- มูลนิธิซิตี้ ประเทศไทย เดินหน้า "ยูธ โคแล็บ" ลุย
พัฒนาศักยภาพเยาวชน เสริมฝันไอเดีย
ธุรกิจเพื่อสังคม หวังช่วยปลดล็อกปัญหาการว่างงาน ที่ปัจจุบันมีจำนวนเยาวชนไร้งานทะลุ 33 ล้านคนทั่ว
เอเชียแปซิฟิก พร้อมดัน 2 ทีมตัวแทนไทย เข้าร่วมคว้าชัยเวทีประกวดระดับโลก
มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) และ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เวียดนาม จัดงาน ยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2019 (Youth Co:Lab Summit 2019) เวทีเสวนาระดับเอเชียแปซิฟิก เพื่อแลกแนวคิดธุรกิจ และนวัตกรรมทางสังคม ระหว่างเยาวชนทั่วภูมิภาค ต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ สู่ธุรกิจและนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมผนึกกำลังพันธมิตรสหประชาชาติสู่เป้าหมายการพัฒนาสังคมโลกอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน โครงการยูธ โคแล็บได้ขยายไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวม 20 ประเทศ มีเยาวชนผู้เข้าร่วมมากกว่า 48,000 คน สร้างผู้ประกอบการทางสังคมหน้าใหม่กว่า 2,500 คน ช่วยสนับสนุน และพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมรวมกว่า 500 แห่ง และมีกิจกรรมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้เยาวชนวัยหนุ่มสาว สามารถก้าวข้ามความท้าทายเรื่องการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนในภูมิภาค และมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจได้ด้วยตนเอง โดยปัจจุบันทั่วเอเชียแปซิฟิกมีปัญหาการว่างงานของเยาวชนกว่า 33 ล้านคน
ทั้งนี้ ยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2019 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้เข้าร่วม ทั้งเยาวชน พาร์ทเนอร์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และองค์กรภาครัฐ จากกว่า 20 ประเทศ รวมกว่า 500 คน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการยูธ โคแล็บ ได้โดยการติดตาม #YouthCoLab และyouthcolab.org
แบรนดี้ แมคเฮล ประธานมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) และผู้บริหารสายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของซิตี้ กล่าวว่า มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นดีพี และ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เวียดนาม จัดงาน "ยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2019 (Youth Co:Lab 2019)" เวทีสนทนาระดับเอเชียแปซิฟิก เพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียธุรกิจ และนวัตกรรมเพื่อสังคม ระหว่างเยาวชนในโครงการ ผนึกกำลังพันธมิตรที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการพัฒนาศักยภาพเยาวชน มุ่งเน้นพัฒนา ให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้คำปรึกษาแก่เยาวชนในด้านต่างๆ สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นในสังคมโลก โดยซัมมิทดังกล่าว จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และมีผู้เข้าร่วม ทั้งเยาวชน พาร์ทเนอร์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และองค์กรภาครัฐ จากกว่า 20 ประเทศ รวมกว่า 500 คน
มูลนิธิซิตี้ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ โครงการยูธ โคแล็บ เป็นโปรเจกต์ศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนไอเดียสร้างสรรค์ และพัฒนาความฝันธุรกิจของเยาวชนให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้ สามารถย้อนกลับมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกปัจจุบัน ผ่านภาคีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โครงการยูธ โคแล็บ ได้รับความสนใจ และกระแสตอบรับที่ดีจากเยาวชนจำนวนมาก ปัจจุบัน โครงการดังกล่าว ได้ขยายไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวม 20 ประเทศ และมีกิจกรรมระหว่างภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยัจจุบันมีเยาวชนผู้เข้าร่วมมากกว่า 48,000 คน สร้างผู้ประกอบการทางสังคมหน้าใหม่กว่า 2,500 คน และช่วยสนับสนุน และพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมรวมกว่า 500 แห่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คุณแบรนดี้ กล่าวสรุป
