HPE Aruba Networking เปิดเทรนด์ระบบเครือข่าย (Networking) ที่น่าจับตามองในปี 2025

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย จาก HPE Aruba Networking ได้แชร์เทรนด์ต่าง ๆ ที่น่าจับตามอง ในด้านการรักษาความปลอดภัยและการจัดการ ไปจนถึง AI ที่เกี่ยวกับทั้งผู้ใช้และทรัพยากรในการออกแบบระบบเครือข่าย ซึ่งจะมีผลต่อการสร้างและบริหารจัดการเครือข่ายองค์กรตลอดปี 2025

HPE Aruba Networking เปิดเทรนด์ระบบเครือข่าย (Networking) ที่น่าจับตามองในปี 2025
  • SD-WAN และ SASE จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

ตลาด SD-WAN มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และในปี 2025 ก็มีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากยิ่งขึ้น บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของเครือข่ายพร้อมไปกับการควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่ง SD-WAN สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ โดยช่วยให้มีการเชื่อมต่อที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ปลอดภัยและสามารถขยายขนาดได้ นอกจากนี้ SD-WAN ยังใช้เทคโนโลยี LTE/5G และบรอดแบนด์เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยี Multiprotocol Label Switching (MPLS) แบบเดิมได้อย่างชัดเจน

ในขณะเดียวกัน SASE ก็กำลังจะกลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครือข่ายสมัยใหม่ โดยผสานเครือข่ายและความปลอดภัยเข้าไว้ในสถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟแบบรวมศูนย์ SASE ทำให้การจัดการเครือข่ายง่ายขึ้น และกำหนดนโยบายความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสอดคล้องกันสำหรับแอปพลิเคชัน ผู้ใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม SASE ช่วยให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ได้รับการพัฒนาและความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เสริมด้วยประสบการณ์ผู้ใช้ที่ได้รับการยกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด

  • การแบ่งย่อยเครือข่าย (Microsegmentation) เพื่อความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจุบันมีภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายและศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การแบ่งเครือข่ายออกเป็นเซ็กเมนต์ย่อยขนาดเล็ก ทำให้ผู้โจมตีเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีได้ยากขึ้น วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วยการบังคับใช้การควบคุมการเข้าถึงอย่างละเอียด และการควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างเซ็กเมนต์อย่างเข้มงวด

การแบ่งย่อยเครือข่ายช่วยให้องค์กรสามารถบังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัยที่ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้นได้ และช่วยให้แน่ใจได้ว่ามีเพียงการรับส่งข้อมูลที่ได้รับการอนุญาตเท่านั้นที่เกิดขึ้นระหว่างเซ็กเมนต์ ซึ่งสอดคล้องกับการมุ่งเน้นความปลอดภัยของเครือข่ายและมาตรการควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวด ตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างประเทศ เช่น คำสั่ง NIS2 ของสหภาพยุโรปที่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2023

  • เครือข่ายจะเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัย

ก่อนหน้านี้ กฎเกณฑ์โดยทั่วไปจะใช้การจัดการพื้นที่บางส่วนของโครงสร้างพื้นฐานแบบแยกกัน เช่น ระบบเครือข่ายและความปลอดภัย แต่ในปัจจุบันนี้ การรวบรวมและบริหารจัดการองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมกันทำให้เราสามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ภายในโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การจัดการสภาพแวดล้อมของระบบมีความสม่ำเสมอและสอดคล้องกันมากขึ้น ความสามารถในการตรวจติดตามอุปกรณ์หลายเครื่องไม่ว่าผู้ให้บริการจะเป็นใครรวมถึงองค์ประกอบทางเครือข่ายและความปลอดภัย ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของสถานะโครงสร้างพื้นฐานของเราได้ครบถ้วน และสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมตามข้อมูลที่มีอยู่

