ตามติดผลธนาคารหม่อนไหม ช่วยเกษตรกรสร้างรายได้ มีเส้นไหมผลิตตลอดปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามโครงการธนาคารปัจจัยการผลิตด้านหม่อนไหม ปี 2560 เผย เกษตรกรในชุมชนตอบรับเป็นอย่างดี ช่วยให้เกษตรกรมีเส้นไหมใช้ในการผลิตผ้าไหมได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่ไม่มีใบหม่อนเลี้ยงไหม โดยนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างรายได้เสริมอีกทาง
          นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการติดตามการดำเนินงานโครงการธนาคารปัจจัยการผลิตด้านหม่อนไหม (เส้นไหม) ปี 2560 พบว่า ขณะนี้ธนาคารได้รับการสนับสนุนเส้นไหมไปแล้วจำนวน 416 กก. และเกษตรกรมีการยืมเส้นไหมจากธนาคารไปบ้างแล้ว โดยเกษตรกรมีต้นทุนในการทอผ้า เฉลี่ยเมตรละ 500 - 1,200 บาท ขึ้นอยู่กับลายผ้า (ไม่รวมค่าแรงในการทอ) และเกษตรกรสามารถจำหน่ายได้ในราคาเมตรละ 1,500 – 1,800 บาท
          สำหรับภาพรวม เกษตรกรพึงพอใจต่อนโยบายการสนับสนุนให้มีธนาคารในชุมชนในระดับมาก เนื่องจากช่วยให้เกษตรกรมีเส้นไหมใช้ในการผลิตผ้าไหมได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่ไม่มีใบหม่อนเลี้ยงไหม และเส้นไหมมีราคาสูง ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตผ้าไหมหรือนำผ้าที่ทอได้มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากขึ้น ทำให้มีรายได้เสริมให้กับครอบครัว มากขึ้นด้วย
          ทั้งนี้ ธนาคารปัจจัยการผลิตด้านหม่อนไหม ปี 2560 ดำเนินการจัดตั้งขึ้น 6 แห่ง ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร นครพนม อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม และชัยภูมิ เพื่อให้ชุมชนมีแหล่งเส้นไหมที่มีคุณภาพดีสำหรับการทอผ้าอย่างเพียงพอ โดยกรมหม่อนไหมสนับสนุนเส้นไหมตั้งต้นให้กับธนาคาร เพื่อให้สมาชิกไปบริหารจัดการภายในชุมชน เกษตรกรสมาชิกสามารถยืมเส้นไหมไปทอผ้า เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดนำเส้นไหมหรือเงินมาคืนตามข้อตกลงและระเบียบของแต่ละธนาคาร
 
 

ข่าวธนาคารปัจจัยการผลิตด้านหม่อนไหม+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมอาชีพประมง เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ หนุนสร้างรายได้เกษตรกร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสห...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...