นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดกาแฟโบราณในพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสำคัญและมีชื่อเสียงของภาคใต้ตอนล่าง จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล คาดว่ามีพื้นที่ปลูก จำนวน 268 ไร่ พบมากที่สุดในอำเภอควนโดน รองลงมา อำเภอเมือง ควนกาหลง และมะนัง ตามลำดับ ให้ผลผลิตกาแฟรวมทั้งหมดประมาณ 4,000 กก./ปี ซึ่ง สศก. ได้ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโตนปาหนัน และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟโบราณชุมชนควนโดนใน ตัวอย่างของวิสาหกิจชุมชนที่ยังสืบทอดการผลิตกาแฟโบราณ หรือ“โกปี๊” ที่เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นจนประสบความสำเร็จ สามารถสร้างรายได้เสริม ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ยกลุ่มละประมาณ 175,000 บาท/ปี และที่สำคัญยังพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตกาแฟโบราณ นับว่าเป็นการขยายฐานผู้บริโภค ต่อยอด และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อีกทางหนึ่งด้วย
จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโตนปาหนัน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 39 คน มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟโบราณ 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบซอง มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 7.4 บาท/ซอง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 ซอง/กาแฟ 1 กก. (บรรจุซองละ 75 กรัม) ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 20 บาท/ซอง คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 12.6 บาท/ซอง แบบขวด มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 13.45 บาท/ขวด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 31 ขวด/กาแฟ 1 กก. (บรรจุขวดละ 95 กรัม) ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 35 บาท/ขวด คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 21.55 บาท/ขวด ซึ่งทางกลุ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “โกปี้บ้านโตน”
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟโบราณชุมชนควนโดนใน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 27 คน สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบซอง มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 17.8 บาท/ซอง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 25 ซอง/กาแฟ 1 กก. (บรรจุซองละ 120 กรัม) ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 35 บาท/ซอง คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 17.2 บาท/ซอง แบบขวด มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 44.37 บาท/ขวด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 8 ขวด/กาแฟ 1 กก. (บรรจุขวดละ 400 กรัม) ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท/ขวด คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 56.63 บาท/ขวด จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “โกปี๊”
สำหรับรูปแบบการดำเนินงานของทั้ง 2 กลุ่ม จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรับซื้อเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเพื่อนำมาผลิตเป็นกาแฟโบราณจากเกษตรกรในจังหวัดประมาณร้อยละ 59 และนำเข้าจากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ชุมพร ระนอง และกระบี่ ประมาณร้อยละ 41 เนื่องจากผลผลผลิตกาแฟในจังหวัดยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ราคารับซื้อเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 80-100 บาท/กก. ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดกาแฟ ด้านสถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 45 จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง รองลงมาร้อยละ 22.5 จำหน่ายผ่านสมาชิกกลุ่มเพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้ผู้บริโภคทั้งในและนอกจังหวัด รองลงมา ร้อยละ 15 วางจำหน่ายที่วิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยว กลุ่มศึกษาดูงาน ส่วนร้อยละ 12.5 ส่งจำหน่ายร้านค้าทั่วไปและห้างสรรพสินค้า และอีกร้อยละ 5 ออกบูธงานสำคัญของจังหวัด ซึ่งในอนาคตทางกลุ่มวิสาหกิจมีแผนเพิ่มช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้า รวมถึงให้ผู้บริโภคทั่วประเทศสามารถเข้าถึงสินค้าได้สะดวก ง่าย และรวดเร็ว
ด้านนายสุธรรม ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท. 9) กล่าวเสริมว่า จุดเด่นกาแฟโบราณของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จะเน้นการผลิตแบบสูตรดั้งเดิมที่สืบทอดกันมายาวนาน โดยยังใช้แรงงานคนทั้งหมดในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การคั่วและใส่ส่วนผสมโดยการใช้เตาถ่าน หลังจากนั้นจะตำให้ละเอียดโดยครกไม้ เพื่อรักษาความหอมของกาแฟ และนำมาร่อนเพื่อให้ได้ผงกาแฟพร้อมนำไปชงดื่ม ซึ่งกระบวนการทั้งหมดยังคงเอกลักษณ์ดั่งเดิมไว้ ปัจจุบันผลผลิตกาแฟ ที่ออกสู่ตลาดยังมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรองรับ จึงนับว่ากาแฟเป็นพืชที่มีอนาคตสดใสของจังหวัดสตูล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกรห่างหายจากการผลิตกาแฟมาเป็นระยะเวลานาน จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทางหน่วยงานราชการจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ ทั้งด้านการปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยวอย่างมีคุณภาพ รวมถึงด้านตลาด เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ และผลิตกาแฟอย่างมีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์กาแฟจำเป็นต้องมีมาตรฐานรับรอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก้ผู้บริโภค เพื่อยกระดับกาแฟให้เป็นพืชแซมที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและสร้างงานให้ชุมชนไม่น้อยไปกว่าพืชหลัก รวมถึงเป็นทางเลือกให้เกษตรกรหันกลับมาฟื้นฟูและขยายพื้นที่ผลิตกาแฟสตูลต่อไป สำหรับท่านที่สนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.9 โทร. 0 7431 2996 หรือ อีเมล [email protected] หรือหากสนใจข้อมูลการด้านการผลิตและการตลาดของกาแฟโบราณ สอบถามได้ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโตนปาหนัน โทร. 08 7298 9936 และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟโบราณชุมชนควนโดนใน โทร. 08 8599 8391
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...
พร้อมให้บริการ Big Data สศก. พัฒนาเครื่องมือเนวิเกเตอร์ภาคเกษตร เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ 909 ชุดข้อมูล จาก 91 หน่วยงาน ให้บริการผ่านเว็บไซต์
—
นายฉันทานนท...
ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ
—
หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...
TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา"
—
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...
สศก. เร่งเครื่อง ลุยแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ ระยะ 5 ปี ให้สมบูรณ์ ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนเกษตรอินทรีย์ ภายในปี 2570
—
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิ...