดียวกันที่ประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือและเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและชุมชน จำนวน 882 ศูนย์ กระจายอยู่ในทุกอำเภอทั่วประเทศ (อำเภอละ 1 ศูนย์) โดยมีแนวทางการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการงานร่วมกัน ระหว่างเกษตรกรต้นแบบเจ้าของพื้นที่ศูนย์ฯ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น พัฒนาพื้นที่ของเกษตรกรต้นแบบให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่และตอบสนองความต้องการของเกษตรกรที่จะเข้ามาใช้บริการทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้ การสนับสนุนข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร และการจัดทำฐานเรียนรู้/แปลงเรียนรู้ เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นของจริงสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนได้
          ในการนี้ สศก. ได้สำรวจข้อมูลจากเกษตรกรต้นแบบ (27 ราย) และเกษตรกรตัวอย่างทั่วไป (521ราย) ระหว่างกรกฏาคม - สิงหาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ตาก อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร สุรินทร์ และศรีสะเกษ พบว่า สถานที่ใช้เพื่อดำเนินการ ศพก. มีพื้นที่เฉลี่ย 9.47 ไร่ แบ่งออกเป็น 2ส่วน ได้แก่ พื้นที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ และ พื้นที่ฐานเรียนรู้/แปลงเรียนรู้ เกษตรกรต้นแบบเจ้าของพื้นที่ ศพก. ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้นำกลุ่มในท้องถิ่นอยู่ก่อน ซึ่ง ศพก. ร้อยละ 83 ได้รับการประสานงาน/สนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อการพัฒนาและจัดทำฐานเรียนรู้เพิ่มเติมจากเดิมที่เกษตรกรต้นแบบมีอยู่ก่อนแล้ว
          การให้บริการของ ศพก. แก่เกษตรกรทั่วไป พบว่า นอกจากจะใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมเกษตรกรตามโครงการอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 และจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม 2559 จำนวน 250 คน/ศูนย์ ที่ผ่านมาแล้ว ยังมีเกษตรกรทั่วไปเข้ามาขอใช้บริการด้านข้อมูล ความรู้ต่างๆ รวมถึงการศึกษาดูงานจากเกษตรกรต้นแบบ และร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เฉลี่ย 417 คน/ศูนย์/ปี
          จากการสำรวจเกษตรกรตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 97 รู้จักและเคยเข้ามาใช้บริการ ศพก. โดยกิจกรรมที่ขอรับบริการมากที่สุด คือ การฝึกอบรม (ร้อยละ 38) รองลงมา เป็นการศึกษาดูงานในฐานเรียนรู้ (ร้อยละ 21) การขอคำแนะนำความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆ (ร้อยละ 20) และเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเริ่มต้นฤดูเพาะปลูก (ร้อยละ 17) ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า เกษตรกรที่เข้ามาใช้บริการ ร้อยละ 87 ได้นำความรู้/ข้อมูลที่ได้รับนำกลับไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นความรู้ด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยแนวทางแบบธรรมชาติ เช่น การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี การใช้ปุ๋ยพืชสด รองลงมาเป็นความรู้ด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น การผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้ตัวห้ำตัวเบียน และความรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ เกษตรกร ร้อยละ 58 เริ่มเห็นผลจากการใช้ความรู้ดังกล่าว โดยสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ลงได้ เฉลี่ย 324.23 บาท/ไร่
          ทั้งนี้ ความคิดเห็นของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เห็นว่า เกษตรกรต้นแบบเป็นผู้มีความพร้อมที่จะเป็นแบบอย่างและเป็นที่พึ่งให้แก่เกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม เกษตรกร ร้อยละ 55 ต้องการให้ปรับปรุงสถานที่ ศพก. เนื่องจากหลายแห่งยังมีความพร้อมไม่เพียงพอที่จะรองรับการจัดอบรม โดยเฉพาะศาลาเอนกประสงค์ที่ใช้เป็นสถานที่นั่งรับฟังการบรรยายมีสภาพคับแคบและไม่มั่นคง ห้องสุขาที่มีไม่เพียงพอ ฐานเรียนรู้ที่ยังไม่หลากหลาย ดังนั้น ควรจัดทำฐานเรียนรู้เพิ่มเติมให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปรับปรุงฐานเรียนรู้ที่มีอยู่เดิมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้เป็นจุดศึกษาดูงานได้ตลอดเวลา


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...