  • มี AI เพิ่มมากขึ้นในระบบเครือข่าย

เนื่องจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายองค์กร และการเพิ่มจำนวนของข้อมูลที่ออกมาจากอุปกรณ์เหล่านี้หรือผ่านทางอุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้การจัดการสภาพแวดล้อมเหล่านี้นั้นยากขึ้น จำนวนการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มมากขึ้นยิ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์เราจะติดตามตรวจสอบทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณข้อมูลมหาศาลและจำนวนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นมีมากมายมหาศาล ดังนั้นแผนกไอทีจึงจำเป็นต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกัน บทบาทของฝ่ายไอทีก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบันนี้ฝ่ายไอทีมีบทบาทสำคัญในการผลิต การกำหนดกลยุทธ์ และความเร็วในการนำบริการหรือสินค้าออกสู่ตลาด ซึ่งทำให้ฝ่ายไอทีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการรับมือกับปริมาณของกิจกรรมและข้อมูล และเพื่อสำรองทรัพยากรเผื่อไว้สำหรับงานเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ AI จะมีค่ามากมายมหาศาลสำหรับการตรวจสอบข้อมูลจำนวนมากในสภาพแวดล้อมของเรา รวมถึงตรวจจับปัญหา และช่วยให้เราตอบสนองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ AI ยังช่วยแบ่งเบาภาระของทีมไอทีเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญมีเวลาให้กับการแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์มากขึ้น

  • มีระบบเครือข่ายมากขึ้นใน AI

ในขณะที่ประเด็นเรื่องทรัพยากรจำนวนมากที่ AI ต้องการนั้นได้รับความสนใจและเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลาย เช่น ข้อมูลคุณภาพสูงปริมาณมหาศาล รวมถึงพลังงานและพลังการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ต้องมี แต่ประเด็นเรื่องความสำคัญของระบบเครือข่ายมักได้รับความสนใจน้อยกว่า

Dell'Oro Group คาดการณ์ว่าปริมาณการรับส่งข้อมูลเครือข่ายสำหรับเวิร์กโหลด AI จะเพิ่มขึ้นสิบเท่าในทุกสองปี ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่จำเป็นในการสร้างและใช้งานโมเดล AI จะต้องถูกส่งอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ที่มีแบนด์วิดท์ 100, 400 และล่าสุด 800 Gb จะกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย


ข่าวประคุณ เลาหกิตติกุล+รักษาความปลอดภัยวันนี้

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปั้นบัณฑิตศักยภาพ ตอบโจทย์ตลาดงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ผ่านหลักสูตร Network Security Expert

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) ในการผลิตบัณฑิตที่สอดรับกับความต้องการของตลาดงานด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้และคอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์กกิ้ง ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า ความร่วมมือกับ ฟอร์ติเน็ต เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ในการ

การแถลงข่าวเมื่อค่ำวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. ... อรูบ้า (Aruba) เผยผลการศึกษาศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Workplace) — การแถลงข่าวเมื่อค่ำวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 ในงาน Atmosphere 2018 APAC ซึ...

โดยคุณประคุณ เลาหกิตติกุล, ผู้อำนวยการประ... โซลูชั่นสำหรับปีใหม่ – ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเหมาะสมสำหรับอนาคต — โดยคุณประคุณ เลาหกิตติกุล, ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของบริษัทอรูบ้า หนึ่งในบริษัทของ...

ภาพข่าว: อรูบ้า เปิดตัว อรูบ้า เวิร์คสเปซ โซลูชั่นจัดการ BYOD ที่สมบูรณ์แบบแรกของโลก พร้อมอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ไวไฟ มาตรฐาน 802.11 ac ครั้งแรกของอุตสาหกรรม

เมื่อเร็วๆ นี้ นายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย (ซ้าย) และ นายโอเซอร์ ดอนเดอร์มาซิโอกลู ผู้อำนวยการการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และ...

ภาพข่าว: อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ เปิดตัว เครือข่ายไร้สายยุคใหม่ รับมือการเติบโตของโมบาย แอพพลิเคชั่น

เมื่อเร็วๆ นี้ นายโดนอลด์ เมเยอร์ ผู้จัดการอาวุโส การตลาดผลิตภัณฑ์ (ซ้าย) และนายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย (ขวา) บริษัท อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ อิงค์ ผู้นำโซลูชั่นการเข้าถึงระบบเครือข่ายยุค...

ภาพข่าว: เอ็นฟอร์ซฯ ร่วมงานเปิดตัว อรูบ้า เคลียร์พาส

เมื่อเร็วๆ นี้ นายชาญวิทย์ รัตนาบดี ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (ซ้าย) บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด และนายประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย (ขวา) บริษัท อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ อิงค์ เข้าร่วมงานเปิดตัว อรูบ้า เคลียร์พาส ...