มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดงานวิ่งการกุศล “G RUN ยั่งยืน” ระดมทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งจิสต์ โรคหายากที่คนไทยไม่รู้จัก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เนื่องในวันที่ 13 กรกฎาคม ของทุกปีนับเป็นวันแห่งการรณรงค์มะเร็งจิสต์ (GIST Awareness Day) ทางมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จึงจัดกิจกรรมวิ่งการกุศล "G Run ยั่งยืน" ขึ้นเพื่อระดมทุนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายมอบให้แก่โรงพยาบาลรัฐบาลที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์สูงสุด 5 แห่ง พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งจิสต์ให้แก่ประชาชนทั่วไป การรักษาและโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ในปัจจุบัน โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 1,462 คน และสามารถระดมทุนเพื่อผู้ป่วยช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ได้กว่า 701,500 บาท 
          รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย มีพันธกิจสำคัญในการดูแลและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งที่ถูกต้อง จึงได้ริเริ่มจัดงานวิ่งการกุศล "G Run ยั่งยืน" ครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความตระหนักให้แก่สังคมไทยเกี่ยวกับโรคมะเร็งหายากชนิดหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก คือ "โรคมะเร็งจิสต์ (GIST)" มะเร็งชนิดหนึ่งภายในระบบทางเดินอาหาร ที่สามารถพบผู้ป่วยได้เพียง 10-15 รายต่อประชากรโลกหนึ่งล้านคนเท่านั้น พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังตัวเอง แนวทางการรักษาและโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ที่มีในปัจจุบันด้วย 
          "ภายในงานวิ่งการกุศล "G Run ยั่งยืน" ได้แบ่งระยะการวิ่งออกเป็น 2 ประเภท คือระยะ Fun Run 2.5 กิโลเมตร และระยะ Mini-Marathon 10 กิโลเมตร มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,462 คน โดยสามารถระดมทุนโดยที่ไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ จำนวนกว่า 701,500 บาท เพื่อมอบให้โรงพยาบาลรัฐบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ในโครงการจีแพปมากที่สุด 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ "Right Choice for One Chance" เกี่ยวกับการเข้าถึงการรักษาและการอยู่กับโรคมะเร็งจิสต์ รวมถึงบูทกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งจิสต์ พร้อมเล่นเกมส์และลุ้นรางวัล"
          ด้าน ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า โรคมะเร็งจิสต์ (GIST) เป็นมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณระบบทางเดินอาหาร ที่แตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ เนื่องจากเกิดจากเซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือกระเพาะอาหาร มะเร็งจิสต์ถือได้ว่าเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหารชนิดอื่น โดยผู้ป่วยมักมีอาการที่ความคล้ายคลึงกับมะเร็งทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ เช่น อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ซีด บางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง เลือดออกในกระเพาะอาหารจนปนออกมากับอุจจาระทำ
          ให้อุจจาระมีสีดำ ทั้งนี้อาการของมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจิสต์จะไม่มีข้อเจาะจง แต่ถ้าหากมีอาการที่ดังที่กล่าวข้างต้นในแบบเรื้อรัง และเมื่อรับการรักษาโรคทั่วไปแล้วไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง
          สำหรับการรักษา ผศ.นพ. เอกภพ สิระชัยนันท์ อุปนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจิสต์ จะมีลักษณะเป็นก้อนอยู่บริเวณเดียว ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดและมีโอกาสที่จะหายขาด แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยมักมีความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคมะเร็งจิสต์ได้เช่นกัน และหากตัวโรคได้แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นแล้ว ก็จะมีโอกาสน้อยในการรักษาให้หายขาด โดยเฉพาะบริเวณตับ ที่เดิมแพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แต่เนื่องจากมะเร็งจิสต์เป็นโรคที่ตอบสนองต่อเคมีบำบัดน้อยมาก ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น โดยการรักษารูปแบบมุ่งเป้า ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถควบคุมโรคได้ดียิ่งขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์มีอาการที่ดียิ่งขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
          "เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์สามารถเข้าถึงการรักษาได้มากยิ่งขึ้น จึงเกิดโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป (GIPAP) ที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน กับ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการจัดหายาที่มีคุณภาพ โดยมีทางสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และมูลนิธิ เป็นผู้ลงทะเบียนและจัดสรรยาให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 15 ปี จนสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้มากกว่า 1,800 ราย โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยที่กำลังเข้าการรักษาอยู่ในโครงการฯ ประมาณ 800 ราย"
          ทั้งนี้ ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ ได้ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ว่า การเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังกายและกำลังใจในการต่อสู้กับอาการต่างๆ ซึ่งสามารถเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวผู้ป่วยเอง อาทิ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ การทำจิตใจให้ผ่องใส ลดความเครียดและความกังวล เป็นต้น
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดงานวิ่งการกุศล “G RUN ยั่งยืน”  ระดมทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งจิสต์ โรคหายากที่คนไทยไม่รู้จัก
 
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดงานวิ่งการกุศล “G RUN ยั่งยืน”  ระดมทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งจิสต์ โรคหายากที่คนไทยไม่รู้จัก
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดงานวิ่งการกุศล “G RUN ยั่งยืน”  ระดมทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งจิสต์ โรคหายากที่คนไทยไม่รู้จัก มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดงานวิ่งการกุศล “G RUN ยั่งยืน”  ระดมทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งจิสต์ โรคหายากที่คนไทยไม่รู้จัก

ข่าวมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย+กิจกรรมวิ่งการกุศลวันนี้

ภาพข่าว: มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย มอบรายได้งานวิ่งการกุศล “G Run ยั่งยืน” สนับสนุนผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์

เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงษ์ (ขวาสุด) นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย มอบเงินบริจาคจากกิจกรรมวิ่งการกุศล"G Run ยั่งยืน" มูลค่า 701,500 บาท โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่โรงพยาบาลรัฐบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งจิสต์ในโครงการช่วยหลือผู้ป่วยจีแพปมากที่สุด 5 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยมีตัวแทนจากโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่งเป็นตัวแทนรับมอบ เพื่อนำไปเป็นทุนในการดำเนินงานและช่วย

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้บริจา... ไฟเซอร์บริจาคยามะเร็งเต้านมให้มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย — บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้บริจาคยารักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบพุ่งเป้าให้กับมะเร็งวิทย...

บัญชีกลางแจงการปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและค่าโลหิตวิทยา

กรมบัญชีกลางชี้แจงการปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและค่าโลหิตวิทยา นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงสิทธิการเบิกจ่ายค่ายารักษามะ...

ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงาน... ภาพข่าว: ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงานของโปรตีนซีดีเค4/6 — ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงานของโปรตีนซีดีเค4/6 ที่ได้รับการรับรองจาก อ...