10 ปี ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เปิดโครงการ “ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย” ชวนพ่อแม่เสี่ยงโรคพันธุกรรมร่วมคัดกรองก่อนตั้งครรภ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ปัจจุบันโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกมีมากกว่า 1,000 ชนิด ที่เราคุ้นหูกันดีคือ โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งในประเทศไทยเราพบว่า ในคนไทย 10 คน จะมีผู้ที่เป็นพาหะมากถึง 4 คน แม้คนในครอบครัวจะไม่เคยมีประวัติธาลัสซีเมียมาก่อน เด็กแรกเกิดที่เป็นโรคนี้มีมากถึง 12 คนต่อเด็กแรกเกิด 1,000 คน หรือประมาณ 10,000 รายต่อปี นั่นหมายถึงเด็กที่เป็นโรคนี้ นอกจากจะต้องทรมานจากอาการของโรคแล้ว เด็กจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการถ่ายเลือดตลอดทั้งชีวิต และนอกจากโรคธาลัสซีเมียแล้วยังมีอีกหลายโรคทางพันธุกรรมที่คนไทยไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก อาทิ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA, โรคท้าวแสนปม ฯลฯ
          จึงเป็นที่มาของโครงการ "ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย" โดย ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีผลสำเร็จด้านอัตราการตั้งครรภ์ในระดับสากลและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ด้วยเล็งเห็นว่า "การป้องกันก่อนการเกิด มีค่ามหาศาลกว่าการแก้ไข" โครงการนี้เกิดขึ้นด้วยเพราะเจตนารมณ์ของศูนย์ฯ ที่มีความประสงค์จะลดการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก หรือหากผู้ที่มีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียก็สามารถมาปรึกษาเพื่อวางแผนการรักษาได้ด้วยเช่นกัน
          นายพรมสันต์ จิตรนาศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร เปิดเผยว่า โครงการ "ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย" เป็นโครงการต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 10 แล้ว ที่ศูนย์ฯ อยากช่วยเหลือสังคมซึ่งสิ่งที่เราทำได้คือ การให้ชีวิตและการเปลี่ยนชีวิตที่ทรมาน ให้กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กปกติ โครงการดังกล่าว เป็นการช่วยลดความเสี่ยงการมีบุตรไม่ให้เป็นโรคทางพันธุกรรม เพื่อให้เด็กที่เกิดมาปลอดโรค โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีคุณสมบัติที่ตรงกับหลักเกณฑ์การพิจารณาของทางศูนย์ และเมื่อเราได้คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว เราจะใช้เทคโนโลยีของศูนย์ฯ มาช่วยเหลือ วิเคราะห์ วินิจฉัย โดยการประสานงานทั้งทางทีมแพทย์ และทีมนักวิทยาศาสตร์
          "โดยปกติแต่ละปี ทางศูนย์ฯ จะจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อช่วยเหลือคู่สมรสที่มีปัญหาเรื่องโรคพันธุกรรมอยู่แล้ว แต่จะคัดกรองแค่โรคธาลัสซีเมียเท่านั้น แต่เนื่องจากปีนี้เป็นปีพิเศษที่ศูนย์ฯ ครบรอบ 10 ปีเลยเปิดโอกาสเพิ่มขึ้นให้กับผู้ที่มีปัญหาโรคพันธุกรรมอื่นๆ ด้วย รวมทั้งสิ้น 4 โรค คือ 1.โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงSMA 2.ภาวะแท้งคุกคาม 3.โรคท้าวแสนปม และ 4.โรคธาลัสซีเมีย โดยโรคธาลัสซีเมียนี้ ทางศูนย์ฯ มีทั้งแบบคัดกรองก่อนการตั้งครรภ์ และแบบการวางแผนเพื่อช่วยเหลือสำหรับเด็กที่เกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมียแล้ว แต่อยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสม ก็สามารถมาติดต่อเข้าร่วมโครงการนี้ได้" นายพรมสันต์ กล่าว
          ทางด้าน ดร.เกษร เตียวศิริ ผู้จัดการห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า โดยปกติแล้วพ่อแม่ที่เป็นพาหะหรือโรคทางพันธุกรรมจะมีการถ่ายทอดโรคไปสู่ลูก ซึ่งมีมากมายหลากหลายชนิด หรือคุณแม่บางรายมักเจอปัญหาการแท้งซ้ำซาก ดังนั้นการวางแผนการมีบุตรจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันของศูนย์ฯ ทำให้สามารถที่จะตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนจากผลการตรวจอย่างละเอียดในระดับยีนและโครโมโซม เพื่อคัดตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมผิดปกติออกไป ก่อนจะย้ายตัวอ่อนที่สมบูรณ์กลับสู่ครรภ์มารดา หรือแม้แต่ในกรณีที่หากพ่อแม่เป็นพาหะแล้วทำให้เด็กที่เกิดมาต้องเป็นโรคธาลัสซีเมีย ที่ศูนย์ฯ ก็สามารถช่วยผู้ป่วยเด็กให้มีโอกาสหายได้ด้วยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ที่มีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้มารักษา ด้วยการคัดกรองตัวอ่อนและจับคู่เนื้อเยื่อที่ตรงกัน (HLA-Matching) เพื่อให้แม่ให้กำเนิดบุตรอีกหนึ่งคน แล้วนำเซลล์ต้นกำเนิดจากบุตรคนน้องนำไปปลูกถ่ายรักษาบุตรคนพี่ได้ เพราะเด็กที่เกิดมาได้ผ่านกระบวนการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย และผ่านกระบวนการตรวจความเข้ากันของเนื้อเยื่อมาแล้ว โครงการ "ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย" จึงถือเป็นโครงการช่วยเหลือสังคมเพื่อช่วยลดปัญหา และลดภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคทางพันธุกรรมได้เป็นอย่างมาก
          "โครงการ "ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย" ถือเป็นโครงการต้นแบบที่ดี ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง เป็นการหยุดการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมไม่ให้ไปสู่ลูกที่จะเกิดมา ซึ่งความจริงแล้วอยากแนะนำคุณพ่อคุณแม่ที่คิดอยากมีลูกทุกคนว่า ไม่จำเป็นต้องมีโรคถ้ารู้สึกว่าตนเองมีบุตรยาก ก็สามารถเข้ามาปรึกษาที่ศูนย์ฯ ได้ เพราะอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พบว่า แม้จะไม่มีโรคก็อาจจะมีภาวะอื่นแทรกซ้อนอยู่ เช่น ภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้เป็นแม่มักไม่เคยทราบมาก่อน ดังนั้นการเข้ามารับคำปรึกษาจึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ต่อไป" ดร.เกษร กล่าวปิดท้าย
          สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ "ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย" สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร 081 622 6444 หรือส่งรายละเอียดมาที่อีเมลล์ [email protected]

