GGC และ ไทยคม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ศึกษาแนวทางการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เพื่อตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มและประเมินการกักเก็บคาร์บอน

GGC และ ไทยคม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ศึกษาแนวทางการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • GGC ร่วมมือกับ ไทยคม ศึกษาแนวทางการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มและประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน เก็บข้อมูลและวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  • การร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทยให้สอดคล้องกับกฎหมาย European Union Deforestation Regulation (EUDR)

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ "GGC" ร่วมกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ "ไทยคม" ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อศึกษาแนวทางการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มและประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ ร่วมพัฒนาการเก็บข้อมูลพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนจากการปลูกปาล์มน้ำมัน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ไทยคมมีบทบาทในการนำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีอวกาศ "CarbonWatch" มาใช้ต่อยอดและพัฒนาในการตรวจสอบและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในสวนปาล์ม โดยมี GGC เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลสนับสนุนและติดตามพื้นที่ต่างๆ ในการทำคาร์บอนเครดิต โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำที่ผลิตมาจากปาล์มน้ำมัน และพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทยโดยการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเป็นระบบและเป็นไปตามมาตรฐานสากล GGC และ ไทยคม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ศึกษาแนวทางการนำระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง GGC และ ไทยคม ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยความยั่งยืนถือเป็นบริบทใหม่ที่ท้าทายใหม่ของประเทศไทยและเป็นบริบทของโลกที่มีความสำคัญ ซึ่งไม่ได้เป็นหน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการบูรณาการร่วมกันโดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา GGC ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยหลักความยั่งยืนพร้อมสร้างสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สังคม ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ Environment Social Governance (ESG) มีการบริหารจัดการความยั่งยืนที่เข้มแข็ง โดยได้รับการรับรองการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เช่น CDP Climate ระดับ B และ S&P Global Yearbook Member โดยได้คะแนนอยู่ในลำดับที่ 4 ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ตอกย้ำการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในระดับสากล ตามวิสัยทัศน์ "TO BE A LEADING GREEN CHEMICAL COMPANY BY CREATING SUSTAINABLE VALUE" หรือ "เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน"

คุณปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยคม เปิดเผยว่า "การร่วมมือกันในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้นำบริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ หรือ Space Tech ด้วยแพลตฟอร์ม 'CarbonWatch' มาประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่สวนปาล์ม หลังจากในปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มดังกล่าวประสบความสำเร็จในการได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ให้เป็นเครื่องมือประเมินการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมรายแรกของประเทศไทย ดังนั้น เป้าหมายของการร่วมมือกับ GGC จึงไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่เกษตรกรไทยและผู้ประกอบการปาล์มน้ำมันให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ตามมาตรฐานสากลเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความยั่งยืนและขับเคลื่อนให้เกิดเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในประเทศอีกด้วย"

"แพลตฟอร์ม CarbonWatch นับเป็นการตอกย้ำความสำเร็จในการเป็นผู้นำด้าน Space Tech เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะนอกจากเราจะให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงแล้ว ยังมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG ให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายอีกด้วย เช่นเดียวกับ การผนึกกำลังกับ GGC ในครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เราจะได้ยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มของไทยให้ยั่งยืนด้วยบริการด้าน Space Tech ของไทยคม และช่วยขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคการเกษตรในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ได้ต่อไป"


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันวันนี้

วว. มอบเครื่องคัดแยกขวดพลาสติกและกระป๋อง สนับสนุน/ผลักดันนโยบายขับเคลื่อนการจัดการของเสียเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ

ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.เรวดี อนุวัฒนา รักษาการ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ (ศนว.) และทีมวิจัย ศนว. ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (ศนย.) ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดธนาคารขยะเทศบาลเมืองสระบุรี โดยมี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียน

ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาว... มทร.กรุงเทพ หนุนผลิตละครแนวตั้ง ดัน Soft Power ไทยสู่สากล — ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเท...

ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยแล... วว. ร่วมเป็นเกียรติในการประชุมวิชาการนานาชาติ "Green Asia and Sustainability Forum" พร้อมโชว์ภารกิจ วทน. — ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. เยือนจีนมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิจัยพัฒนาสู่ระดับนานาชาติ — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ...

(14 พฤษภาคม 2568) ณ โถงแถลงข่าว ชั้น Grou... ENTEC สวทช. โชว์พลังวิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบนิเวศพลังงานไทยที่ยั่งยืน — (14 พฤษภาคม 2568) ณ โถงแถลงข่าว ชั้น Ground อาคารวิจัยโยธี สวทช. ถนนพระราม ...

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew) เป็นหนึ่งในถั... วว. พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมธัญพืชเสริมน้ำผลมะม่วงหิมพานต์ — เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew) เป็นหนึ่งในถั่วที่มีเส้นใยอาหาร อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุม...

เยาวชนไทยพิชิตชัย 1 เหรียญทอง 6 เหรียญทองแดง 1 เกียรติคุณประกาศ ฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย จากซาอุดีอาระเบีย

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เปิดเผยว่าตามที่ได้จัดส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอ...