สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับชาวบ้านทุ่งยอ ตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จัดทำ"โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน" ชวนเกษตรกรในพื้นที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตร ลด ละเลิก การใช้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค
ประสิทธิ์ ดำนุ้ย แกนนำกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กล่าวว่าชาวบ้านทุ่งบอส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรทำสวนทุเรียน ปลูกปาล์มน้ำมัน และทำนา เกษตรกรยังมีการใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ย และยาฆ่าแมลง เพราะมุ่งเน้นการผลิตให้ได้ในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อนำไปจำหน่ายให้ได้ราคาดีหรือมีรายได้มากขึ้น จึงไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภคปลายทาง
"เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหมู่บ้าน ทุกคนทำเกษตรก็ต้องการเห็นผลเร็ว อยากมีของไปขายเยอะๆ ก็ใช้ยา ใช้สารเคมี ผมจึงมารณรงค์เรื่องนี้ โดยเริ่มที่ตัวเองก่อน เพราะชอบปลูกผักอยู่แล้ว และยังไม่เห็นใครที่จะจริงจังในเรื่องนี้ ทางหน่วยงานราชการก็พยายามเข้ามาทำแต่ก็ไม่สำเร็จ ผมเลยมาคิดถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีใคร ก็พยายามต่อสู้เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง จึงได้รวมตัวกันกลุ่มเล็กๆ 40 ครัวเรือน ในการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรโดยลดละเลิกการใช้สารเคมี เพราะทำให้มีสารพิษตกค้างในร่างกาย และยังทำให้บ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะได้รับสารพิษตกค้างไปด้วย" ประสิทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ยังมีการเชิญวิทยากรที่มีความรู้มาอบรมแก่เกษตรกร เช่น การเพาะเห็ด การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมัก การแจกพันธุ์พืช และการตรวจเลือดหาสารตกค้างในร่างกาย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาประมาณเห็นความก้าวหน้าไปเป็นอย่างมี มีผู้สนใจปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือนมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ปลูกกินกันในครอบครัวก่อนถ้าเหลือแล้วค่อยเอาไปขาย
วันนี้ชุมชนบ้านทุ่งยอกำลังปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการดำรงชีวิตเพื่อร่วมกันสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้นกับชุมชนแห่งนี้ โดยการเพิ่มจำนวนของสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดภัยที่ขยายตัวและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวมเร็วกว่าเป้าหมายที่คาดเอาไว้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่จะสานพลังความร่วมมือของชาวบ้านทุกยอทุกคนเพื่อร่วมกันก้าวไปสู่การทำให้ทุกคนในชุมชนและผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน.
บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายเมล็ด และกล้าปาล์ม ซีพีไอ ไฮบริด ได้จัดอบรม และให้ความรู้แก่ตัวแทนคณาจารย์ และนักเรียน ที่รับผิดชอบ โครงการ "ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ประจำปี 2559" โดยจัดขึ้นที่จังหวัดชุมพร ในปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 22 โรงเรียน และกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปี 2555 ทยอยให้ผลผลิต และมีรายได้เข้าสู่โรงเรียนแล้ว สำหรับโรงเรียนที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการปี 2560 สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ nutthawut.k@cpi-th
ภาพข่าว: เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ
—
บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ในเครือบริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับบุ...
GGC ผนึก GIZ ประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน
—
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (...
มนัญญา สั่ง กรมวิชาการเกษตรเร่งผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเป้าล้านเมล็ดป้อนเกษตรกร ปลื้มพันธุ์สุราษฎร์ธานีสร้างรายได้พุ่งสูงสุดกว่า 2 หมื่นบาท/ไร่/ปี
—
นายภัสชญภณ ...
การรับรองมาตรฐาน RSPO เติบโตขึ้นจากสามประเทศในปี 2551 เป็น 21 ประเทศในปี 2564 คิดเป็น 4.5 ล้านเฮกตาร์ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืน
—
แผนภูมิรายงานผล...
มัดรวมเทคโนโลยีผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพส่งต่อเกษตรกรเมืองร้อยเกาะ ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่มจากเดิมกว่า 2 เท่า
—
กรมวิชาการเกษตร รวมชุดเทคโนโลยีผลิตปาล์มน้ำมันคุณภ...
EA คว้า 4 รางวัลด้านพลังงาน จากเวทีระดับอาเซียน และระดับประเทศ
—
บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานของไทย คว้า 4 รางวัล ได้แ...
ระวังหนอนหน้าแมวปาล์มน้ำมัน
—
ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เฝ้าระวังหนอนหน้าแมวระบาด...
เฝ้าระวังโรคใบไหม้ปาล์มน้ำมัน
—
ระยะนี้จะมีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ภาคใต้เฝ้าระวังการระบาดของ...