"โรคความดันโลหิตสูง" ทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง ซึ่งนำไปสู่สภาวะ การแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรค หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์-อัมพาต หรือแม้แต่โรคไตวายเรื้อรัง ทั้งที่ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ สามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ในระยะแรกโรคความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการ จะแสดงอาการเมื่อเป็นมากแล้ว และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจไม่เพียงพอ "คุณจะไม่ทราบเลยว่าค่าความดันโลหิตในร่างกายคุณเริ่มสูงขึ้น หากไม่ ตรวจสุขภาพ หรือหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ"
แล้วค่าความดันโลหิตแบบไหน…ที่เรียกว่า "ความดันโลหิตสูง" ?
ค่าความดันโลหิตของผู้ใหญ่ โดยปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดไว้ว่า หากมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง
ค่าความดันสำคัญอย่างไร?
หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด ออกซิเจน และสารอาหารผ่านหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย โดยความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่ดันต้านกับผนังเส้นเลือดแดง ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่ โดยปกติ จะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า หากมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตที่สูงจะส่งผลต่อหลอดเลือดในร่างกาย และทำให้หลอด เลือดเกิดการเสียหาย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองอีกทั้งอาการของโรคความดันโลหิตสูง ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการหากปล่อยไว้โดยไม่รู้ว่าตนเองมีอาการดังกล่าว อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและเกิดภาวะฉุกเฉิน อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจขั้นรุนแรง อัมพฤต อัมพาตได้
สาเหตุความดันโลหิตเกิดจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ได้แก่
ทราบได้อย่างไรว่ามีความดันโลหิตสูง ?
วัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดัน ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบปรอท ซึ่งสามารถตรวจวัดด้วยตนเอง ที่บ้าน หรือจะมาตรวจวัดที่โรงพยาบาลก็ได้ ซึ่งการมาตรวจวัดที่โรงพยาบาลก็มีข้อดีตรงที่ มีบุคลากรให้คำปรึกษาได้ ทั้งเรื่องการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง และการปฏิบัติตัวเมื่อวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าผลผิดปกติ
การรักษา
เริ่มแรกคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง เช่น งดเค็ม ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น แต่หากควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้หรือระดับความดันโลหิตสูงมาก การรับประทานยา คือ อีก 1 วิธีการในการรักษาที่ได้ผล ซึ่งในบางครั้งความดันโลหิตที่สูงมากจนอันตราย อาจได้รับคำแนะนำให้เริ่มทานยาลด ความดันโลหิตควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปพร้อมกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจต้องใช้เวลา เป็นเดือนกว่าจะได้ผล แต่การกินยาจะมีผลในการลดความดันโลหิตได้ตั้งแต่เม็ดแรกที่ทาน
การป้องกัน
โรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ หรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ โดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการดื่มคาเฟอีน ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ: ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท โทร . 02-391-0011 ต่อ 665, 666
ปัจจุบันคนที่เป็นโรคไตวายมีจำนวนมากขึ้น สาเหตุหลักมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดในตระกูล NSAIDs นิ่วในไต โรคเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการนับเป็นภัยเงียบ ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นไตวายระยะสุดท้ายได้ คือ ระยะที่ 5 ของเสียจะคั่งค้างในกระแสเลือด ต้องรักษาโดยการฟอกไตและล้างไตทางช่องท้อง การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน สามารถช่วยชะลอการฟอกไตและลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน คนเป็นโรคไตสามารถทานยาจีนได้ไหม? คนเป็นโรคไตส่วนใหญ่มักมีอาการขับถ่าย
โรคอ้วน ผ่าตัดได้ ที่โรงพยาบาลธนบุรี2
—
โรคอ้วน (Morbid obesity) คือภาวะที่ร่างกายมี BMI มากกว่า 30 kg/m2 เป็นภาวะที่พบมากในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็น...
รพ. หัวใจกรุงเทพ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเทคนิคสายสวนผ่านทางข้อมือ แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
—
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการเกาะของคราบไข...
ความเงียบจากรถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนช่วยสุขภาพของหัวใจ และลดมลพิษทางเสียง
—
มลภาวะทางเสียงจากการจราจรกลายเป็นภัยคุกคามอันดับสองต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน...
สูงวัยไทยป่วย “ความดันโลหิตสูง” เพิ่มมากขึ้น
—
จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกหรือ WHO พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่วยเป็นภา...
รู้จักหรือยัง? 3-4-50 โมเดลสุขภาพ ปรับเปลี่ยน 3 พฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลด 4 โรคเรื้อรัง อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 50% ของคนทั่วโลก
—
การมีสุขภาพดี ไม่มีโรค...
แพทย์แนะ 6 Tips ‘ลด ละ เลี่ยง’ โรคความดันโลหิตสูง
—
แพทย์แนะ 6 Tips ‘ลด ละ เลี่ยง’ โรคความดันโลหิตสูง โดย นพ.มงคล จิรสถาพร อายุรแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ...