อรูบ้า (Aruba) เผยผลการศึกษาศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Workplace)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          การแถลงข่าวเมื่อค่ำวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 ในงาน Atmosphere 2018 APAC ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร คุณ Justin Chiah ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไต้หวัน และ คุณประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย ของ Aruba , a Hewlett Packard Enterprise company ร่วมกันแถลงรายงานการศึกษาระดับสากลฉบับล่าสุดของอรูบ้าเรื่อง "นักปฏิวัติดิจิทัลช่วยปลดล็อคศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล" (Digital Revolutionaries Unlock the Potential of the Digital Workplace) ชี้ให้เห็นผลดีทั้งในด้านธุรกิจและการดำเนินชีวิตของพนักงานในที่ทำงานที่ใช้ดิจิทัลเป็นตัวขับดันการทำงาน (digital-driven workplace) มากขึ้น และการที่บริษัทที่ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีน้อยกว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกแซงหน้าโดยคู่แข่งที่เหนือกว่า ไม่สามารถดึงดูดพนักงานเก่ง ๆ ชั้นแนวหน้ามาทำงานกับตนได้ และยังเตือนให้บริษัททั้งหลายต้องเพิ่มความสนใจมากขึ้นแก่พนักงานที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับดิจิทัล (digital-savvy employee) เหล่านี้ว่าอาจจะเป็นผู้ที่เพิ่มความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยของข้อมูลและข่าวสารให้แก่องค์กรได้
เนื้อหาหลักและการค้นพบที่สำคัญ
          การศึกษาพนักงานทั่วโลกจำนวน 7,000 คนใน 15 ประเทศของหลากหลายองค์กรพบว่ามีความแตกต่างอย่างชัดเจนในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและความรู้สึกผูกพันของพนักงานกับองค์กรระหว่างในองค์กรที่มีสำนักงานยุคดิจิทัลกับองค์กรที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระดับที่น้อยกว่า เนื้อหาสำคัญที่พบได้แก่
          - นอกเหนือจาการเพิ่มผลสำเร็จในการทำงานแล้ว เครื่องมือดิจิทัลยังมีผลดีในการดำเนินชีวิตอีกด้วย : "นักปฏิวัติดิจิทัล" (Digital Revolutionaries)– ในที่นี้คือพนักงานที่ได้ทำงานอยู่ในที่ทำงานที่ใช้ความสามารถทางดิจิทัลอย่างเต็มที่มีเทคโนโลยีสำนักงานใหม่ ๆ ให้ใช้อย่างกว้างขวาง - พบว่า 51% มีความพึงพอใจในการทำงานค่อนข้างสูง และ 43% มีความรู้สึกเชิงบวกในเรื่องความสมดุลระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิต (work-life balance) ของตนมากกว่าพนักงานในบริษัทที่มีสำนักงานล้าหลังกว่าด้านดิจิทัล (digital laggards) – ซึ่งเข้าถึงเทคโนโลยีในการทำงานที่เป็นดิจิทัลได้น้อยกว่า พนักงานในที่ทำงานที่มีการปฏิวัติในเชิงดิจิทัลนี้มีถึง 56% บอกว่ามีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น และ 83% ชื่นชมในวิสัยทัศน์ขององค์กรของตน
          - การทำงานด้วยดิจิทัลยังช่วยสนับสนุนการพัฒนาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอีกด้วย : 65% ของพนักงานในที่เป็นนักปฏิวัติดิจิทัลรายงานว่าตนเองมีการพัฒนาในเรื่องความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพและมีการเติบโตในสายงานอาชีพเพิ่มขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เปรียบเทียบกับ 31% ที่ตอบในทำนองเดียวกันขององค์กรที่ล้าหลังกว่า ในที่ทำงานดิจิทัลมี 72% ของนักปฏิวัติดิจิทัลตอบว่ามีความสามารถเพิ่มสูงขึ้นในการใช้ทักษะการทำงานใหม่ ๆ ส่วนในองค์กรที่ล้าหลังกว่าเห็นด้วยเพียง 58%
          - ผลงานเพิ่มสูงขึ้นมาจากการใช้ดิจิทัลมากขึ้น : 73% ของนักปฏิวัติดิจิทัลตอบว่ามีผลกระทบในเชิงบวกต่อผลการทำงานของตน และ 70% ยืนยันว่าเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การร่วมมือกันทำงาน (collaboration) ดีขึ้น ตรงข้ามกับองค์กรล้าหลังที่มีพนักงานเห็นด้วยเพียง 55%
          - ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลกับระบบอัตโนมัติ (automation) ทำให้มีประสบการณ์การทำงานในที่ทำงานดีขึ้น : ขณะที่การใช้ระบบอัตโนมัติอาจถูกมองว่าเป็นเสมือนภัยคุกคามแย่งงานไปจากมนุษย์ แต่ในการสำรวจของเรากลับพบว่าพนักงานทั้งหลายกลับกระตือรือร้นกับระบบอัตโนมัติกันอย่างมาก ผู้ตอบการสัมภาษณ์ถึง 71% ยอมรับการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ยอมรับการที่องค์กรจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความฉลาด (smart) และประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
          ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
