ทีเซลส์ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายวิจัยพัฒนา ส่งเสริมผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายโปรแกรมบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในเครือข่ายวิจัยพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์ 4 สถาบัน จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED โดย นายธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จับมือร่วมบูรณาการทางวิชาการ การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ เพื่อประสานความร่วมมือให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการผลักดันงานด้านวิชาการให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการทำวิจัยร่วมกัน ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ชั้น 9 อาคารเอสพีอี ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้
          ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "ทีเซลส์ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED ที่มีความร่วมมือด้วยกันทั้งทางวิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ ทำให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งมากขึ้น การเพิ่มขีดความสามารถในการทำวิจัยและพัฒนาให้สูงมากขึ้น จึงเป็นผลดีต่อทุกหน่วยงานได้รับประโยชน์ และเป็นผลดีต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทีเซลส์ เป็นหน่วยงานที่ร่วมพัฒนาชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้ร่วมพัฒนาห่วงโซ่ของชีววิทยาศาสตร์ รวมถึงการร่วมมือกับทุกหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการของประเทศไทย และสนับสนุนการทำวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ที่เป็นงานวิจัยตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ"
          อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง 8.5-10% ต่อปี (ปี ค.ศ. 2016-2019) มากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก เป็นผลมาจากประชากรที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามารับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำในไทยอย่างต่อเนื่อง มีอัตราการเติบโต 10% ต่อปี ส่งผลต่อการขยายสาขาของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศ การจัดทำนโยบาย เมดิคอลฮับของรัฐบาล และมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีส่วนช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต แต่การเข้ามาของบริษัทข้ามชาติจะทำให้ตลาดเครื่องมือแพทย์มีการแข่งขันสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อกำไรโดยรวมของผู้ประกอบการรายย่อยได้
          ขณะที่ตลาดเครื่องมือแพทย์ในไทย มีมูลค่าสูงถึง 1.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 2017 โดยบริษัทผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 538 แห่ง (มกราคม ปี ค.ศ. 2018) แบ่งเป็น กลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง 62.2% กลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 18.3% กลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค 8.4% กลุ่มบริการและซอฟต์แวร์ 2.3% และกลุ่มอื่นๆ 8.4% ทั้งนี้ไทยเป็นผู้นำเข้าและส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน และการผลิตเครื่องมือแพทย์ในไทยคิดเป็นมูลค่า 1.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ
          สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโลกมีมูลค่าสูงถึง 361 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน ปี ค.ศ. 2017 และคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2020 จะเพิ่มขึ้นเป็น 436 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการเติบโตเฉลี่ยที่ 6.4% ต่อปี เมื่อแบ่งสัดส่วนตลาดตามประเภทของเครื่องมือแพทย์จะพบว่า วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์คิดเป็น 20% ชุดสารเคมีและชุดวินิจฉัยโรค 4% และ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 76% ของมูลค่าตลาด

ทีเซลส์ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายวิจัยพัฒนา ส่งเสริมผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์
 
ทีเซลส์ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายวิจัยพัฒนา ส่งเสริมผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีวันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...