กรมอนามัย ชี้ การขาดไอโอดีน มีผลต่อสตรีมีครรภ์อาจแท้งหรือทารกพิการแต่กำเนิด มีผลต่อเด็กด้านไอคิว มีผลต่อผู้ใหญ่ในการควบคุมการเจริญเติบโต และระบบเมตาบอลิซึม ร่างกายจำเป็นต้องรับเกลือเสริมไอโอดีนในปริมาณไม่เกิน 1 ช้อนชาทุกวัน
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่า เกณฑ์พื้นที่ที่ขาดสารไอโอดีน คือ พื้นที่ที่มีค่ามัธยฐานไอโอดีนใน ปัสสวะหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่า 150 ไมโครกรัม ต่อ ลิตร ซึ่งในปี 2561 พบว่า ในปัสสวะหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่ามัธยฐานไอโอดีนเพียง 131.7 ไมโครกรัม ต่อลิตร โดยหญิงตั้งครรภ์หากขาดไอโอดีนรุนแรง อาจทำให้แท้ง ทารกพิการแต่กำเนิด ปัญญาอ่อน ร่างกายแคระแกรน สำหรับแม่หากขาดไอโอดีน นอกจากจะเป็นคอพอกแล้ว ยังมีผลต่อลูกในท้อง สำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 2-3 ปี ถ้าขาดไอโอดีนจะมีสติปัญญาด้อย ไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามศักยภาพถึง 30 จุด เด็กที่อยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการขาดไอโอดีน มักมีไอคิวต่ำลงประมาณ 13.5 จุด ส่วนในผู้ใหญ่หากขาดไอโอดีน จะทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ ฮอร์โมนต่ำ ส่งผลให้เฉื่อยชา อ่อน เพลีย และ มประสิทธิภาพการทำงานลดลง
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า "รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ พร้อมทั้งได้ออกคำขวัญ "ทุกมื้อ ทุกวัน ทุกวัย ต้องได้รับไอโอดีน" ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงความจำเป็นในความต้องการรับสารไอโอดีน โดยแนะประชาชนควรบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนให้ได้ทุกวันเพียงไม่เกินวันละ 1 ช้อนชาในปริมาณที่เหมาะ กับ วัยต่างๆ ดังนี้
ความต้องการไอโอดีนในแต่ละวัย
1. หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ต้องการประมาณ 250 ไมโครกรัม /วัน
2. เด็กแรกเกิด - 5 ปี ต้องการประมาณ 90 ไมโครกรัม /วัน
3. เด็กอายุ 6- 12 ปี ต้องการประมาณ 120 ไมโครกรัม /วัน
4. เด็กวัยรุ่น - ผู้ใหญ่ ต้องการประมาณ 150 ไมโครกรัม /วัน
รณรงค์บริโภคเกลือเสริมไอโอดีนให้ได้วันละไม่เกิน 1 ช้อนชา ร่างกายต้องการไอโอดีนเพียงวันละน้อย แต่ต้องการทุกวัน แนะนำให้สังเกตฉลากระบุและซอง ต้องมีเลข อย กำกับ เท่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยประชาชนให้ได้รับไอโอดีนในทางหนึ่ง ด้วยมาตรการตอบรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการกินอาหารนอกบ้านและการซื้ออาหารสำเร็จรูป กรมอนามัยได้ทำแผนการรณรงค์ ส่งเสริมพ่อครัว-แม่ครัวทั่วประเทศ ผ่านสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร เพื่อทำการส่งเสริมสนับสนุนร้านอาหารในเครือข่ายเลือกใช้เกลือเสริมไอโอดีนและเครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีนในการประกอบอาหาร
เพื่อให้คนไทยทุกคนไดรับเกลือเสริมไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายทุกวัน พร้อมทั้ง มอบเกียรติบัตรแต่งตั้งเป็น "ทูตไอโอดีน" ในการทำหน้าที่ดังกล่าว
แพทย์หญิงพรรณพิมล ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "การป้องกันการขาดสารไอโอดีนสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเลือกบริโภคอาหารทะเลที่เป็นแหล่งของไอโอดีนเป็นประจำ เช่น ปลาทู หอย กุ้ง ปู และ สาหร่ายทะเล สำหรับ เกลือทะเลนั้น มีไอโอดีนน้อยมากไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายต้องการไอโอดีนเพียงวันละน้อย แต่ต้องการทุกวัน ไอโอดีนจึงจำเป็นสำหรับทุกมื้อทุกวัน และ ทุกวัย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกเกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา และในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลือกซื้อเกลือเสริมไอโอดีน ให้สังเกตฉลากที่มีคำว่า "เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนบนซองเกลือ และมีเลข อย กำกับบนซองเกลือทุกครั้ง" อธิบดี กรมอนามัย กล่าวปิดท้าย
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น
แอสตร้าเซนเนก้า เผยความสำเร็จในการใช้ AI คัดกรองมะเร็งปอดจากภาพเอกซเรย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพที่ยั่งยืน
—
จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็นสา...
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เร่งป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด
—
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้...
การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...
สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...
นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...
"Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน รู้เร็ว รักษาไว เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
—
หากเอ่ยถึง "โรคพาร์กินสัน" ภาพการรับรู้ของหลายคนจะม...
กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ"
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...
งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย
—
สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...
องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
—
ประเทศไทย โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุม...