เกษตรกรเมืองสุพรรณ เลี้ยงปศุสัตว์ ควบคู่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง-โควิด19

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีอาชีพใหม่ที่สร้างรายได้ที่มั่นคง โดยสนับสนุนการเลี้ยงปศุสัตว์ ควบคู่กับการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์และจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขึ้นช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ

เกษตรกรเมืองสุพรรณ เลี้ยงปศุสัตว์ ควบคู่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง-โควิด19

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ภายใต้หลักการ “การตลาดนำการผลิต” เพื่อพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์จำหน่าย ทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ โคเนื้อขุน กระบือเนื้อ แพะเนื้อ และไก่พื้นเมือง โดย ธ.ก.ส. จะสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มละไม่เกิน 10 ล้านบาท ดอกเบี้ยล้านละ 100 บาท/ปี ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 62 – 30 พ.ย. 65 เกษตรกรเมืองสุพรรณ เลี้ยงปศุสัตว์ ควบคู่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง-โควิด19

จากการลงพื้นที่ของ สศก. โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งผลิตปศุสัตว์ลำดับที่ 5 ของภาคกลาง (ข้อมูลจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี) ปัจจุบันมีการเลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 140,469 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 6,405 ราย ในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ ศรีประจันต์ และสามชุก ส่วนการเลี้ยงแพะมีจำนวน 24,649 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 895 ราย ในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ สองพี่น้อง และด่านช้าง จึงมีความต้องการอาหารสัตว์ในปริมาณมาก อีกทั้งตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการโคเนื้อจำนวนมาก นอกจากจะส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคแล้วยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์ โดยเฉพาะหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ซึ่งเป็นพืชมีคุณค่าทางอาหาร ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เป็นการเพิ่มรายได้และลดต้นทุน ในการเลี้ยงโคขุนควบคู่กันไป อีกทั้งกรมปศุสัตว์ได้เข้ามาสนับสนุนด้านองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้มีแหล่งความพร้อมด้านอาหารสำหรับปศุสัตว์อีกด้วย เกษตรกรเมืองสุพรรณ เลี้ยงปศุสัตว์ ควบคู่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง-โควิด19

ด้านนายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวเสริมว่า สำหรับการเลี้ยงโคขุน มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 41,835 บาท/ตัว เกษตรกรจะนำโคที่มีน้ำหนักประมาณ 290 กิโลกรัม มาเลี้ยงเป็นเวลา 110 วัน เมื่อได้น้ำหนักประมาณ 486 กิโลกรัม จะจับขายในราคา 43,133 บาท/ตัว ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 2,432 บาท/ตัว โดยส่งขายให้กับพ่อค้าเพื่อรวบรวมส่งออกไปยังประเทศเวียดนามและจีน การเลี้ยงแพะขุน มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,512 บาท/ตัว เกษตรกรจะนำแพะที่มีน้ำหนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม นำมาขุนเป็นเวลา 90 วัน เมื่อได้น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม จะจับขายในราคา 3,995 บาท/ตัว ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 483 บาท/ตัว โดยส่งขายให้กับพ่อค้ารวบรวมส่งไปยังประเทศเวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนการปลูกหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์และจำหน่าย มีพื้นที่ปลูกจำนวน 2,185 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอหนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์ เกษตรกรผู้ปลูก 338 ราย มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 20,763 บาท/ไร่/ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เฉลี่ย 6 รอบ/ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 43,326 กิโลกรัม/ปี ราคา ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 1.20 บาท/กิโลกรัม ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 31,228 บาท/ไร่/ปี โดยส่งขายให้กบฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้ เกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจรายละเอียดการผลิตและการตลาดด้านปศุสัตว์ในจังหวัดสุพรรณบุรี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.7 โทร. 0 5640 5007-8 หรืออีเมล [email protected] เกษตรกรเมืองสุพรรณ เลี้ยงปศุสัตว์ ควบคู่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง-โควิด19


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...