ผลสำรวจของขวัญปีใหม่ 2562 ที่เอสเอ็มอีไทย อยากได้จากรัฐบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ ประธานศูนย์วิจัยธุรกิจและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ (SME Poll – เอสเอ็มอี โพลล์) ประกาศผลสำรวจ เอสเอ็มอีไทย มีความเชื่อ และคาดหวังว่า ปี 2562 เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
          ศูนย์วิจัยธุรกิจและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย (SME Poll) สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 1,800 วิสาหกิจทั่วประเทศ ในหัวข้อเรื่อง "ของขวัญปีใหม่ 2562 ที่ SMEs อยากได้จากรัฐบาล" พบว่า ของขวัญปีใหม่ที่ SMEs อยากได้จากรัฐบาลมากที่สุด ร้อยละ 53.56 ได้แก่ "อยากให้รัฐบาลช่วยทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น" รองลงมา ร้อยละ 26.67 อยากให้รัฐบาลพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นและสงบสุข ร้อยละ 13.22 อยากให้จัดให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ และร้อยละ 6.56 อยากให้รัฐบาลช่วยเพิ่มสวัสดิการให้แก่ประชาชน
          ดร.ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ ประธานศูนย์วิจัยธุรกิจและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SME ร้อยละ 59.39 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2561 มีภาวะถดถอยลงเมื่อเทียบกับปี 2560 ร้อยละ 24.61 เห็นว่า เศรษฐกิจยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2560 และร้อยละ 16.00 เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปี 2561 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้านมุมมองของผู้ประกอบการที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศในปี 2562 ส่วนใหญ่คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยร้อยละ 54.89 เห็นว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตขึ้น ขณะที่ ร้อยละ 26.00 เห็นว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะยังทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2561 ที่ผ่านมา และร้อยละ 19.11 สะท้อนความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2562 น่าจะยังซบเซาและถดถอยลงกว่าปีที่ผ่านมา
          โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคนานัปการ โดยปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยหลักๆ ได้แก่ ร้อยละ 15.74 เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุด รองลงมา ร้อยละ 14.99 ระบุว่า ปัญหาการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ร้อยละ 10.73 เห็นว่าสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ร้อยละ 10.15 ระบุปัญหาเรื่องราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และร้อยละ 9.05 กล่าวว่าจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ลดลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ส่งผลกระทบและอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขโดยด่วน อาทิ ปัญหาการเข้ามาของทุนต่างชาติเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ราคาน้ำมัน ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ รูปแบบและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปซื้อสินค้าในช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่สูง นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง และอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
          ด้านนโยบายที่อยากผู้ประกอบการอยากให้รัฐบาลดำเนินการมากที่สุดเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล ได้แก่ นโยบายช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ (ดอกเบี้ยต่ำ/ไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กที่มีเป็นจำนวนมากซึ่งอยากเข้าถึงแหล่งเงินทุน-เงินกู้มากขึ้น รองลงมาได้แก่ นโยบายที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ โดยร้อยละ 11.58 อยากให้รัฐบาลมีนโยบายด้านมาตรการลดหย่อนภาษีภาคธุรกิจ สำหรับธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็ก/วิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 10.21 อยากได้นโยบายการช่วยเหลือ SMEs ที่เคยมีภาระเรื่องระบบเครดิตบูโร เพื่อผ่อนปรนเงื่อนไขให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินได้มากยิ่งขึ้น และร้อยละ 10.06 อยากให้รัฐบาลกำหนดนโยบายด้านการส่งเสริม/สนับสนุนด้านการค้าออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น
          นโยบายที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ นโยบายการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิตอล มาพัฒนาธุรกิจ SMEs นโยบายสนับสนุน SMEs ทางการผลิต ให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นโยบายสนับสนุนระบบโปรแกรมบัญชี เพื่อเข้าสู่การจัดทำบัญชีชุดเดียว นโยบายสนับสนุนเรื่องค่าแรงเพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการ และนโยบายเพื่อลดภาระด้านประกันสุขภาพในระบบประกันสังคม เป็นต้น
ด้านมาตรการที่ผู้ประกอบการอยากได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ร้อยละ 27.51 อยากให้มีมาตรการสนับสนุนแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 22.40 อยากให้มีมาตรการช่วยส่งเสริมทางด้านการตลาด ร้อยละ 19.49 อยากให้ส่งเสริมมาตรการด้านภาษีเพื่อ SME ร้อยละ 17.90 อยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมด้านความรู้ในการดำเนินธุรกิจ และร้อยละ 12.71 อยากให้รัฐบาลมีมาตรการที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิต
          โดยการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ SME Poll ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 1,800 วิสาหกิจทั่วประเทศ ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.22 เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ธุรกิจไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.72 ดำเนินธุรกิจมามากว่า 6 ปีแล้ว และสนใจอยากต่อยอดขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น โดยร้อยละ 75.67 ของผู้ประกอบการ SMEs รู้จักการดำเนินการของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเป็นอย่างดี ซึ่งร้อยละ 55.89 เคยเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อยกระดับศักยภาพในการดำเนินธุรกิจที่สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยได้จัดขึ้น และร้อยละ 91.33 สนใจที่จะสมัครสมาชิก หรือ เข้าร่วมกิจกรรมจากสมาพันธ์เอสเอ็มอี เพื่อรับข่าวสารและสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ
          ศูนย์วิจัยธุรกิจและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย (SME Poll) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการ สำรวจความคิดเห็น ความเชื่อ หรือพฤติกรรมทางสังคมของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีต่อการดำเนินธุรกิจในสภาพการณ์ปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมการจัดทำ พัฒนา ให้บริการทางวิชาการ การให้คำปรึกษาและสนับสนุนการผลิตงานบริการ อันจะเป็นการพัฒนาความรู้สู่สังคม ซึ่งสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะเป็นสื่อกลางในการส่งต่อความคิดเห็นและมุมมองของผู้ประกอบการไปยังรัฐบาล และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมช่วยเหลือต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยได้อย่างตรงจุดต่อไป