วาเลอร์รี คลิฟ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นดีพี (UNDP) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานโครงการยูธ โคแล็บที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนเยาวชน ให้ก้าวขึ้นเป็นผู้ประกอบการทางสังคม และธุรกิจเพื่อสังคมจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยูเอ็นดีพี และมูลนิธิซิตี้ เล็งเห็นว่า พลังของคนรุ่นใหม่ เป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยยูเอ็นดีพี ยังคงเดินหน้าสนับสนุนโมเดลการเสริมสร้างระบบนิเวศของโครงการยูธ โคแล็บ เพื่อเพิ่มโอกาสเยาวชนในด้านต่างๆ ทั้งการเข้าถึงความรู้ ทักษะการประกอบการ ทุนทรัพย์ ทัศนคติเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ฯลฯ เชื่องต่อเครือข่ายสหประชาชาติเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้าน วันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย และตัวแทนมูลนิธิซิตี้ ประเทศไทย กล่าวว่า ซิตี้ ประเทศไทย ได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ตั้งแต่ปีแรก เนื่องจากเล็งเห็นถึงพลังสร้างสรรค์ ศักยภาพ และความสามารถของเยาวชนไทย และเพื่อผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เข้าถึงกับบริบทของสังคมไทยเช่นเดียวกัน ผ่านวิสัยทัศน์เส้นทางสู่ความก้าวหน้า หรือ Pathways to Progress ของมูลนิธิซิตี้ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชน ให้มีศักยภาพเติบโตตามเศรษฐกิจในปัจจุบันอย่างเท่าทัน
"สถิติจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศระบุว่า เยาวชนกว่า 220 ล้านคนทั่วโลก ไม่ได้กำลังศึกษา หรือประกอบอาชีพ ในจำนวนนั้นเยาวชนกว่า 71 ล้านคนทั่วโลกกำลังว่างงาน และคิดเป็นจำนวนสูงถึง 33 ล้านคนทั่วเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง โปรเจกต์ยูธ โคแล็บ จึงนับเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนสำหรับเยาวชน ให้มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ และมีต้นทุนทางธุรกิจ ให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายเรื่องการว่างงาน และมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจได้ด้วยตนเอง"
ทั้งนี้ โครงการยูธ โคแล็บ ปีที่ 2 มีเยาวชนไทยสนใจเข้าร่วมกว่า 150 คน สะท้อนศักยภาพของเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ที่ต้องการนำความรู้ความสามารถ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ยังมี 2 ทีมตัวแทนระดับประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมเวทีประกวดไอเดียธุรกิจในระดับเอเชีย ในงาน "ยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2019 (Youth Co:Lab 2019)" จากผู้ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดเพียง 30 ทีม จาก 16 ประเทศ คุณวันวิสาข์ กล่าวสรุป
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการยูธ โคแล็บ ได้โดยการติดตาม #YouthCoLab และ youthcolab.org
เกี่ยวกับยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab)
เปิดตัวในปี พ. ศ. 2560 และเป็นโครงการที่ประกอบด้วยการเสวนาระดับประเทศ (National Dialogues) และการแข่งขันประกวดนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation Challenges) เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้นำของเยาวชนโดยการปลูกฝังการประกอบธุรกิจของเยาวชนและนวัตกรรมทางสังคม โดยการอภิปรายระดับประเทศเป็นการเชิญผู้แทนจากภาคเอกชนและภาครัฐมาพูดคุยถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สามารถพัฒนาการส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบการเยาวชนในภูมิภาค การประกวดนวัตกรรมทางสังคมซึ่งจัดขึ้นในลักษณะเดียวกับ start-up hackathons จะช่วยให้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงความสามารถด้านธุรกิจเพื่อสังคมที่มุ่งหวังช่วยแก้ไขปัญหาสังคมหลักๆ ในโลก
ในปีแรกของการร่วมมือระหว่าง มูลนิธิซิตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้เปิดตัวโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) ในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และจีน และในปัจจุบัน มีการก่อตั้งหรือพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมจำนวนกว่า 72 ธุรกิจในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ยังริเริ่มโครงการดังกล่าวในอีก 8 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ มัลดีฟส์ เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน วานูอาตู หมู่เกาะโซโลมอน ปากีสถาน และเวียดนาม
Pathways to Progress เป็นแนวคิดหลักด้านการพัฒนาเยาวชนของมูลนิธิซิตี้ ให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของเยาวชนทั่วโลก ด้วยความพยายามของมูลนิธิซิตี้และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงการโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครซิตี้ที่อุทิศให้กับโครงการ Pathways to Progress ซึ่งโครงการนี้ได้สนับสนุนเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี เพื่อเสริมสร้างความคิดริเริ่มในการเป็นผู้ประกอบการ และการมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการจากการเริ่มต้นทำงานของเยาวชนเหล่านี้