ม.มหิดล เปิดการศึกษา การรักษา และศูนย์วิจัยกระตุ้นสมองร่วมกับฝึกกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพาร์กินสัน เตรียมขยายผลบำบัดเด็กออทิสติก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และพาร์กินสัน (Parkinson) เป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียงบประมาณของประเทศจำนวนมหาศาล จากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาจากตัวผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล (Caregiver) ซึ่งคาดว่าต้องใช้งบประมาณสูงถึงล้านบาทต่อราย ตั้งแต่เริ่มเกิดโรคจนถึงเสียชีวิต

ม.มหิดล เปิดการศึกษา การรักษา และศูนย์วิจัยกระตุ้นสมองร่วมกับฝึกกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพาร์กินสัน เตรียมขยายผลบำบัดเด็กออทิสติก

จากการศึกษาวิจัยที่คร่ำหวอดในเรื่องการใช้เครื่องกระตุ้นสมองร่วมกับการฝึกกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพาร์กินสันมานานกว่า 10 ปี รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การฝึกกายภาพบำบัดแบบเฉพาะเจาะจงเป็นเวลา 1 - 1.30 ชม.หลังจากการใช้เครื่องกระตุ้นสมองเป็นเวลา 20 นาที จะสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพาร์กินสันสามารถช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หยิบของ ติดกระดุม หรือผูกเชือกรองเท้าได้

ปัญหาที่พบก่อนทำการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองร่วมกับการทำกายภาพบำบัด พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีการเดินที่ผิดปกติ และใช้มือได้ใกล้เคียงปกติเพียงไม่เกินร้อยละ 20 จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในขณะที่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหากมาพบนักกายภาพบำบัดในระยะแรกที่มีอาการ จะสามารถป้องกันอาการติดแข็ง ชะลอความเสื่อม และกลับมาเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ กล่าวต่อไปว่า นวัตกรรมดังกล่าวได้นำมาใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพาร์กินสันที่ศูนย์กายภาพบำบัด และการเรียนการสอนนักศึกษาในระดับปริญญาโท-เอกของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเราเป็นศูนย์วิจัยแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพาร์กินสันด้วยการกระตุ้นสมองร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และจะได้ขยายผลสร้างเป็น Innovation Platform เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศเนปาล กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาร์ ตลอดจนได้มีการวางแผนจะเปิดศูนย์บริการร่วม (Excellence Center) ที่ประเทศอินโดนีเซียต่อไปในเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ ในอนาคตจะต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้บำบัดเด็กออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และการร่วมรู้สึก เช่น ยิ้มให้กันเพราะมีความสุข ร้องไห้เพราะเสียใจ จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนของระบบเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron System) ที่มักพบว่ามีความบกพร่องในเด็กออทิสติก แล้วฝึก Social Interaction เพื่อให้เด็กออทิสติกมีการเคลื่อนไหว และแปลผลการร่วมความรู้สึกได้ดีขึ้น

"นักกายภาพบำบัดต่างจากบุคลากรทางการแพทย์ในวิชาชีพอื่น ตรงที่เรามีเชี่ยวชาญทางด้านการเคลื่อนไหว และเป็นนวัตกรโดยสายเลือด หัวใจของเรา คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถมีการเคลื่อนไหว และกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม และที่สำคัญ คือ สามารถช่วยลดงบประมาณของประเทศที่ต้องสูญเสียในการดูแลผู้ป่วยในระยะยาวได้" รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+โรคหลอดเลือดสมองวันนี้

ม.มหิดลคิดค้น'เครื่องมือ RRST'คัดกรองความเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

"ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง" อาจต้องกลายเป็น "ผู้พิการ" หรือ "เสียชีวิต" หากต้องกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ อาจารย์ ดร.จันทรา แก้วภักดี อาจารย์พยาบาลประจำสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยสร้าง "เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำ" (RRST Readmission Risk Screening Tool) ในผู้สูงอายุที่มีโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ... เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568 — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...