การขูดหินปูน...ใครว่าไม่สำคัญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เป็นการขจัดคราบจุลินทรีย์ และคราบหินน้ำลายที่เกาะบนผิวฟัน เพื่อกำจัดการสะสมของเชื้อโรคสะสมในช่องปากส่งเสริมสุขภาพของเนื้อเยื่อปริทันต์ ลดการอักเสบของเหงือกและลดกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้เพิ่มความมั่นใจและเพิ่มความเชื่อมั่นในบุคลิกภาพอาการที่แสดงที่ถึงเวลามาพบทันตแพทย์เพื่อมาขูดหินปูน คือพบคราบหินน้ำลายสะสมบริเวณฟันหน้าด้านลิ้นหรือ มีลมหายใจที่ไม่พึงประสงค์
          ในขั้นตอนการขูดหินปูนจะมีเสียงดังของเครื่องมือและมีละอองน้ำพ่นออกมาเยอะ น้ำที่ออกมาเยอะจะช่วยลดความร้อนจากตัวเครื่อง ช่วยชำระคราบบนผิวฟัน แต่อย่างไรก็ตามก็มี ผู้ช่วยคอยทำการดูดน้ำในช่องปาก
          แต่ถ้าสภาพช่องปากของผู้ป่วยมีคราบหินปูนในปริมาณเยอะมาก ซึ่งอาจเป็นภาวะของโรคปริทันต์อักเสบ การขูดหินปูนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เหมาะสม ควรทำการปรึกษาทันตแทพย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านปริทันต์ (Periodontist) เพื่อทำการเกลารากฟันบริเวณที่มีคราบหินปูนในตำแหน่งที่ลึกมากของร่องปริทันต์และทำการรักษาอย่างเหมาะสม

          ขั้นตอนการขูดหินปูน
          ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขูดหินปูนที่ผ่านการฆ่าเชื้อปราศจากเชื้อซึ่งจะให้แรงสั้นสะเทือนไปกระเทาะคราบหินปูน และคราบรอยเลอะออกจากผิวฟัน ทุกซอกรวมถึงบริเวณใต้เหงือก อีกทั้งยังมีการพ่นน้ำจากหัวของเครื่องมือเพื่อทำความสะอาด อาจมีอาการเสียวบ้างระหว่างขูด หากรู้สึกกลัวหรืออยากพัก แจ้งทันตแพทย์ได้ครับหลังจากขุดหินปูนแล้ว ทันตแพทย์ใช้เครื่องมือเกลารากฟันกำจัดหินปูนที่อยู่บริเวณด้านประชิด และทำการขัดด้วยผงขัดฟันซึ่งจะกำจัดพวกคราบจุลินทรีย์ที่เกาะแน่นบนผิวฟันออกเพื่อลดการเกาะของคราบที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ ก่อให้เกิดสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

          การดูแลหลังการขูดหินปูน
          แต่อย่างไรก็ตามถึงไม่มีอาการในช่องปากดังที่กล่าวไว้ ก็ควรมาพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี (ทุก 6 เดือน) และปฎิบัติตามหัวข้อขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปาก

          ความสำคัญต่อการตรวจเช็คสุขภาพทุก 6 เดือน
          นอกจากต้องมาพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 3-6 เดือนเพื่อทำการขูดหินปูนแล้ว ควรมาตรวจว่ามีปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นใหม่หรือไม่ สังเกตุพฤติกรรมการทำความสะอาดและ ดูแลสภาพช่องปาก มีฟันผุเพิ่มขึ้นไหม เพื่อทำการรักษาได้ทันก่อนรอยโรคลุกลามถึงขั้นรุนแรง เนื่องจากปัญหาดังกล่าวอาจเรื้อรังถ้าไม่ได้มาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ซึ่งปัญหาอาจรุนแรง เกินเยี่ยวยาได้ ทำให้ควรมาพบทันตแพทย์ เพื่อที่จะได้ทำการตรวจวินิจฉัยและแก้ปัญหาได้ทัน เช่น จากการมีฟันผุธรรมดาที่สามารถอุดได้ในช่วงแรก ถ้าละเลยการตรวจฟันรอยผุซี่นั้นอาจลุกลาม ไปถึงโพรงประสาทฟันทำให้การอุดเพียงอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ต้องทำการรักษารากและครอบ ซึ่งเป็นการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
          อีกทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพช่องปากหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ป่วยประสบการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ซึ่งตัวผู้ป่วยเองไม่ควรมีทัศนคติที่ต้องพึ่งทันตแพทย์ในการดูแลสุขภาพช่องปากเพียงอย่างเดียว การที่สภาวะช่องปากจะดีหรือแย่นั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองเป็นหลัก 

          ขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟัน
          1. ควรทำการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละสองครั้งต่อวัน (ดีที่สุดคือหลังมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น) 
          2. ใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดซอกฟันเนื่องจากบางตำแหน่งยังมีบางบริเวณที่แปรงไม่สามารถทำความสะอาดลงไปถึงได้ 
          3. อาจอุปกรณ์เสริมเพิ่มในบางกรณีเช่น แปรงซอกฟัน 
          4. ใช้ยาสีฟันที่มีฟูลออไรด์ 
          5. หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทอาหารที่รับประทาน ได้แก่ อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูงเพราะจะทำให้เกิดรอยโรคฟันผุ 
          6. อาหารรสเปรี้ยวอาจทำให้ฟันกร่อนสึกเกิดอาการเสียวฟันได้ 
          สามารถสอบถามวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มได้จากทันตแพทย์ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน 02-271-7000 ต่อ 10493-94 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ขูดหินปูนในราคา 690 บาทได้ที่ http://www.paolohospital.com/home/register-dental/
การขูดหินปูน...ใครว่าไม่สำคัญ
การขูดหินปูน...ใครว่าไม่สำคัญ
 

ข่าวจุลินทรีย์+ขูดหินปูนวันนี้

ทำไมต้องขูดหินปูน & ขูดหินปูนเจ็บไหม?

คราบหินปูน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียรวมตัวกับโปรตีนหรือเศษอาหาร กลายเป็นแผ่นจุลินทรีย์เกาะตามฟันและช่องเหงือก เมื่อทับถมกันจะมีลักษณะเป็นคราบหินปูนและเกาะแน่นที่ฟัน ซึ่งคราบหินปูนเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟัน ต้องกำจัดออกด้วยเครื่องมือทางทันตกรรมเท่านั้น หลายคนกลัวการขูดหินปูน เพราะกลัวเจ็บ กลัวเปลืองเงิน แต่ถ้าเราไม่กำจัดคราบหินปูนออกจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในช่องปากตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคปริทันต์ โรคเหงือกหรือโรคฟันผุ ที่อาจลุกลามจนต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งไปเลย ข้อดีของการขูดหินปูน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็น... วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ — โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนา... "หน้าร้อน" อาหารบูดง่าย กรมอนามัยแนะ หลัก "5 ถูก" อาหารปลอดภัย ไม่เสี่ยงโรค — แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในฤดูร้อนอุณหภูมิโดยทั...

Novonesis ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมชีวภาพ... ก้าวใหม่! Novonesis ร่วมกับรัฐบาลไทย-เดนมาร์ก พัฒนาอุตสาหกรรมโคนม ด้วยนวัตกรรมชีวภาพ — Novonesis ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมชีวภาพ (Bio Solutions) ได้ประกาศ...

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแ... THANARA นวัตกรรมความงามผสานไมโครไบโอมฟื้นฟูสุขภาพผิวด้วย 4P-Biotics สูตรเฉพาะจากออล-ดีเอ็นเอ — อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมแ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. และ กองทัพเรือ โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมวิจัยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง หนุนนโยบาย Green Navy ด้วยนวัตกรรมสะอาด — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...

นักวิจัยจากนาโนเทค สวทช. พัฒนาเครื่องย่อย... สวทช. เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็น "ปุ๋ยหมักชีวภาพ" ลด CO2 นำร่องสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ — นักวิจัยจากนาโนเทค สวทช. พัฒนาเครื่องย่อยระบบถังคู่ (BioComposter) พร้อมใบ...

สำนักงานเขตบึงกุ่มจับมือบริษัท พิโก อไลฟ์... สำนักงานเขตบึงกุ่มผนึกกำลังพิโก อไลฟ์ เปิดโครงการ "บำบัดน้ำเสีย…เปลี่ยนสู่น้ำใส" นำร่องแก้ปัญหาน้ำเสียเพื่อชุมชนยั่งยืน — สำนักงานเขตบึงกุ่มจับมือบริษัท พ...

"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศ... วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน. — "ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซ...