กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานหรือมีลักษณะที่ไม่สวยงามที่จะนำมาขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรต้องขายผลไม้เหล่านี้ในราคาที่ถูกลง หรือนำไปทำอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย หรือปล่อยทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นขยะอาหาร ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทน ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปผลไม้ที่ไม่ได้คุณภาพโดยนำร่องกับส้มโอขาวแตงกวาที่บางฤดูกาลมีขนาดไม่ได้มาตรฐานหรือไม่สวยงามตามความนิยมของผู้บริโภค เช่น ส้มโอที่มีผิวและทรงไม่สวย เปลือกหนา รสชาติไม่หวาน โดยนำเนื้อและเปลือกของส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ เม็ดฟู่ส้มโอขาวแตงกวา เยลลี่กัมมี่ส้มโอขาวแตงกวา บาล์มอโรม่าส้มโอขาวแตงกวา และสครับขัดผิวส้มโอขาวแตงกวา เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเนื้อและเปลือกของส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท

กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

นางสาววรารัตน์ ศรีประพัฒน์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อส้มโอและเปลือกส้มโอ พบว่าในเนื้อจะถูกนำไปพัฒนาเป็นตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากผลส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาในรูปแบบเม็ดฟู่ และในส่วนเปลือกจะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่เพื่อสุขภาพ เนื่องจากในน้ำ เนื้อ และเปลือกของส้มโอที่เหลือทิ้งมีสารสำคัญที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินซี และสารลีโมนีน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสารดี-ลิโมนีน ที่สกัดได้จากส้ม ส้มโอ มะนาว และมะกรูดได้รับความนิยมมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการแพทย์เภสัชกรรม และเครื่องสำอาง เป็นต้น เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยต่อร่างกายและสามารถบริโภคได้

นอกจากนี้ ยังพบว่าส้มโอที่เหลือทิ้งมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น สาร ?-Pinene (อัลฟ่า-ไพนีน) ?-Pinene (เบต้า-ไพนีน) ?-Myrcene (เบต้า-เมอร์ซีน) ?-Phellandrene (อัลฟ่า-เฟลแลนดรีน) D-Limonene (ดี-ลิโมนีน) และ ?-Phellandrene (เบต้า-เฟลแลนดรีน) ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน ได้แก่ ช่วยบำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยขยายหลอดลม บรรเทาอาการหอบหืด เสริมสร้างความจำ ลดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลายนอนหลับง่ายขึ้น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด ช่วยระบบย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญและการไหลเวียนเลือด ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเม็ดฟู่และเยลลี่กัมมี่ ของนักวิจัยในโครงการ คือ นางสาวปิยนุช ศรชัย และ นายสมชาย หลวงสนาม ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากกว่า 90% รวมถึงมีแผนจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ

"กรมวิชาการเกษตร ได้บูรณาการงานวิจัยและพัฒนา โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อแก้ปัญหาขยะจากเปลือกส้มโอที่มีปริมาณมากของเกษตรกรชาวสวนส้มโอ ช่วยลดการสูญเสียอาหารที่กลายเป็นขยะอาหารของประเทศไทย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมเกษตรไทยในตลาดโลก สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อน BCG สำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ โทรศัพท์ 0 2904 6885 ต่อ 95


ข่าวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร+ภัสชญภณ หมื่นแจ้งวันนี้

ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง "นูทริชั่น โปรเฟส" พร้อมก้าวสู่ตลาดหลักทรัพย์ mai

บริษัท นูทริชั่น โปรเฟส จำกัด (มหาชน) หรือ NUT ผู้นำด้านการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารครบวงจร เตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ตอกย้ำศักยภาพของธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสรักและดูแลสุขภาพที่ขยายตัวไม่หยุด หลังก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง โดยมีบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน นายภาคิณ กิตติภานุวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นูทริชั่น โปรเฟส จำกัด (มหาชน) หรือ NUT เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO)

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...