ปัจจุบันคนที่เป็นโรคไตวายมีจำนวนมากขึ้น สาเหตุหลักมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดในตระกูล NSAIDs นิ่วในไต โรคเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการนับเป็นภัยเงียบ ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นไตวายระยะสุดท้ายได้ คือ ระยะที่ 5 ของเสียจะคั่งค้างในกระแสเลือด ต้องรักษาโดยการฟอกไตและล้างไตทางช่องท้อง การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน สามารถช่วยชะลอการฟอกไตและลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน
คนเป็นโรคไตส่วนใหญ่มักมีอาการขับถ่ายไม่ออก ถ้าหากร่างกายไม่สามารถขับของเสียได้ จะทำให้ของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ระบบร่างกายมีปัญหา ยาจีนสามารถช่วยขับของเสียผ่านระบบขับถ่าย และบำรุงไตด้วย
การรับประทานยาจีนควรปรึกษาแพทย์แผนจีนที่มีใบประกอบโรคศิลปะ และมีประสบการณ์การรักษา แพทย์จีนจะวินิจฉัยโรคตามหลักแพทย์แผนจีน สอบถามประวัติ แมะชีพจร ดูลิ้น ยาจีนบางตัวอาจจะไม่เหมาะกับร่างกายเรา ถ้าหากทานยาที่ไม่เหมาะกับร่างกาย อาจจะทำให้ร่างกายแย่และไตเสื่อมมากขึ้น
ระยะที่ 1 ระยะที่เริ่มเสื่อม มีโปรตีนรั่ว ยังไม่มีอาการใดๆ ชัดเจน
>> แพทย์แผนจีนจะจ่ายยาบำรุง ช่วยบำรุงให้ไตแข็งแรง
ระยะที่ 2 ระยะที่ไตเริ่มถูกทำลาย
>> แพทย์จีนจะบำรุงและฟื้นฟูไต ปรับสมดุลร่างกายให้เหมาะสมแข็งแรง
ระยะที่ 3 ระยะที่ไตเริ่มเสื่อมปานกลางมักไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะทราบว่าตัวเองเป็นโรคไตจากแพทย์ผู้ทำการรักษา
>> แพทย์จีนจะบำรุงไต ขับพิษของเสียในร่างกายให้มากขึ้น ปรับสมดุล ป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมมากขึ้น
ระยะที่ 4 ระยะที่ไตเริ่มวาย มีอาการอ่อนเพลียง่าย ขาเริ่มบวมน้ำ คันตามผิวหนัง เพราะพิษของเสียมากขึ้น
>> แพทย์จีนต้องบำรุงไตและเน้นขับพิษของเสียในร่างกาย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาจะไปสู่ระยะที่ 5 ได้เร็วขึ้น
ระยะที่ 5 ไตวายระยะสุดท้าย คือ รอฟอกไต ผู้ป่วยจะมีอาการ อ่อนเพลียมาก เท้าบวมน้ำ คันตามผิวหนัง ขับถ่ายไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียน
> ระยะนี้ต้องขับของเสีย ทางระบบขับถ่ายบำรุงร่างกาย ลดอาการเพลียบรรเทาอาการที่แสดงและชะลอการฟอกไต
ระยะที่ 1-3 เป็นระยะที่แพทย์แผนจีนเน้นบำรุง รักษา ปรับสมดุลร่างกายให้แข็งแรง ชะลอการเสื่อมของไต เพราะไตเพิ่งเริ่มเสื่อม อาการต่างๆ ที่แสดงออกมาไม่มาก
หากเข้าสู่ระยะ 4 การรักษาช่วยฟื้นฟูไต และชะลอการฟอกไต
ส่วนระยะ 5 การรักษาช่วยชะลอการฟอกไต และลดอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการฟอกไต
ดังนั้น การรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนนับว่าเป็นอีกทางเลือกที่สามารถบำรุง ปรับสมดุล ช่วยการชะลอการฟอกไตและแนะนำผู้ป่วยควบคุมอาหารเพื่อช่วยเพิ่มประสิธิภาพในการรักษา
โรคอ้วน (Morbid obesity) คือภาวะที่ร่างกายมี BMI มากกว่า 30 kg/m2 เป็นภาวะที่พบมากในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันเกาะตับ โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคข้อเสื่อม เป็นต้นการผ่าตัดผู้ป่วย โรคอ้วนมี 3 ประเภท การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง (restrictive procedure) การผ่าตัดเพื่อลดการดูดซึมอาหาร (malabsorptive procedure) การผ่าตัดอาศัยทั้งกลไกการลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง
ค่าความดันสำคัญอย่างไร
—
"โรคความดันโลหิตสูง" ทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง ซึ่งนำไปสู่สภาวะ การแข็งตัวของหลอดเลือด...
รพ. หัวใจกรุงเทพ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเทคนิคสายสวนผ่านทางข้อมือ แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
—
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการเกาะของคราบไข...
ความเงียบจากรถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนช่วยสุขภาพของหัวใจ และลดมลพิษทางเสียง
—
มลภาวะทางเสียงจากการจราจรกลายเป็นภัยคุกคามอันดับสองต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน...
สูงวัยไทยป่วย “ความดันโลหิตสูง” เพิ่มมากขึ้น
—
จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกหรือ WHO พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่วยเป็นภา...
รู้จักหรือยัง? 3-4-50 โมเดลสุขภาพ ปรับเปลี่ยน 3 พฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลด 4 โรคเรื้อรัง อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 50% ของคนทั่วโลก
—
การมีสุขภาพดี ไม่มีโรค...
แพทย์แนะ 6 Tips ‘ลด ละ เลี่ยง’ โรคความดันโลหิตสูง
—
แพทย์แนะ 6 Tips ‘ลด ละ เลี่ยง’ โรคความดันโลหิตสูง โดย นพ.มงคล จิรสถาพร อายุรแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ...