กรมประมง..แจงแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากร “ปลาทู” อ่าวไทย เชื่อมั่นถ้าทุกคนร่วมมือกัน “ปลาทูไทยไม่หายไป”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวในประเด็นโซเชียลมีเดียตั้งข้อสังเกตถึงการหายไปของปลาทูในแถบทะเลไทยว่าประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถเพาะพันธุ์ปลาทูในบ่อดินได้และส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงปลาทูแทนการจับจากธรรมชาติ แต่การจับปลาทูไซส์เล็กยังคงอยู่ ทำปลาทูในธรรมชาติหมดโอกาสที่จะได้ขยายพันธุ์ อีกทั้งยังมีการประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจับลูกปลาทูขนาดเล็ก ประมาณ 7,000,000 – 8,000,000 บาท ต่อการทำประมง 1 เที่ยว
          นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชี้แจงแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรปลาทู ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ในอดีต กรมประมงมีความพยายามที่จะทำการเพาะพันธุ์และเลี้ยงปลาทู เพื่อให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของไทย แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาให้สามารถเลี้ยงได้ในเชิงเศรษฐกิจเพื่อที่จะสามารถนำไปส่งเสริมเกษตรกรประกอบเป็นอาชีพได้ในอนาคต
          ทั้งนี้ จากการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรปลาทูในช่วงห้าปีที่ผ่านมาที่ทำให้ "ปลาทูในอ่าวไทย" ลดลงเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว กรมประมงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้ร่วมมือกับชาวประมงทั้งพาณิชย์และพื้นบ้าน เพื่อที่จะหามาตรการที่จะควบคุมการทำประมง เพื่อทำให้"ปลาทูในอ่าวไทย" มีจำนวนมากขึ้น โดยเป็นมาตรการที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการ "ปิดอ่าว" ในพื้นที่ประจวบฯ ชุมพร และสุราษธานี ระหว่างวันที่ 15กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม ที่มีอยู่เดิมทุกปี ทั้งมาตรการในการควบคุมการทำการประมงที่มีโอกาสที่จับพ่อแม่พันธุ์ปลาทูก่อนที่จะมีการวางไข่ โดยการกำหนดขนาดตาอวนติดตาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ในช่วงเวลา "ปิดอ่าว" และมาตรการในการควบคุมการทำประมงที่มีโอกาสจับลูกปลาทูที่พึ่งเจริญเติบโต โดยการกำหนดเขตห้ามทำการประมงในพื้นที่ประมาณ 7 ไมล์ทะเล นับจากเขตชายฝั่ง ต่อจากระยะเวลาที่ปิดอ่าวออกไปอีก 1 เดือน ในพื้นที่ "ปิดอ่าว" เดิม
          และได้เพิ่มพื้นที่ในการห้ามทำการประมงให้เกิดความเชื่อมต่อกับระหว่างการ "ปิดอ่าวตอนกลาง" และ "ปิดอ่าวตอนใน" พร้อมทั้งได้ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาและพื้นที่ในการ "ปิดอ่าวตอนใน" ให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครอง "ปลาทูโตเต็มวัย" ก่อนที่จะกลับมาวางไข่ ซึ่งการออกมาตรการเหล่านี้กรมประมงและชาวประมงทั้งพื้นบ้านและพาณิชย์ ได้ร่วมกันพิจารณาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งกับ "ทรัพยากรปลาทู" และ "ชาวประมง" อันเป็นความร่วมมือของชาวประมงทั้งพื้นบ้านและพาณิชย์ที่ต่างถอยกันคนละก้าวเพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนต่อไป ถึงแม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่สามารถทำให้การจับลูกปลาขนาดเล็กหมดสิ้นไปเลย เพราะทุกภาคส่วนต่างยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชาวประมง แต่ผลจากการใช้มาตรการ ก็ยังเป็นที่ประจักษ์ว่ามีการพบเห็นปลาทูเพิ่มมากขึ้น
          นอกจากมาตรการที่ช่วยกัน "ดูแล" ทรัพยากรปลาทู จากการทำการประมงแล้ว "เราทุกคน" ก็สามารถมีส่วนร่วมได้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรปลาทูได้อย่างง่ายๆ คือ ไม่บริโภคปลาที่มีไข่ หรือ ปลาตัวเล็กๆ ปล่อยให้ปลาเหล่านี้ได้เติบโตมาเป็นอาหารในช่วงเวลาที่เหมาะสมและมีมูลค่าที่เศรษฐกิจดีกว่า หากเราทุกคนช่วยกัน กรมประมงเชื่อมั่นว่าท้องทะเล ทรัพยากรประมง จะกลับคืนความอุดมสมบูรณ์ดังเช่นแต่ก่อนได้อีกครั้ง...อธิบดีกรมประมง กล่าว
กรมประมง..แจงแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากร “ปลาทู” อ่าวไทย เชื่อมั่นถ้าทุกคนร่วมมือกัน “ปลาทูไทยไม่หายไป”
 

ข่าวอธิบดีกรมประมง+อดิศร พร้อมเทพวันนี้

กรมประมง...ออกโรงเตือน!! เจ้าของเรือที่มีใบอนุญาตทำการประมง หากให้ผู้อื่น “ยืม”หรือ “เช่า”เรือ เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย อ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ต้องรับโทษด้วย

กรมประมงเตือนผู้ประกอบอาชีพทำการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และพื้นบ้าน โปรดระวัง !! หากให้ผู้อื่นยืมหรือเช่าเรือของตนออกไปทำการประมง และผู้ยืมกระทำความผิดใดๆ ก็ตาม เจ้าของเรือไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ต้องรับโทษตามกฎหมายด้วย นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เนื่องจากพระราชกำหนดการประมง 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2560 ได้กำหนดให้ผู้ที่จะทำการประมงในประเทศไทยต้องขออนุญาตทำการประมงตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงในน่านน้ำไทยมีความจำ

กรมประมง...ออกโรงเตือน!! เจ้าของเรือที่มีใบอนุญาตทำการประมง หากให้ผู้อื่น “ยืม”หรือ “เช่า”เรือ เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย อ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ต้องรับโทษด้วย

กรมประมงเตือนผู้ประกอบอาชีพทำการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และพื้นบ้าน โปรดระวัง !! หากให้ผู้อื่นยืมหรือเช่าเรือของตนออก...

กรมประมง..แจงหาทางออก ม.57 แก้วิกฤต “ปลาทูอ่าวไทย” คำนึง ทรัพยากร - ปากท้อง ต้องสมดุลกัน

จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นปัญหาวิกฤตปลาทูไทยใกล้สูญพันธุ์ จากการจับลูกปลาทูขนาดเล็กไปจำหน่าย โดยขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมประมงนำ พ.ร.ก.การประมง 2558 มาตรา 57 ที่มีข้อกำหนด ...

กรมประมง….รุก ! ติดอาวุธทางปัญญาเสริมความรู้ ผลิตอาหารปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรทั่วประเทศ

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจกับการบริโภคอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้างกันมากขึ้น ดังนั้น ประเทศไทย ประเทศผู้เป็นหนึ่งฐานการผลิตสินค้า วัตถุดิบสำหรับทำอาหาร ซึ่งเปรียบเสมือนครัวโลก...

กรมประมงแจงข่าว...หลังถูกชาวประมงโวย!! กฎหมาย IUU ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในประเทศป่วน!!

จากกรณีที่สื่อมวลชนได้มีการนำเสนอข่าวรองประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายประมง โดยระบุว่า กฎหมายดังกล่าวทำให้ขั้นตอนการแจ้งสินค้าสัตว์น้ำเข้า-ออก...

ผู้ประกอบการเรือประมงเฮ ! ! ! กรมประมงเซ็นเช็คจ่ายชดเชยเรือประมง ออกนอกระบบ ระยะที่ 1 แล้วกว่า 27 ล้านบาท

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากการที่กรมประมงได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมเจ้าท่า สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และชาวประมง ในการซักซ้อมความเข้าใจถึง...

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เป็นตัวแ... ภาพข่าว: ร่วมงานสัมมนา... — นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เป็นตัวแทนกรมประมงเข้าร่วมงานสัมมนา"GLP for Seafood Industry and Sustainable Fishing in...

กรมประมง...เตรียมเปิดเวทีประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2562 สนับสนุนการพัฒนาประมงไทยให้ก้าวไกลด้วยงานวิจัยคุณภาพ

กรมประมงกำหนดจัดการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2562 ภายใต้หัวข้อ "ประมงไทยก้าวไกลด้วยงานวิจัยคุณภาพ" ในระหว่างวันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์ กรุงเทพมหานคร นายอดิศร พร้อม...