10 ปี ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เปิดโครงการ “ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย” ชวนพ่อแม่เสี่ยงโรคพันธุกรรมร่วมคัดกรองก่อนตั้งครรภ์

ข่าวโรคธาลัสซีเมีย+ธาลัสซีเมียวันนี้

ความตระหนักรู้ ความเข้าถึงได้ และความสามารถในการจ่าย เป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจหาโรคธาลัสซีเมียตั้งแต่เนิ่น ๆ

- ดร.จื่อหยู เผิง รองผู้จัดการทั่วไปของบีจีไอ จีโนมิกส์ ประธานมูลนิธิโรคฮีโมโกลบินผิดปกติสากล และดร.แอนดรูลา เอเลฟเทริอู กรรมการบริหารของทีไอเอฟ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อค้นพบจากรายงานภาวะความตระหนักรู้ของโรคธาลัสซีเมียทั่วโลกในปี 2566 ธาลัสซีเมียเป็นภาวะฮีโมโกลบินผิดปกติทางพันธุกรรม พบใน 4.4 คน จากทุก ๆ 10,000 คน และพบบ่อยในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนตอนใต้ การตรวจคัดกรองและการวินิจฉัยก่อนคลอด (antenatal diagnosis) ช่วยลดการเกิดของ

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพ... ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย — สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...

โลหิตจาง คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเล... คุณเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ?“เช็คตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลโรคธาลัสซีเมีย” — โลหิตจาง คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ โดยอาการของโรคโลหิตจ...