เอ็นไอเอ ผนึกกำลัง เอ็มไอ นำนวัตกรรมเพื่อสังคมลุยพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงพร้อมเตรียมยกระดับการเกษตรใน 4 พื้นที่ “คำม่วน สะหวันนะเขต เมียวดี กวางตรี”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) นำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ ขยายผลสู่การพัฒนาขีดความสามารถในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยความร่วมมือดังกล่าวจะดำเนินผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดฝึกอบรมกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ การพัฒนาและแบ่งปันข้อมูลและเครือข่ายของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้ ทั้ง2 หน่วยงาน ยังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลความสำเร็จนวัตกรรมเพื่อสังคมของ NIA ให้เป็นประโยชน์กับชุมชน โดยเฉพาะใน 4 พื้นที่ได้แก่ คำม่วน สปป.ลาว สะหวันนะเขต สปป. ลาว เมียวดี ประเทศเมียนมาร์ และกวางตรี ประเทศเวียดนาม 
          ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา NIA ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นในการขยายขอบเขตการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม ซึ่งมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ความคิดใหม่ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมกันในสังคมและสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม ล่าสุด เพื่อให้แนวนโยบายดังกล่าวมีการกระจายตัว และถูกนำไปพัฒนาในวงกว้าง NIA จึงได้ร่วมมือกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) ในการร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion, GMS) ซึ่งจะร่วมมือกันนำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จและพร้อมขยายผลสู่การพัฒนาขีดความสามารถในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆด้วยกัน
          โดย NIA และ MI จะดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถในระดับภูมิภาค เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การดำเนินการโครงการความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางสังคม การจัดฝึกอบรมกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ การพัฒนาและแบ่งปันข้อมูลและเครือข่ายของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักวิชาการ นักวิจัย นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการในส่งเสริมและขยายผลความสำเร็จของโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมของไทย โดย MI จะร่วมพัฒนาข้อเสนอโครงการ และแสวงหาแหล่งทุนจากภายนอกมาสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกระจายโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความยากจน และขยายผลความสำเร็จไปสู่พื้นที่อื่นๆ ให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนทั้งภูมิภาค 
          ในโอกาสครบรอบ 10 ปี แห่งการจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA มุ่งเดินหน้าสู่การเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคม พร้อมเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการได้รับการสนับสนุนให้กับเยาวชน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจการพัฒนานวัตกรรมทุกระดับ นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ INNOVATION NATION หรือประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเต็มรูปแบบ
          ด้าน ดร.วัชรัศมิ์ ลีลาวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI) กล่าวว่า "สถาบันเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีภารกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างศักยภาพในการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและการขจัดความยากจนให้แก่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภายใต้กรอบกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาทางการเกษตรและการพาณิชย์ 2) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน และ 3) นวัตกรรมและการเชื่อมโยงเทคโนโลยี โดยสถาบันฯ จะดำเนินกิจกรรมหลักๆ 3 หัวข้อ ได้แก่ งานวิจัย งานฝึกอบรม และ งานข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
นอกจากนี้ NIA และ MI ยังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลของความสำเร็จของนวัตกรรมสังคมของ NIA ให้เป็นประโยชน์กับชุมชน โดยเฉพาะใน 4 พื้นที่ดำเนินโครงการที่ทางสถาบันฯ มีความร่วมมือและทำงานร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว ได้แก่ คำม่วน สปป.ลาว/ สะหวันนะเขต สปป. ลาว/ เมียวดี ประเทศเมียนมาร์/ และกวางตรี ประเทศเวียดนาม โดยในระยะแรกจะดำเนินการโดยใช้แนวทางการฝึกอบรม และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อการเกษตรในระยะนำร่อง (pilot phase) ใน 4 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการนำไปใช้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงตลาดในระดับอนุภูมิภาคและระดับสากลในลำดับต่อไป ก่อให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียมกันและนำไปสู่การลดความยากจนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
          อย่างไรก็ดี NIA และ MI ยังจะมีการนำเสนอโครงการ "Sustainable Agriculture and Innovation in MLC" เพื่อของบประมาณจากกองทุนพิเศษภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี 2562 (MLC Special Fund 2019) ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ ความเชื่อมโยง ศักยภาพในการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน ความร่วมมือด้านทรัพยากรและเกษตร และการขจัดความยากจนได้อย่างเป็นรูปธรรม
          สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ facebook.com/niathailand
เอ็นไอเอ ผนึกกำลัง เอ็มไอ นำนวัตกรรมเพื่อสังคมลุยพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงพร้อมเตรียมยกระดับการเกษตรใน 4 พื้นที่ “คำม่วน สะหวันนะเขต เมียวดี กวางตรี”
 
เอ็นไอเอ ผนึกกำลัง เอ็มไอ นำนวัตกรรมเพื่อสังคมลุยพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงพร้อมเตรียมยกระดับการเกษตรใน 4 พื้นที่ “คำม่วน สะหวันนะเขต เมียวดี กวางตรี”
เอ็นไอเอ ผนึกกำลัง เอ็มไอ นำนวัตกรรมเพื่อสังคมลุยพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงพร้อมเตรียมยกระดับการเกษตรใน 4 พื้นที่ “คำม่วน สะหวันนะเขต เมียวดี กวางตรี”
เอ็นไอเอ ผนึกกำลัง เอ็มไอ นำนวัตกรรมเพื่อสังคมลุยพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงพร้อมเตรียมยกระดับการเกษตรใน 4 พื้นที่ “คำม่วน สะหวันนะเขต เมียวดี กวางตรี”
 
 
 
 
 

ข่าวสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง+สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติวันนี้

NIA เวทีโชว์ศักยภาพ 21 ทีมธุรกิจนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก ในโครงการ Global Investment Link โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดงาน Demo Day Tommorow Starts Here ภายใต้โครงการ Global Investment Link เพื่อผลักดันศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ไทย จำนวน 21 ทีม ใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ นวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก นวัตกรรมด้านพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech) ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องและ E-Commerce &

ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทัก... เอ็นไอเอปั้น 80 ผู้นำนวัตกรรมเชิงนโยบายหนุนมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ — ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทักษะออกแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน...

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ห... NIA เดินหน้าสร้าง "ชาติแห่งนวัตกรรม" เปิดรับสมัคร "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2568" — สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงกา...

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานน... NIA จับมือซีพี เครือข่ายภาครัฐ และธนาคาร เปิดหลักสูตร "IBEs Driving Green Innovation" — ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ...

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

ภาพข่าว: งานสัมมนา Mekong Forum 2013

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับ สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ( Mekong Institute ) จังหวัดขอนแก่น จัดงานMekong Forum 2013 ภายใต้หัวข้อ “ Towards More Inclusive and Equitable Growth in the Greater Mekong Subregion ” โดย...

ITD ร่วมกับ MI จัดงาน แม่โขง ฟอรั่ม 2013

ITD ร่วมกับ MI จัดงาน แม่โขง ฟอรั่ม 2013 ความร่วมมือเพื่อการเติบโตที่ครอบคลุมและเท่าเทียมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ( Mekong Institute ) จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา International...