          จากผลการศึกษาพบว่าพนักงานทั้งหลายรู้สึกกระตือรือร้นกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และต้องการให้บริษัทของตนจัดหามาให้มากขึ้นด้วย ผู้ถูกสัมภาษณ์เกือบทั้งหมดทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (98%) เห็นว่าสถานที่ทำงานของตนควรจะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น ขณะที่มีถึง 70% เห็นว่าองค์กรของตนจะล้าหลังกว่าคู่แข่งถ้ายังไม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ และมีถึง 67% เชื่อว่าสำนักงานแบบดั้งเดิมจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัย เพราะเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ
          - 75% ของผู้ถูกสัมภาษณ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกบอกว่าบริษัทของตนได้ลงทุนในการสร้างเครื่องมือดิจิทัลในที่ทำงานในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และสนใจจะลงทุนมากขึ้นในเทคโนโลยีใหม่ๆ ล้ำสมัย อันได้แก่ เครื่องมือในการควบคุมอาคารอัจฉริยะ (smart building tools) ที่ทำงานโดยอัตโนมัติในการควบคุมอุณหภูมิและแสง (14%) เทคโนโลยีที่สามารถสั่งงานได้ด้วยเสียงและเครื่องรับส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบไร้สาย (wireless AV) (16%) และทำแอพบนอุปกรณ์พกพาให้ใช้ทำงาน (11%)
          - ผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนมากเห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น (63%) ทำให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น (53%) และมีบรรยากาศดึงดูดให้น่าทำงานมากขึ้น (52%)
ขณะที่ผลดีที่ได้จากการมีสำนักงานยุคดิจิทัลมีหลากหลายประการ แต่จากการศึกษายังชี้ให้เห็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cybersecurity) เป็นความท้าทายที่องค์กรต้องพยายามแก้ไขป้องกันไว้ด้วย
          - ถึงแม้ว่าพนักงานจะตอบค่อนข้างสูงในเรื่องของความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ (56% มักจะคิดถึงเรื่องความปลอดภัยอยู่บ่อย ๆ หรือในแต่ละวัน) พวกเขายังยอมรับว่าตนเองอาจมีส่วนในเรื่องความเสี่ยงต่อข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆ ขององค์กร มี 73% ยอมรับว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเช่นแบ่งปันการใช้รหัสผ่านและอุปกรณ์ร่วมกับคนอื่น
          - มีพนักงานถึงหนึ่งในสี่ (25%) ตอบว่าเคยเชื่อมต่อเข้า Wi-Fi สาธารณะที่ค่อนข้างไม่ปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา มี 20% ตอบว่าตัวเองใช้รหัสผ่านเดียวกันกับหลายแอพพลิเคชั่นและบัญชีผู้ใช้ และ 17% ยอมรับว่ามีการเขียนรหัสผ่านของตนไว้ป้องกันการลืม
          หนทางสู่อนาคต
          การค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ควรที่จะรีบนำผลดีทางเทคโนโลยีของการมีสำนักงานยุคดิจิทัลมาปรับใช้งานเสียทีในขณะเดียวกันก็มองหาหนทางลดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยลงให้เหลือน้อยที่สุดด้วย อรูบ้ามีข้อเสนอแนะองค์กรต่าง ๆ ควรจะดำเนินการดังต่อไปนี้ :
          - นำกลยุทธ์การมีสำนักงานยุคดิจิทัลมาใช้เสียที: แผนก IT จำเป็นต้องทำงานกับผู้จัดการธุรกิจ ผู้ใช้งานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาให้เป็นสำนักงานยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยจะต้องรวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ล้ำยุคที่ที่บริษัทก้าวหน้าเหนือบริษัทอื่นมาใช้ อย่างเช่น เซนเซอร์แบบชาญฉลาด (smart sensor) และแอพบนอุปกรณ์พกพาที่ปรับใช้ตามความต้องการขององค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มประสบการณ์ส่วนบุคคลที่พึงปรารถนากับสถานที่ทำงานมากขึ้น
          - สร้างสำนักงานยุคดิจิทัลที่เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกัน : บริษัทจะต้องคิดว่าสำนักงานในยุคดิจิทัลนี้กว้างไกลกว่าพื้นที่จริง ๆ ในสำนักงานใหญ่ จะต้องรองรับการทำงานของพนักงาน คู่ค้าหรือลูกค้าที่เชื่อมต่อเข้ามาสู่ระบบจากที่พื้นที่ห่างไกล (remote) ด้วย ผู้นำทางด้าน IT จำเป็นต้องวางแผน ลงทุน สำหรับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่ไร้พรมแดนนี้
          - สร้างความปลอดภัยตั้งแต่ระดับพื้นฐานขึ้นมา : บริษัทจะต้องออกแบบสำนักงานยุคดิจิทัลให้มีความปลอดภัยในฐานะเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ จะต้องคิดล่วงหน้าถึงเรื่องความผิดพลาดของมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งการเข้ามาของผู้ประสงค์ร้าย เพื่อที่จะให้มีความปลอดภัย ผู้ดูแล IT จะต้องมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านระบบเครือข่าย การประมวลผลแบบคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของจักรกล (machine learning) เข้ามาใช้

          คุณประคุณสรุปภาพให้เห็นว่าแนวความคิดใหม่ ๆ กำลังเกิดขึ้นโดยเป็นการรวมเทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ (smart building technologies) เข้ากับสำนักงานยุคดิจิทัลกลายเป็นสำนักงานอัจฉริยะยุคดิจิทัล (Smart Digital Workplace) เป็นสถานที่ซึ่งมีการออกแบบมุ่งรองรับความสดวกสบายของมนุษย์ ให้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT และระบบอัตโนมัติทั้งหลาย สำนักงานยุคดิจิทัลอัจฉริยะจะให้ประสบการณ์ที่เป็นส่วนบุคคล (personalization) อย่างเช่นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์และการปรับแสงสว่างอย่างชาญฉลาดตามความพึงพอใจของผู้ใช้ อาคารจะมุ่งอนุรักษณ์พลังงานมากขึ้น โดยมีการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานอย่างเป็นพลวัตรโดยมุ่งเน้นประโยชน์การใช้งานสูงสุดและคำนึงถึงรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน แนวทางใหม่นี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่มผลงานของพนักงานแต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพโดยมุ่งมองมนุษย์เป็นศูนย์กลางอีกด้วย
          หลังจากนั้นได้เชิญ ดร.กริชผกา บุญเฟือง รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Thailand 4.0 เน้นเทคโนโลยีโดยเฉพาะดิจิทัล รัฐบาลต้องการเห็นผู้ประกอบการไทยนำดิจิทัลมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยทางสำนักงานทำหน้าที่เป็นเหมือน system integrator ที่ช่วยแนะนำผู้ประกอบการไทยที่ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลด่าง ๆ มาใช้ในการทำธุรกิจและช่วยจัดหาทุนให้ผู้ประกอบการที่มีแผนธุรกิจชัดเจนและต้องการสร้างสรรค์นวัตรกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นธุรกิจ โดยช่วยสนับสนุนทุนส่วนหนึ่งของแผนดำเนินงาน และที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประกอบการที่ทางสำนักงานสนับสนุนประสบความสำเร็จถึง 90 %
          คุณเอแดรียน ฮาร์วิตโจนส์ รองประธานฝ่าย Design and Techical Services ของ Centara Hotels & Resorts ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับโรงแรมในเครือว่าได้มีการทำ Digital Transformation นอกจากการ booking online แล้วทางโรงแรมได้พัฒนาระบบ check-in ที่ลูกค้าสามารถเช็คอินผ่านอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียเวลาไปรอที่เคาน์เตอร์อีกต่อไป และมีการพัฒนาระบบการบริการในห้องพักให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ผู้เข้าพักมีความเป็นส่วนตัวเหมือนอยู่บ้านอย่างเช่นสามารถจัดโปรแกรมที่ต้องการดูในทีวีได้ และยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ทางโรงแรมกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น ในส่วนของพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ล้วนยินดีกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพามากขึ้น ส่วนพนักงานรุ่นเก่า ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคยทางโรงแรมได้พยายามค่อย ๆ ปรับให้คุ้นเคยมากขึ้นด้วยการทำคู่มือและฝึกอบรมการใช้งานให้
          จบการแถลงข่าวด้วยการพาชมห้องจัดแสดงจำลองการใช้งาน Smart Digital Workplace ทั้งห้องทำงาน ห้องประชุม ห้องควบคุมดูแลด้านไอที และโรงงานที่ใช้อุปกรณ์ IoT เพื่อให้ผู้เข้าชมงานเห็นว่าสำนักงานอัจฉริยะยุคดิจิทัลเป็นอย่างไร รวมทั้งมีการจำลอง Smart Digital Hotels และ Smart Digital Retails ให้ชมอีกด้วย
อรูบ้า (Aruba) เผยผลการศึกษาศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Workplace)
 