 

ข่าวสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย+ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศวันนี้

ภาคธุรกิจร่วมระดมไอเดียหาแนวทางเร่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในงาน CEO Forum : SCG ESG Symposium 2024

47 องค์กรเอกชนจากธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจน้ำตาล ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรม และประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ผนึกพลังในงาน CEO Forum : SCG ESG Symposium 2024 ร่วมระดมสมองเฟ้น 6 แนวทาง ได้แก่ 1. การส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 2. มุ่งขับเคลื่อนจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ 3. การออกแบบอาคารที่คำนึงถึงการลดก๊าซเรือนกระจก 4. การลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมก่อสร้าง 5. การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยน

มาร่วมวิเคราะห์อัปเดตเทรนด์ธุรกิจ SMEs ใน... งานสัมมนาออนไลน์ ลงทะเบียนฟรี! ผ่าน Onebinar หัวข้อ " ทิศทาง SMEs ไทย 2567 " — มาร่วมวิเคราะห์อัปเดตเทรนด์ธุรกิจ SMEs ในปี 2567 และเตรียมความพร้อมโครงการ ...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิษณุ วงศ์สินศิริกุล เล... สำนักงาน กขค. MOU กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สร้างโอกาสการแข่งขันในตลาดให้ SMEs — ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งแข่งขันทา...

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง (คนขวา) รองผู้อำนวยก... เอ็นไอเอ - สถาบันฯ จิตรลดา - สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ปั้นบัณฑิตนิวเจน สู่ผู้ประกอบการนวัตกรรม BCG — ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง (คนขวา) รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกร...

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาล... LSC SPU ชวนฟัง! เสวนาออนไลน์ SPU SUPPLY CHAIN ROUND TABLE #107 EP#2 : ไขรหัสกฎหมาย PDPA — วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม (LSC) โดยความ...