ผลกระทบภัยแล้งต่อเศรษฐกิจ เสนอรัฐบาลใหม่เพิ่มงบชลประทานและเก็บค่าน้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เสนอรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งเร่งลงทุนการบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทานโดยด่วน ควรจัดสรรงบประมาณด้านนี้เพิ่มเติมไม่ต่ำกว่า 30% โดยใช้หน่วยงานของกองทัพช่วยดำเนินการได้และหน่วยงานในกองทัพควรทำงานด้านการพัฒนามากขึ้น งานวิจัยบ่งชี้ว่า อนาคตการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมและภาคท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ภาคเกษตรกรรมจะลดลงประมาณ 3-5% ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า 
          ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว น่าจะยาวนานและขยายวงมากกว่าที่คาดและแนวโน้มน่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจากภาวะโลกร้อน ภัยแล้งกระทบทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ล้านบาท ต้นทุนน้ำในหลายเขื่อนและอ่างเก็บน้ำค่อนข้างต่ำ มีสำรองน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคถึงเดือนสิงหาคม 
          ควรศึกษาการจัดเก็บค่าน้ำสำหรับการใช้ในภาคเกษตรกรรมที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงต้นทุน และ ช่วยกันบำรุงรักษาแหล่งน้ำ 

          15.30 น. 10 มี.ค. 2562 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 
          คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป
          ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า เสนอรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งเร่งลงทุนการบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทานโดยด่วน ควรจัดสรรงบประมาณด้านนี้เพิ่มเติมไม่ต่ำกว่า 30% ในปี พ.ศ. 2562 โดยใช้หน่วยงานของกองทัพช่วยดำเนินการได้และหน่วยงานในกองทัพควรทำงานด้านการพัฒนามากขึ้นและควรเป็นภารกิจสำคัญในการช่วยเหลือรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง งบประมาณปี 62 นั้นมีการจัดสรรให้ในส่วนของของแผนงานบูรณาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำประมาณ 128,783 ล้านบาทซึ่งตนมองว่าไม่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในปีนี้และวางโครงการสำหรับอนาคต งานวิจัยบ่งชี้ว่าอนาคตการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมและภาคท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ภาคเกษตรกรรมจะลดลงประมาณ 3-5% ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า จังหวัดในพื้นที่ท่องเที่ยวและชายทะเลนั้นมีการใช้น้ำมีการใช้น้ำมากถึง 350-500 ลิตรต่อคนต่อวัน     
          ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว น่าจะยาวนานและขยายวงมากกว่าที่คาดและแนวโน้มน่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจากภาวะโลกร้อน ภัยแล้งกระทบทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ล้านบาท โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิตยังคงการคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้ที่ 3.3-4% ปัจจัยผลกระทบภัยแล้งยังไม่ส่งต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
ปริมาณผลผลิตข้าวนาปรัง อ้อย มันสำปะหลัง ผักผลไม้เข้าสู่ตลาดน้อยลง ดันให้ราคาสินค้าเกษตรบางตัวสูงขึ้นบ้าง อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเล็กน้อยและรายได้เกษตรกรลดลงในช่วงไตรมาสสอง กำลังซื้อในภาคชนบทอ่อนแอลง รัฐบาลควรมีนโยบายเสริมรายได้ให้เกษตรกรในช่วงดังกล่าวผ่านกลไกกองทุนหมู่บ้าน 
          ต้นทุนน้ำในหลายเขื่อนและอ่างเก็บน้ำค่อนข้างต่ำ มีสำรองน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคถึงเดือนสิงหาคม รัฐบาลใหม่ควรศึกษาต้นทุนด้านการผลิตน้ำชลประทานและส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน สังคมไทยใช้น้ำโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทำให้มีการใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่สนใจดูแลแหล่งต้นน้ำและดูแลสิ่งแวดล้อม
          ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวทิ้งท้ายว่า มีความเป็นห่วงการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในภาคตะวันออก เนื่องจากเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีการใช้น้ำจากภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมากขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะนี้พื้นที่ภาคเกษตรกรรมก็ต้องใช้น้ำจำนวนมาก การใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคก็เพิ่มขึ้นจากประชากรที่หนาแน่นขึ้นพร้อมกับการขยายตัวของการท่องเที่ยว ภาคตะวันออกนั้นมีความจำเป็นต้องพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ หากไม่แก้ไขต่อไปจะเกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ำขึ้นในภาคตะวันออกระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม ควรพัฒนาและลงทุนระบบการน้ำเสียมาบำบัดหมุนเวียนใช้ รณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และ ควรศึกษาการจัดเก็บค่าน้ำสำหรับการใช้ในภาคเกษตรกรรมที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงต้นทุน ควรมีการจัดเก็บค่าน้ำในอัตราต่างกันตามความสามารถในการจ่าย ศึกษาการจัดเก็บภาษีบำบัดน้ำเสีย การจ่ายค่าน้ำและ ภาษีมลพิษน้ำ จะช่วยทำให้ทุกคนบำรุงรักษาแหล่งน้ำมากขึ้น

 
 

ข่าวการบริหารจัดการน้ำ+บริหารจัดการน้ำวันนี้

กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมต้อนรับ "รมช.อิทธิ" เปิดโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน จ.สกลนคร

กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมต้อนรับ "รมช.อิทธิ" เปิดโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน โดยจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของดินรอบหนองหาร จ.สกลนคร เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นายสุรชาติ มาลาศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายบุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายธนากร นาเชียงใต้ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วม

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรั... "เลขาธิการ สทนช." ลงพื้นที่ติดตามมาตรการรับมือฤดูฝนพื้นที่ลุ่มน้ำชี — ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย นางพัชรว...

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) บูรณาการกับจัง... กปภ. ยืนยันมีน้ำประปาเพียงพอให้บริการในพื้นที่โคราช — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) บูรณาการกับจังหวัดนครราชสีมาและหน่วยงานในท้องถิ่น ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ ร่วมพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการน้ำ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจั...

ในเวลานี้ทุกพื้นที่ทั่วโลกต่างได้รับผลกระ... กรมชลประทาน กับอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทาย การบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันสภาวะวิกฤตจากอุทกภัย — ในเวลานี้ทุกพื้นที่ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภา...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังรับมือสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...