อรูบ้า (Aruba) เผยผลการศึกษาศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Workplace)
 
อรูบ้า (Aruba) เผยผลการศึกษาศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Workplace)
อรูบ้า (Aruba) เผยผลการศึกษาศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Workplace)

ข่าวประคุณ เลาหกิตติกุล+โรงแรมเซ็นทาราวันนี้

ห้องอาหารจตุจักร คาเฟ่ เซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว จัดโปรโมชัน 5.5 "บุฟเฟต์พรีเมียม คนที่สองจ่ายเพียง 55 บาท" เฉพาะ 5 พฤษภาคมนี้

กรุงเทพฯ ห้องอาหารจตุจักร คาเฟ่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสัมผัสความคุ้มค่ากับโปรโมชันพิเศษ "5.5 บุฟเฟต์พรีเมียม คนที่สองจ่ายเพียง 55 บาท" สำหรับผู้ที่จองล่วงหน้าทางออนไลน์เท่านั้น โดยโปรโมชันสุดคุ้มนี้มีให้เฉพาะวันที่ 5 พฤษภาคม 2568 เท่านั้น พบกับสองประเภทบุฟเฟต์สุดพิเศษ พร้อมเสิร์ฟความอร่อยในหลากหลายรูปแบบ อาทิ Street Food Buffet สัมผัสเสน่ห์ของอาหารสตรีทฟูดจากหลากหลายมุมโลกที่รังสรรค์ขึ้นอย่างพิถีพิถันเพื่อมื้อกลางวันสุดประทับใจ ราคา 799

นายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้อำนวยการประจำปร... HPE Aruba Networking เปิดเทรนด์ระบบเครือข่าย (Networking) ที่น่าจับตามองในปี 2025 — นายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย จาก HPE Aruba Network...

โดยคุณประคุณ เลาหกิตติกุล, ผู้อำนวยการประ... โซลูชั่นสำหรับปีใหม่ – ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเหมาะสมสำหรับอนาคต — โดยคุณประคุณ เลาหกิตติกุล, ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของบริษัทอรูบ้า หนึ่งในบริษัทของ...

ภาพข่าว: อรูบ้า เปิดตัว อรูบ้า เวิร์คสเปซ โซลูชั่นจัดการ BYOD ที่สมบูรณ์แบบแรกของโลก พร้อมอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ไวไฟ มาตรฐาน 802.11 ac ครั้งแรกของอุตสาหกรรม

เมื่อเร็วๆ นี้ นายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย (ซ้าย) และ นายโอเซอร์ ดอนเดอร์มาซิโอกลู ผู้อำนวยการการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และ...

ภาพข่าว: อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ เปิดตัว เครือข่ายไร้สายยุคใหม่ รับมือการเติบโตของโมบาย แอพพลิเคชั่น

เมื่อเร็วๆ นี้ นายโดนอลด์ เมเยอร์ ผู้จัดการอาวุโส การตลาดผลิตภัณฑ์ (ซ้าย) และนายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย (ขวา) บริษัท อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ อิงค์ ผู้นำโซลูชั่นการเข้าถึงระบบเครือข่ายยุค...

ภาพข่าว: เอ็นฟอร์ซฯ ร่วมงานเปิดตัว อรูบ้า เคลียร์พาส

เมื่อเร็วๆ นี้ นายชาญวิทย์ รัตนาบดี ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (ซ้าย) บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด และนายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย (ขวา) บริษัท อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ อิงค์ เข้าร่วมงานเปิดตัว อรูบ้า เคลียร์พาส ...