สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหายการต่อสู้สู่หนทางรอดแห่งมวลมนุษยชาติที่ลำพังประเทศใดประเทศหนึ่งไม่อาจเอาชนะได้
อาจารย์ ดร. นายแพทย์กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงการรวมพลังต่อสู้โรคธาลัสซีเมียในกลุ่มประเทศที่มีอุบัติการณ์สูงอย่างเช่นในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนย้ายประชากรเพิ่มขึ้น
จำเป็นต้องเตรียมแผนร่วมสร้างฐานข้อมูลเพื่อรับมือกับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ที่แตกต่างหลากหลายกันไปในแต่ละพื้นที่โดยเร่งด่วนด้วยความรู้เท่าทันอยู่ตลอดเวลา จึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย แห่งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการวินิจฉัยเพื่อขยายผลสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียต่อไป
ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีพัฒนาการในด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียในระดับโมเลกุลตั้งแต่เมื่อกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา
แต่เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียของสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่าประเทศไทยยังคงต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาสู่เทคนิคขั้นสูงให้มีความหลากหลายมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Next Generation Sequencing - NGS และ Multicolor Melting Curve Analysis จากการนำสารพันธุกรรม (DNA) มาตรวจเพื่อเพิ่มโอกาสในการศึกษาข้อมูลกลายพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย
แม้ผู้ที่มียีนแฝงหรือเป็นพาหะโรคธาลัสซีเมียจะไม่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ แต่อาจถ่ายทอดความผิดปกติสู่ลูกหลานได้ ซึ่งในเชิงนโยบายการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยเพื่อการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย พบว่าประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีข้อกำหนดในกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
โดยประเทศไทยกำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายเข้ารับการตรวจและประเมินความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียก่อนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดให้มีการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยเพื่อการควบคุมโรคธาลัสซีเมียตั้งแต่จดทะเบียนสมรส
คาดว่าจากความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตลอดจนจะเป็นการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียที่แตกต่างร่วมกันได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
วันที่ 24 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ "วันสัตว์ทดลองโลก" (World Day for Laboratory Animals) ซึ่งก่อตั้งโดย National Anti-Vivisection Society แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นองค์กรที่รณรงค์ต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองระดับโลก อาจารย์ ดร. นายแพทย์กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยากรผู้บรรยายหัวข้อ "จริยธรรมการวิจัยในยุคประเทศไทย 4.0" Section 2 : ด้านการวิจัยในสัตว์ทดลอง จุลชีพ และพืช ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "
งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell"
—
ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ...
ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน
—
โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...
ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ
—
เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...
คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้สนใจ เข้าร่วมเสวนาเชิงวิชาการ Mahidol AI Talk#2
—
คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญ...
ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA"
—
กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...
ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรม "น้ำยาทำละลายโปรตีนโปรลามีนส์" ใช้ทดสอบเพื่อหาข้อบ่งชี้โรคภูมิแพ้กลูเตนในแป้งข้าวสาลี
—
ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้พบมากขึ้นทั่...
ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก
—
ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...