ช่วงนี้มีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจส่งผลกระทบต่อการปลูกถั่วลิสง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงให้หมั่นสังเกตอาการของโรคโคนเน่าขาว หรือ โรคลำต้นเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii) ที่สามารถพบได้ในระยะการออกดอกจนถึงระยะติดฝักของถั่วลิสง เริ่มแรกจะพบยอด กิ่ง และลำต้นของถั่วลิสงเหี่ยวและยุบเป็นหย่อมๆ ส่วนบริเวณโคนต้นเหนือดินจะพบแผลสีน้ำตาลและเส้นใยสีขาวหยาบของเชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นเส้นใยของเชื้อจะรวมตัวเป็นเม็ดเล็กสีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำคล้ายเมล็ดผักกาด ต่อมาต้นจะแห้งและตายในที่สุด
หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วลิสงแล้ว เกษตรกรควรทำลายซากต้นถั่วลิสงด้วยการไถกลบให้ลึกพลิกหน้าดินตากแดด เพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุโรค และฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน จากนั้น ให้ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ก่อนปลูกเพื่อปรับสภาพดิน และควรจัดระยะปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้โคนต้นโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้มีความชื้นสูง เพื่อเป็นการลดการระบาดของโรค อีกทั้งแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี
กรณีในแปลงที่พบการระบาดของโรคโคนเน่าขาว หรือ โรคลำต้นเน่า ให้เกษตรกรควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด เป็นต้น อีกทั้งควรล้างทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด โดยการผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนต้นและขุดดินบริเวณที่พบนำไปทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้รดดินในหลุมและบริเวณใกล้เคียงเพื่อป้องกันเชื้อราแพร่ไปยังต้นข้างเคียงด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคาร์บอกซิน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสาร โทลโคลฟอส-เมทิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยรดสารทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรูในปีที่ผ่านมาทำให้จังหวัดศรีสะเกษเจอสถานการณ์ลมแรงและฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากมีน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย จึงได้สั่งการให้ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดศรีสะเกษออกให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบหลังจากน้ำลดเพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่ประสบภัย และมอบปัจจัยการผลิต โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก ในพื้นที่ อำเภอกันทรารมย์ อำ
กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
กรมวิชาการเกษตร ลุยถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันจาวมะพร้าว สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ตั้งเป้าบุกตลาดพรีเมียมภายใต้แบรนด์สินค้าชุมชน
—
นางสาวศุภมาศ...
กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าผลักดันระบบบริหารงานวิจัย สู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
กรมวิชาการเกษตร ปลื้มเทคโนโลยีปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ดินเค็ม ให้ผลผลิตคุณภาพรสชาติหอมหวาน
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ก...
กรมวิชาการเกษตร จัดใหญ่โชว์งานวิจัยใช้ได้จริง พร้อมเปิดเวทีจัดกิจกรรมสาธิตสร้างอาชีพเสริม ดีเดย์พร้อมเปิดงาน 31 ม.ค. นี้
—
กรมวิชาการเกษตร ขนทัพจัดเต็มนำผ...
กรมวิชาการเกษตร เปิดพิพิธภัณฑ์พืชชวนผู้สนใจเข้าชม "หนังสือเก็บพันธุ์ตัวอย่างพรรณไม้เล่มแรกของไทย" มรดกแห่งความรู้ด้านพฤกษศาสตร์
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์...
กรมวิชาการเกษตรเดินสายถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับเพาะเลี้ยงไข่ผำ อาหารแห่งอนาคต ด้วยมาตรฐาน GAP
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ป...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกความร่วมมือ เจียไต๋ ขับเคลื่อนเกษตรยุคใหม่ เสริมแกร่งภาคเกษตรไทย พัฒนานวัตกรรม และเครื่องจักรกลการเกษตร
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิ...