ฟีโบ้ มจธ. พัฒนา หุ่นยนต์สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสำรวจตรวจสอบ และตรวจหาวัตถุระเบิด ลดปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร และอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้กับประชาชน รวมทั้งลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
"หุ่นยนต์สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย" ได้รับการพัฒนาและออกแบบจากทีมวิศวกร สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย นายวุฒิชัย วิศาลคุณา นายทศพร บุญแท้ นายนที จิระจงเจริญ นายบุญเลิศ มณีฉาย นายอาทิตย์ จุลคณานุศาสตร์ นายศุภกร ชั้นเจริญศรี นายธีรภัทร เขษมเวสารัชวุฒิ นายสิทธิชัย เพราสวน และนายวีระพงศ์ ทองสา โดยนำเอาความรู้ด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย ภายใต้โครงการวิจัย "ระบบสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย โดยใช้หุ่นยนต์และอากาศยานไร้คนขับ"
นายวุฒิชัย วิศาลคุณา วิศวกรอาวุโส หัวหน้าทีมวิศวกร อธิบายว่า หุ่นยนต์สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยสามารถตรวจหาวัตถุระเบิดและผู้ก่อการร้าย เป็นการสำรวจพื้นที่ก่อนเจ้าหน้าที่ทหารจะเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยหุ่นยนต์จะมีน้ำหนักน้อย เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งพื้นราบ ทางชัน เคลื่อนที่ข้ามสิ่งกีดขวาง และขึ้น-ลงบันไดได้ มีกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหว 4 กล้อง ที่ปรับมุมกล้องได้ และมีไฟแสงสว่าง IR ทำให้สามารถถ่ายภาพตอนกลางคืนได้ รวมถึงกล้องถ่ายภาพตรวจจับความร้อน 1 กล้อง ที่ตรวจจับอุณหภูมิร่างกายหากพบว่าพื้นที่บริเวณนั้นอาจจะมีคนอยู่ การสื่อสารและควบคุมหุ่นยนต์สามารถใช้ได้ทั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ต และไวไฟ บังคับควบคุมหุ่นยนต์ได้ในระยะไกลด้วย Joystick และมีการนำไปทดสอบแล้วด้วยการจำลองสถานการณ์ร่วมกับหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) หรือ EOD ของกรมสรรพาวุธทหารบก
หุ่นยนต์สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับทุนอุดหนุนโครงการทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีกรมสรรพาวุธทหารบกเป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาและผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย ในอนาคตจะมีการต่อยอดงานวิจัยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของทหารที่ทำงานเกี่ยวกับการเก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งจะสร้างประโยชน์แก่สังคม และประเทศได้อย่างมาก
สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
ไดกิ้นเดินหน้าพัฒนา "ห้องเรียนปลอดฝุ่น" ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้คุณภาพอากาศภายในอาคาร ระดับภาคเหนือ ยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพของเด็กเล็ก
—
ไดกิ้นจับมื...
สวทช. จับมือ มจธ. เปิดรับสมัคร SMEs เพื่อยกระดับเทคโนโลยี พัฒนาโรงงาน และปรับปรุงการผลิตใน 4 จังหวัดภาคกลาง
—
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ...
65 ปี มจธ. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning University) ตลอดชีวิตเต็มรูปแบบ
—
ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า...
TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15
—
TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...
จีเอเบิล ร่วมผลักดันเยาวชนไทย คว้าชัยบนเวที PDPA Hackathon 2024
—
จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันศักยภาพเยาวชนไทย สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี...
ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คว้าแชมป์รับถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี ในงาน PDPA Hackathon 2024 สคส. พร้อมต้อนรับร่วมองค์กรในอนาคต
—
มหาวิทยาลัย...
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที...
ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จาก มจธ. ดึงกลุ่มสตาร์แห่งวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เป็นเครือข่ายสื่อสารพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่
—
ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จากมหาวิทยาลั...