กรมประมงแจงข่าว...หลังถูกชาวประมงโวย!! กฎหมาย IUU ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในประเทศป่วน!!

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          จากกรณีที่สื่อมวลชนได้มีการนำเสนอข่าวรองประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายประมง โดยระบุว่า กฎหมายดังกล่าวทำให้ขั้นตอนการแจ้งสินค้าสัตว์น้ำเข้า-ออก ค่อนข้างยุ่งยาก อีกทั้ง ยังมีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังติดใบเหลืองใบแดงจากปัญหาการทำประมง IUU ทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศ 
          นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า การออกพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558 และแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิรูปการประมงเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการประมงของไทย โดยทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องต้องมีความโปร่งใส และเป็นธรรม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต ซึ่งในบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การที่ชาวประมงและผู้ประกอบการต้องมีการจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าตั้งแต่จับสัตว์น้ำจนถึงส่งออก เพื่อให้ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจได้ว่าสินค้าเหล่านั้นมีแหล่งที่มาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อลดภาระผู้ประกอบการและ เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบย้อนกลับ กรมประมงจึงได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกการส่งออกสินค้าประมง (FSW) ซึ่งผู้ส่งออกเพียงแค่ระบุเฉพาะเลขที่หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marines Catch Purchasing Document : MCPD) หรือใบรับรองการจับสัตว์น้ำของวัตถุดิบที่มีการซื้อและนำมาผลิต โดยหมายเลขดังกล่าวจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้ารุ่นนี้ผลิตมาจากวัตถุดิบที่ได้มาจากการจับของเรือประมงลำไหน จับที่ไหน /เมื่อไหร่ /มีแรงงานกี่คน /ชื่ออะไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคปลายทางว่าสินค้าสัตว์น้ำนั้นไม่มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมายหรือเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ภายใต้นโยบายที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งของสินค้าประมงไทยที่ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจและยังคงซื้อสินค้าไทย 
          ภายใต้กรอบการค้าเสรี ทุกประเทศได้มีความพยายามร่วมกันในการที่จะอำนวยความสะดวกและลดเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดภาระในการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งกรมประมงได้มีการติดตามสถานการณ์การนำเข้าโดยตลอด พบว่าปริมาณสินค้าสัตว์น้ำเพื่อ การบริโภคในประเทศที่ได้จากการทำการประมงทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังติดปัญหา IUU อยู่นั้น จากข้อมูลการนำเข้าของด่านตรวจสัตว์น้ำกรมประมง พบว่ามีปริมาณการนำเข้าเพียง 9,000 ตัน/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตภายในประเทศถือได้ว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก เพียงร้อยละ0.6 แต่อย่างไรก็ตาม กรมประมงก็ได้มีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการนำเข้าเช่นเดียวกับมาตรการที่ไทยใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำในประเทศ กล่าวคือผู้นำเข้าจะต้องแสดงเอกสารที่รัฐบาลประเทศที่นำสินค้าเข้าออกให้เพื่อแสดงว่าสัตว์น้ำที่นำเข้ามานั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยต้องแสดงรายชื่อของเรือประมงที่ทำการจับสัตว์น้ำ เลขที่ใบอนุญาต วันที่ทำการประมง ตลอดจนน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับได้ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ กรมฯ ยังมีการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัย โดยดำเนินการเฝ้าระวังสุ่มตรวจตัวอย่างสัตว์น้ำที่นำเข้า ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำ เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม กรมประมงจะได้ดำเนินการติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์ดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
 
 
 
 

ข่าวอธิบดีกรมประมง+อดิศร พร้อมเทพวันนี้

กรมประมง...ออกโรงเตือน!! เจ้าของเรือที่มีใบอนุญาตทำการประมง หากให้ผู้อื่น “ยืม”หรือ “เช่า”เรือ เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย อ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ต้องรับโทษด้วย

กรมประมงเตือนผู้ประกอบอาชีพทำการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และพื้นบ้าน โปรดระวัง !! หากให้ผู้อื่นยืมหรือเช่าเรือของตนออกไปทำการประมง และผู้ยืมกระทำความผิดใดๆ ก็ตาม เจ้าของเรือไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ต้องรับโทษตามกฎหมายด้วย นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เนื่องจากพระราชกำหนดการประมง 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2560 ได้กำหนดให้ผู้ที่จะทำการประมงในประเทศไทยต้องขออนุญาตทำการประมงตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงในน่านน้ำไทยมีความจำ

กรมประมง...ออกโรงเตือน!! เจ้าของเรือที่มีใบอนุญาตทำการประมง หากให้ผู้อื่น “ยืม”หรือ “เช่า”เรือ เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย อ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ต้องรับโทษด้วย

กรมประมงเตือนผู้ประกอบอาชีพทำการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และพื้นบ้าน โปรดระวัง !! หากให้ผู้อื่นยืมหรือเช่าเรือของตนออก...

กรมประมง..แจงหาทางออก ม.57 แก้วิกฤต “ปลาทูอ่าวไทย” คำนึง ทรัพยากร - ปากท้อง ต้องสมดุลกัน

จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นปัญหาวิกฤตปลาทูไทยใกล้สูญพันธุ์ จากการจับลูกปลาทูขนาดเล็กไปจำหน่าย โดยขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมประมงนำ พ.ร.ก.การประมง 2558 มาตรา 57 ที่มีข้อกำหนด ...

กรมประมง….รุก ! ติดอาวุธทางปัญญาเสริมความรู้ ผลิตอาหารปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรทั่วประเทศ

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจกับการบริโภคอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้างกันมากขึ้น ดังนั้น ประเทศไทย ประเทศผู้เป็นหนึ่งฐานการผลิตสินค้า วัตถุดิบสำหรับทำอาหาร ซึ่งเปรียบเสมือนครัวโลก...

ผู้ประกอบการเรือประมงเฮ ! ! ! กรมประมงเซ็นเช็คจ่ายชดเชยเรือประมง ออกนอกระบบ ระยะที่ 1 แล้วกว่า 27 ล้านบาท

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากการที่กรมประมงได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมเจ้าท่า สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และชาวประมง ในการซักซ้อมความเข้าใจถึง...

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เป็นตัวแ... ภาพข่าว: ร่วมงานสัมมนา... — นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เป็นตัวแทนกรมประมงเข้าร่วมงานสัมมนา"GLP for Seafood Industry and Sustainable Fishing in...

กรมประมง...เตรียมเปิดเวทีประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2562 สนับสนุนการพัฒนาประมงไทยให้ก้าวไกลด้วยงานวิจัยคุณภาพ

กรมประมงกำหนดจัดการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2562 ภายใต้หัวข้อ "ประมงไทยก้าวไกลด้วยงานวิจัยคุณภาพ" ในระหว่างวันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์ กรุงเทพมหานคร นายอดิศร พร้อม...