กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สถาบันพัฒนามาตรฐานและตรวจสอบรับรอง (ศชน.สมต.) ได้ปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือกับกองการยาง กรมวิชาการเกษตร ภายใต้ "โครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการของประเทศในการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025" และตามงบประมาณโครงการผลิตวัสดุควบคุมคุณภาพด้านยางเพื่อส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางในประเทศของ สกสว.
ในการนี้ ศชน.สมต. นำโดย นางเยาวลักษณ์ ชินชูศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ และคณะ ได้เดินทางไปร่วมวางแผน จัดเตรียมตัวอย่าง และศึกษาการทดสอบตัวอย่างยางแท่ง ร่วมกับนางสาวปฏิมาภรณ์ สังข์น้อย ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมยางสงขลา กองการยาง กรมวิชาการเกษตร และทีมงาน สำหรับกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการและนำไปสู่การพัฒนาเป็นวัสดุอ้างอิงด้านยางแท่ง (STR) ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2568 เพื่อเตรียมตัวอย่างสำหรับจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการทดสอบยางแท่ง (Block rubber) จำนวน 8 รายการทดสอบ ได้แก่ (1) ปริมาณสิ่งสกปรก: Dirt (2) ปริมาณเถ้า: Ash (3) ปริมาณไนโตรเจน: Nitrogen (4) ปริมาณสิ่งระเหย: Volatile matter (5) การทดสอบความอ่อนตัว: Plasticity Original (6) ดัชนีความอ่อนตัว: Plasticity Retention Index (7) การทดสอบสี: Colour Lovibond Scale และ ( การทดสอบความหนืด: Mooney Viscosity ณ ห้องปฏิบัติการศูนย์ควบคุมยางสงขลา และได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวอย่างยางแท่ง และแนวทางในการป้องกันปัญหาของการเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบปริมาณไนโตรเจนที่มีความไวต่อความชื้น ซึ่งการดำเนินงานในโครงการนี้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การทวนสอบความใช้ได้ของวิธีการทดสอบและการประกันคุณภาพผลการทดสอบ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านยางให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา (Cambodia) สปป.ลาว (Lao PDR) เมียนมาร์ (Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam) และเพิ่มศักยภาพการส่งออกยางแท่งเอสทีอาร์ของประเทศไทยสู่ตลาดโลก
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยร่วมกันในการผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference material) ด้านยางแท่งที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ห้องปฏิบัติการต้องจัดหาซื้อจากต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น การพัฒนาและผลิตวัสดุอ้างอิงด้านยางแท่ง จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออกเกี่ยวกับวัตถุดิบยาง และผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพ รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัสดุอ้างอิงด้านยางได้อีกด้วย
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) นำโดยโดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ดร.กรธรรม สถิรกุล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม พร้อมคณะนักวิทยาศาสตร์ ร่วมประชุมและศึกษาดูงาน "ระบบบริหารงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร" ภายใต้ โครงการพัฒนายกระดับการบริหารจัดการแผนงานวิจัยและนวัตกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อแลกเปลี่ยนด้านการพัฒนาระบบบริหารงาน ตลอดจน ผลักดันผลงานวิจัยสู่ใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่
กรมวิทย์ฯ บริการ นำทีมนักวิทย์ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ จังหวัดนครพนม
—
นางพจมาน ท่าจีน รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นำทีมผู...
กรมวิทย์ฯ บริการ คว้า 3รางวัล จากเวทีนานาชาติ "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
—
ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิ...
กรมวิทย์ฯ บริการ ประกาศความพร้อม!! เปิดให้บริการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน "DSS Recognized Lab" ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการไทย
—
กรมวิทยาศาสตร์บ...
กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมประชุมกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร ด้านวัตถุเจือปนอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มชีวเคมี ศูนย์ห้องปฎิ...
กรมวิทย์ฯ บริการ เดินหน้าพัฒนาผู้ประเมิน เสริมองค์ความรู้ การควบคุมคุณภาพผลการวิเคราะห์ทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม
—
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริ...
กรมวิทย์ฯ บริการ ประชุมวิชาการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอการพัฒนาองค์ความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันจากกัญชง ณ จังหวัดนครราชสีมา
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรว...