ดูม.มหิดล ร่วมขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ผลักดันโครงการสเปซ-เอฟ (SPACE-F) สู่ระดับโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

3 องค์กรพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งโครงการสเปซ-เอฟ : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวพันธมิตรใหม่จากภาคเอกชน เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการสเปซ-เอฟ รุ่นที่ 2

ดูม.มหิดล ร่วมขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ผลักดันโครงการสเปซ-เอฟ (SPACE-F) สู่ระดับโลก

โครงการสเปซ-เอฟ (SPACE-F) เป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในการสร้างนวัตกรรมอาหารที่ผสานเทคโนโลยีขั้นสูงและมีการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานอาหารของโลกที่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความปลอดภัย โดยในระยะแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทั้ง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานแห่งเดียวที่เป็นสถาบันการศึกษาร่วมก่อตั้ง ซึ่งเป็นผลต่อยอดจากความร่วมมือเดิมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ของโครงการ Global Innovation Incubator ที่ดำเนินการโดย คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกันระหว่าง 4 ภาควิชา ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ ชีวเคมี เคมี และสรีรวิทยา

ในปีนี้ได้มีการขยายเป็นความร่วมมือของโครงการสเปซ-เอฟ มาสู่ระดับมหาวิทยาลัย โดยมี สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) เป็นหน่วยงานประสานงานหลัก ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยการจัดการ และ สถาบันโภชนาการ

และเป็นที่น่ายินดีที่โครงการสเปซ-เอฟในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรใหม่เพิ่มเติมอีก 3 บริษัทได้แก่ บริษัท ไทย เบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนร่วมจากภาคเอกชน (Corporate Partner) อีกทั้งมีการร่วมสนับสนุนจาก บริษัท เบทาโกร จำกัด และ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด ในฐานะผู้ให้การสนับสนุน (Supporting Partner) ที่เป็นกำลังสำคัญร่วมผลักดันโครงการ SPACE-F เพื่อสร้างการยอมรับในระดับสากลในด้านการพัฒนา และการลงทุนด้านนวัตกรรมอาหาร

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีงานวิจัย และองค์ความรู้ต่างๆ ที่จะสนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขยายขอบเขตตามนโยบายรัฐจากการเป็นครัวของโลก (Kitchen of the World) สู่การส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร (Foodtech Startup) ซึ่งเป็นแนวโน้ม (trend) ต่อไปในอนาคตที่ก่อให้เกิดระบบการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

ที่ผ่านมา จากผลสัมฤทธิ์ของโครงการสเปซ-เอฟ รุ่นแรก มหาวิทยาลัยมหิดล มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนด้านวิชาการและองค์ความรู้ด้านวิจัยทางอาหารให้กับสตาร์ทอัพต่างๆ ที่เข้าร่วม ทั้งระดับผู้ผลักดัน (accelerator) และผู้บ่มเพาะทางธุรกิจ (incubator) ทั้งจากไทยและนานาประเทศ ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการในรุ่นแรก นอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับสตาร์ทอัพ ยังทำให้เกิดการจับคู่ลงทุนทางธุรกิจต่างๆ สำหรับนักลงทุนอีกด้วย

"สำหรับโครงการสเปซ-เอฟ รุ่นที่ 2 ได้มีการขยายผลเปิดกว้างให้ผู้สนใจจากทั่วโลกมาเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเป็นการส่งเสริม Entrepreneurial Mindset หรือ ความคิดในรูปแบบของการเป็นผู้ประกอบการให้กับคนรุ่นใหม่  โดยในส่วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลหากผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ก็จะมีโอกาสได้เพิ่มศักยภาพสู่การเป็นสตาร์ทอัพในระดับสากล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มการเป็นที่รู้จัก (visibility) ให้กับมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็น 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยโลกได้ต่อไป" ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ+ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปวันนี้

เอ็นไอเอ จับมือพันธมิตรทั้งเอกชน - สถาบันการศึกษา เดินหน้าติดอาวุธสตาร์ตอัปสายฟู้ดเทคภายใต้โครงการ "SPACE-F"

เอ็นไอเอ จับมือพันธมิตรทั้งเอกชน สถาบันการศึกษา เดินหน้าติดอาวุธสตาร์ตอัปสายฟู้ดเทคภายใต้โครงการ "SPACE-F" พร้อมเผยเส้นทาง 5 ปี ผลักดันให้เกิดการระดมทุนกว่า 5 พันล้านบาท เปิดโอกาสสู่ตลาดมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล และพันธมิตรองค์กรชั้นนำ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และเครือข่ายบริษัทชั้นนำ

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ (คนที่ 2 จากซ้าย) ผ... เอ็นไอเอผนึกเครือข่ายรัฐ - เอกชน ปั้นกรุงเทพฯสู่ฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ — ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ (คนที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์ก...

ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทัก... เอ็นไอเอปั้น 80 ผู้นำนวัตกรรมเชิงนโยบายหนุนมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ — ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทักษะออกแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน...

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ห... NIA เดินหน้าสร้าง "ชาติแห่งนวัตกรรม" เปิดรับสมัคร "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2568" — สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงกา...

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานน... NIA จับมือซีพี เครือข่ายภาครัฐ และธนาคาร เปิดหลักสูตร "IBEs Driving Green Innovation" — ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ...

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ... เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล — ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...